Cloud ไม่ได้เหมือนกันทุกที่! แล้วตรงไหนบ้างล่ะที่แตกต่าง?

ถ้าพูดถึงการใช้บริการใน Cloud อาจมองได้หลายแบบขึ้นอยู่กับคำนิยามของแต่บุคคล ส่วนตัวผมจัดประเภทไว้ดังนี้
Private Cloud -> เราเป็นเจ้าของ ทำ Cloud ขึ้นมาใช้งานกันเองภายในบริษัท หรือบริษัทในเครือ
Domestic Cloud -> เป็น Cloud ในประเทศไทย ที่ให้ลูกค้าเช่าใช้งาน มีผู้ให้บริการมากมาย เช่น Cloud HM และ อื่น ๆ
Global Cloud -> เป็น Cloud เจ้าใหญ่ ระดับ Inter มีการกระจาย Infrastructure อยู่ทุกภูมิภาคของโลก เช่น AWS, Microsoft Azure และ GCP

ทีนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อ Cloud ล่ะ?

หลาย ๆ ท่านคงจะมีประสบการณ์ในการเลือกซื้อของชิ้นใหญ่ที่มีราคาค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นรถ หรือ บ้าน
ในการเลือกซื้อ Cloud จาก Cloud Provider ก็อยากให้มองเหมือนตอน “ซื้อรถคันแรก” ที่เราจะเปรียบเทียบ รายละเอียดยิบย่อย ทุก ๆ อย่างที่เราทำได้
เบสิกเลย ก็ดูที่ ยี่ห้อ รุ่นอะไร สีอะไร สวยถูกใจมั้ย เอาไปใช้ทำอะไร ถัดมาก็รายละเอียดยิบย่อย เช่น จ่ายไหวมั้ย ต้องใช้เงินดาวน์เท่าไหร่ มีศูนย์บริการทั่วถึงมั้ย บริการหลังการขายเป็นอย่างไร
และที่ขาดไม่ได้เลย คือ การทดลองขับ เพื่อที่จะประสิทธิภาพจริงว่าเป็นอย่างที่โฆษณาหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเกียร์ ระบบเบรค การเลี้ยว ระบบไฟ ระบบปรับอากาศ ต่าง ๆ ถ้าทุกอย่างโอเคหมด ก็ถึงจะตัดสินใจซื้อ ถูกมั้ยครับ?

Cloud แต่ละที่ทำไมถึงไม่เหมือนกัน?

ผมคาดว่าหลาย ๆ ท่านส่วนใหญ่ก็น่าจะเคยมีประสบการณ์การใช้งาน Domestic Cloud กันมาบ้างแล้ว ความจริงแล้ว Domestic Cloud ก็มีความแตกต่างกันนะครับ โดยผมจะแยกประเภทให้เทียบกัน 2 แบบ ก็คือ Enterprise Cloud และ Cloud VPS ทั้ง 2 แบบ เป็น Cloud Server เหมือนกัน แต่มีความต่างกันดังนี้ครับ
  1. Enterprise Cloud จะมี Physical Server จำนวนมากที่ทำงานร่วมกัน ช่วยให้ Physical Server ไม่ทำงานหนักเกินไป และด้วยการที่มีหลาย Physical Server ทำให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ในกรณีที่ Physical Server เครื่องใดเครื่องนึงเสียไป ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่แตกต่างจาก Cloud VPS ครับ
  2. Enterprise Cloud จะมีหน้า Control Panel ให้คุณสามารถบริหารจัดการได้เอง เช่น เปิด/ปิด Server Cloud VPS บางเจ้าจะสามารถใช้งานได้ผ่านทาง Console หรือ Remote Desktop เท่านั้น
  3. สามารถรองรับการขยายตัวของ Server ลูกค้าได้ หากอยากเพิ่ม/ลด การใช้งาน (Scale UP/DOWN) และยังรองรับการทำ Load Balancing ให้แก่ Server ของคุณด้วย

ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลในการเลือกซื้อ Cloud จาก Cloud Provider?

สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกว่า Cloud แต่ละที่ มีไม่เหมือนกันครับ
  1. Infrastructure – โครงสร้างและระบบที่ดีเป็นปัจจัยนึงในการเลือกใช้บริการจาก Cloud Provider
    • Data Center
      • ควรจะมีอยู่หลายสถานที่ตั้งแต่ 2-3 Sites เป็นต้นไป 
      • Data Center หลักควรจะการันตีด้วย Uptime (ระยะเวลาที่ Data Center ให้บริการได้เป็นปกติใน 1 ปี) ว่าเป็นกี่ % โดยในปัจจุบันก็มี Data Center ที่การันตี Uptime 100% แล้ว แปลว่าไม่มีการหยุดชะงักของการให้บริการ Data Center เลย (Cloud HM เป็นหนึ่งในลูกค้าอยู่)
      • สาเหตุที่ต้องมี Data Center มากกว่า 1 Site เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกับ Data Center ที่แรก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม, ไฟไหม้, การจลาจล หรือ อื่น ๆ ทำให้ Cloud Provider ยังสามารถที่จะให้บริการแก่ลูกค้าได้อยู่
    • Hardware – ถัดมาจะเป็นระบบที่ใช้รองรับ Cloud Service ซึ่งในยุคนี้ไม่ใช่ยุคที่ควรจะต้องมารอการประมวลผลหมุนติ้ว ๆ แล้ว ฉะนั้น Cloud Provider ต้องมีความพร้อมในด้าน Hardware เพื่อที่จะรองรับ User ที่มีปริมาณมากแต่ยังคงให้บริการลูกค้าโดยรักษาระดับประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงและเร็ว สิ่งที่ลูกค้าสามารถสอบถามได้ คือการ Design มีลักษณะอย่างไร
      • Server ใช้ Brand อะไร?
      • Storage เป็นชนิดไหน?
      • มี Network speed เท่าไหร่? และอื่น ๆ

  2. Security – ความปลอดภัยในการใช้บริการ Cloud Provider ต้องมีการคุม Security ในทุก ๆ ส่วน ได้แก่
    • Physical Layer -> ระดับแรกสุด Data Center ต้องมีการควบคุมการเข้า/ออกอย่างเข้มงวดตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน
    • Account Security -> ควรจะมีทีมวิศวกรที่คอย Monitor ระบบ เพื่อเช็คพฤติกรรมผิดสังเกต เช่น การ Hack
    • Network Security -> ควรจะมีการเข้าถึงด้วยการใช้ VPN และมีการใช้ Firewall คุณภาพระดับ Enterprise ต้องมีการเก็บ Log ไว้อย่างน้อย 90 วัน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
    • Server Security -> Cloud Provider ต้องมีแผนในการป้องกันการจู่โจม ไม่ว่าจะเป็น การใช้ Antivirus, การทำ Hardening และการ Patching
    • Application Security -> สามารถแนะนำ Solution ให้กับลูกค้าได้ในเรื่องของความปลอดภัยให้แก่ Application ของลูกค้า
    • Your Company -> สุดท้ายก็คือบริษัทของคุณ จะได้รับการปกป้องจาก Layer ทางด้านบน
  3. Backup – สำหรับการสำรองข้อมูล เป็นสิ่งที่ Cloud Provider เกือบทุกที่ต้องมีพื้นที่รองรับสำหรับการทำ Backup อยู่แล้ว แล้วอะไรเป็นตัวบ่งชี้ช่วยในเลือก Cloud Provider?
    • ความเร็วในการ Backup และกู้คืนยังไงล่ะครับ ยิ่งระบบของลูกค้ามีความสำคัญมาก แล้วถ้าเกิดปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ ย่อมส่งผลเสียกันทั้ง 2 ฝ่าย
    • จำนวน Copy ของ Backup ที่ต้องการเก็บสำรองไว้ ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าจะต้องการให้เก็บข้อมูลย้อนหลังไปได้ระยะเวลาเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่ Cloud Provider จะมีการทำ Backup อย่างน้อยวันละ 1 ครั้งกันอยู่แล้วครับ

      ** สำหรับ Cloud HM จะ Backup ให้ทุกวันและเก็บไว้ 7 Copy ภายใน Data Center หลัก และ 7 Copy ใน Data Center อีก 2 แห่ง กระจายกันไป

  4. BCP Plan – เป็นแผนในการรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ธุรกิจอาจต้องหยุดชะงัก เป็นตัวชี้วัดว่า Cloud Provider มีความสามารถในการให้บริการได้ต่อเนื่องในกรณีที่เกิดปัญหากระทบกับ Infrastructure เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง Cloud Provider จะต้องสามารถระบุชนิดของความเสี่ยงได้ และมีระบบรองรับหากเกิดปัญหาลักษณะนี้ ได้แก่
    • มีการออกแบบ Infrastructure ให้มีอุปกรณ์สำรองสำหรับการทำ HA ในกรณีที่อุปกรณ์หลักเสียหา
    • มีการ Replicate ข้อมูลข้าม Data Center ในกรณีที่ Data Center หลัก ไม่สามารถให้บริการได้

      ** การดำเนินการพวกนี้เป็นพื้นฐานที่ Cloud Provider ต้องมี
  1. Support – บริการช่วยดูแลลูกค้าในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างใช้บริการ หรือตามที่ลูกค้าขอความช่วยเหลือ เป็นอีกจุดที่สำคัญอย่างมาก ลูกค้าควรนำมาพิจารณาว่าบริการหลังการขายเป็นอย่างไร
    • มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน หรือไม่?
    • ผ่านทางช่องทางไหน? โทรศัพท์, ช่องทาง Social Media ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook หรือ e-mail?
    • ช่วยเหลือในด้านการ Migrate จากข้อมูลเดิมที่ลูกค้ามีอยู่ไปอยู่ที่ Cloud ได้หรือไม่? ทั้งนี้ก็เพื่อที่ลูกค้าจะสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น
การที่ลูกค้าย้ายมาใช้งานบน Cloud ก็เพื่อที่จะลดการดูแลเรื่องของ Infrastructure ลง ซึ่งลูกค้าที่ขึ้น Cloud แล้วควรจะสบายขึ้น ถ้ามาเจอกับ Support ที่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่อง Infrastructure ได้ไม่ดี ก็มีแต่จะทำให้เสียหายเปล่า ๆ เพราะลูกค้าทำอะไรเองไม่ได้ต้องพึ่ง Support ในเรื่องของ Infrastructure ดังนั้น Support ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญมากครับ

** Cloud HM มีทีม Support ชื่อว่า Service First แปลเป็นภาษาไทยว่า บริการคือที่หนึ่ง เรามีทีมงาน Engineer ที่คอยดูแลระบบให้แก่คุณโดยตรง มั่นใจได้ว่าเราสามารถดูแลหลังการขายได้ทั้งหมดจากที่กล่าวมาด้านบน

  1. SLAService Level Agreement เป็นข้อตกลง, เงื่อนไข หรือมาตรฐานที่ Cloud Provider ให้สัญญากับลูกค้าว่าระบบจะพร้อมใช้ได้ตลอดการให้บริการ โดยส่วนใหญ่จะบอกเป็น % เช่น 99.9 เช่น SLA 99.9 หมายถึง Uptime (ระยะเวลาที่ Service ให้บริการได้เป็นปกติ) 99.9% ของ 1 ปี แปลว่ามีโอกาสที่จะใช้บริการไม่ได้มากที่สุดเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง นิด ๆ ต่อปี ซึ่งถ้าใช้ไม่ได้นานกว่านั้น สามารถแจ้งขอค่าปรับได้ เนื่องจากผิดเงื่อนไข โดยลูกค้าสามารถประเมินระดับ SLA ที่ต้องการเพื่อที่จะเลือกใช้งานกับ Cloud Provider ที่ตอบโจทย์ได้
** Cloud HM มี SLA ให้เลือกอยู่ 2 แบบ ได้แก่ SLA 99.9% และ SLA 99.99%

  1. Compliance – จากทั้งหมดที่กล่าวมา หลาย ๆ ข้อ Cloud Provider อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ลูกค้าไม่มีทางรู้ได้ว่า Cloud Provider ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้าหรือไม่ สิ่งที่ช่วยยืนยันได้ก็คือ เรื่อง Certificate ที่มีหน่วยงานรับรองแล้วว่าผ่านมาตรฐานตามที่กำหนด

    โดย Cloud Service ส่วนใหญ่ ควรจะมี Certificate ดังนี้
        • ISO/IEC 27001 – มาตรฐานการความปลอดภัยของข้อมูล
          • มาตรฐานนี้เน้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลดังนั้นผู้ให้บริการจะมีกระบวนการแบ่งระดับชั้นความลับและการนำข้อมูลไปใช้ การส่งออกข้อมูลไปยังภายนอกรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการบริหารจัดการข้อมูล หากข้อมูลไม่ถูกแบ่งหรือจัดเก็บอย่างถูกต้องแล้วนั้นจะมีความเสี่ยงสูงที่ข้อมูลจะรั่วไหลออกไปสู่ภายนอก อาจจะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรเกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง ดังนั้นการที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ตระหนักถึงการจัดเก็บและแบ่งระดับชั้นความลับของข้อมูลให้ถูกต้องและพร้อมใช้อยู่เสมอจึงทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลถูกบริหารจัดการเข้าสู่กระบวนการแบ่งระดับชั้นอย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลไม่ถูกใช้ต่อไปแล้วนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำลายและทิ้งข้อมูลอย่างถูกวิธีตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 
        • CSA STAR – มาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์
          • เมื่อการให้บริการระบบคลาวด์ต้องมาพร้อมกับความปลอดภัย มาตรฐาน CSA STAR เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลด้านความปลอดภัยซึ่งต่อยอดมาจากมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ที่จะเจาะลึกขึ้นในด้านความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ จะช่วยเพิ่มการป้องกันและลดความเสี่ยงในเรื่องของภัยคุกคามรวมถึงช่องโหว่ต่าง ๆ ที่การให้บริการบนระบบคลาวด์ควรคำนึงถึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการรายใดก็ตามได้รับการรับรองในมาตรฐานนี้มีกระบวนการจัดการในการเข้าถึง ปกป้องระบบคลาวด์จากภัยคุกคามและช่องโหว่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        • ISO/IEC 20000 – การบริหารบริการไอที
          • หากพูดถึงเรื่องของการบริการมาตรฐานนี้มุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการและการรับประกันคุณภาพงานบริการ โดยมีกระบวนการสรรหา Supplier ที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการสร้าง Service กระบวนการส่งมอบงาน รวมถึงการสำรวจความพึงพอใจจากลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการส่งมอบบริการ ซึ่งในทุกกระบวนการนั้นเป็นไปตามแนวทางและข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ ในท้ายที่สุดแล้วเมื่อมีการบริหารจัดการภายในที่ดีผู้ใช้บริการจะได้รับการส่งมอบบริการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
        • ISO/IEC 22301 – มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
          • เมื่อพูดถึงความต่อเนื่องทางธุรกิจหลายคนอาจสงสัยว่าเมื่อธุรกิจหยุดชะงักจะมีสิ่งใดเป็นแผนรองรับต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นมาตรฐาน ISO/IEC 22301 นี้จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงักเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ ดังนั้นแผนที่ดีควรนำประไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่แค่การวางแผน แต่รวมถึงการทดสอบและฝึกซ้อมการใช้แผนต่าง ๆ  จึงเป็นที่มั่นใจได้เลยว่าผู้ให้บริการรายใดก็ตามที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 22301 จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
  2. Cost – มาดูกันที่เรื่องสุดท้าย นั่นก็คือ ราคานั่นเองครับ ทำไมถึงอยากให้พิจารณาเรื่องราคาเป็นสิ่งสุดท้าย ก็เพราะว่าอยากให้มองจุดประสงค์ที่จะใช้งานบริการ Cloud ก่อนครับ ว่าต้องการจะนำไปใช้อะไร Cloud Provider ที่เลือก มี Function ตอบโจทย์หรือไม่ ถ้ามีก็สามารถที่จะไปต่อได้ครับ

ราคาไม่ใช่ทุกอย่าง สมมติว่าลูกค้าได้ราคาของ Cloud Provider มา 2-3 ราย แล้วท่านเอาราคามาเปรียบเทียบกัน แต่มีที่นึงให้ราคาถูกที่สุดโดยต่างจากเจ้าอื่นอยู่ประมาณ 10-20 % (ประมาณหลักพันบาท) แล้วพอใช้งานไปได้สักพัก มี Downtime เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย จากความคุ้มค่าที่ท่านจ่ายถูกลงไม่กี่พัน แต่ผลกระทบตอน Down หนักกว่ามาก อยากให้ลูกค้าได้มองในจุดนี้เช่นกันครับ 

หัวข้อค่อนข้างเยอะเลยใช่มั้ยครับ ผมจับเอามาเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ เทียบกับการซื้อรถแล้วกันนะครับ ว่าอะไรที่ใกล้เคียงกันบ้าง มาดูกันครับ


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ Blog นี้ในการแนะนำปัจจัยในการเลือกใช้บริการ Cloud จาก Cloud Provider หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ
หากสนใจบริการ Cloud ท่านสามารถเข้ามาเยี่ยมชม Website ของพวกเราได้นะครับ เราพร้อมยินดีให้บริการครับ

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว  อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ

— Cloud HM