Sovereign Cloud ตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยในโลก Multi-Cloud อย่างไร ?

ในยุคดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามการใช้คลาวด์เพียงผู้ให้บริการเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการที่หลากหลายขององค์กรยุค Digital ที่ต้องเร่งปรับตัวให้ทัน ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการหันมาใช้ Multi-cloud อาจเป็นคำตอบที่สำคัญสำหรับองค์กร โดยหลักการ Multi-Cloud คือการเลือกใช้คลาวด์จากผู้ให้บริการหลายเจ้าร่วมกัน เพื่อความเหมาะสมตามการใช้งานในแต่ละ project ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้องค์กรสามารถเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์ที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันได้ 

การใช้ Multi-Cloud นั้นไม่เพียงแค่เป็นการกระจาย Workloads บนคลาวด์ไปยังหลายพื้นที่เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์มากมายที่สามารถช่วยเสริมสร้างและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานคลาวด์ในหลายด้าน

Benefits of Multi-Cloud Infrastructure 

  1. ความยืดหยุ่นและความทนทาน 

การใช้ Multi-Cloud Infrastructure ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดและขยายระบบได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่นตามความต้องการ และเพิ่มความเสถียรภาพในการทำงานของระบบ โดยองค์กรสามารถเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์ที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพ ต้นทุน หรือข้อบังคับที่แตกต่างกันได้ 

  1. เลือกใช้บริการที่ดีที่สุด 

องค์กรสามารถเลือกใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ที่ให้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในราคาที่คุ้มค่า โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานที่ตั้ง ฐานข้อมูล ข้อตกลงระดับบริการ ราคา และประสิทธิภาพของแต่ละผู้ให้บริการ เพื่อสร้างโซลูชันคลาวด์ที่ตรงเป้าหมายกับความต้องการทางธุรกิจ 

  1. การปรับปรุงความปลอดภัย 

การใช้ Multi-cloud Infrastructure มีข้อดีในเรื่องของความปลอดภัยที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้เพียงหนึ่งระบบคลาวด์เท่านั้น นั่นก็คือความยืดหยุ่นในการเลือกบริการ องค์กรสามารถกระจายความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เพื่อกระจายการทำงานของแอปพลิเคชันหรือข้อมูลในหลาย ๆ ส่วน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเจาะระบบหรือภัยคุกคามทางความปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยเรื่องการทำข้อมูลสำรองในหลาย ๆ ระบบคลาวด์ช่วยให้มีการป้องกันข้อมูลจากการสูญหายหรือทำลาย

  1. ลดความเสี่ยง 

Multi-cloud Infrastructure มีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและสามารดำเนินต่อไปได้หากเกิดปัญหา ความเป็นอิสระในการเลือกผู้ให้บริการ ป้องกัน Vendor lock-in ธุรกิจสามารถเลือกใช้ผู้ให้บริการคลาวด์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการ และลดความเสี่ยงในกรณีที่ provider หนึ่งมีปัญหา อาจทำให้ต้องพักบริการ หากองค์กรใช้ Multi – cloud องค์กรสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่าง seamless โดยไม่ต้องพักบริการ

ความท้าทายของ Multi-Cloud Infrastructure 

การใช้ Multi-cloud Infrastructure นั้นเปิดโอกาสให้ decentralize การจัดการระบบ IT และข้อมูลในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ผู้ใช้งาน Multi-Cloud Infrastructure ต้องเผชิญในด้านกฎหมาย, การรักษา Data Sovereignty, การบริหารความปลอดภัย, และการจัดการความเสี่ยง

  1. ผลกระทบจากกฎหมาย 

การใช้ Multi-Cloud ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมข้อมูล เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ในไทย องค์กรจึงต้องพิจารณาข้อบังคับภายในประเทศก่อนตัดสินใจใช้ Multi-Cloud ซึ่งการใช้ Multi-cloud อาจเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและการปฏิบัติที่ต่างหากในแต่ละพื้นที่ การส่งออกหรือนำเข้าข้อมูลทางด้านกฎหมาย, ความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น, หรือความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่แตกต่างกันอาจก่อให้เกิดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด 

  1. การรักษา Data Sovereignty 

องค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Data Sovereignty เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความถูกต้องของข้อมูล โดยองค์กรควรเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้าน Data Sovereignty ขององค์กร อย่าง VMware Sovereign Cloud เพื่อช่วยในเรื่องการปฎิบัติตามกฎหมายถิ่นที่อยู่ของข้อมูล (Data Sovereignty) มีวิธีการหลายแบบ เช่น การเลือกใช้บริการคลาวด์จากพื้นที่ที่มีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูล การใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล และการสร้างกลยุทธ์การจัดการข้อมูลที่ช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นได้ 

  1. การรักษาความปลอดภัย 

ควรมีมาตรการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการขาดความปลอดภัยที่อาจเกิดจากการใช้ Multi-Cloud และการจัดการสิทธิ์และการตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลต้องเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจากมุมมองทางกฎหมายและทางเทคโนโลยี, การรักษาความปลอดภัยเป็น Challenging สำคัญในการใช้ Multi-cloud Infrastructure  

  1. การบริหารจัดการความเสี่ยง 

การใช้ Multi-Cloud ต้องมีการวางแผนการจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาทางกฎหมายหรือปัญหาด้านความปลอดภัย 
ซึ่งการใช้ Multi-cloud Infrastructure อาจเพิ่มความซับซ้อนในการบริหารจัดการความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงที่มีต่อทุก ๆ พื้นที่ และการจัดทำกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่จะเป็นการท้าทายที่ต้องรับมือ 

สุดท้ายแล้วความท้าทายของ Multi-cloud Infrastructure ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องการการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากความยืดหยุ่นและปรับปรุงความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการคลาวด์แต่ละรายที่แตกต่างกัน  

การใช้งาน Multi-Cloud ร่วมกับ Sovereign Cloud 

Sovereign Cloud คือระบบคลาวด์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ การใช้ Multi-Cloud ร่วมกับ Sovereign Cloud ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมีเสถียรภาพ ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามกฎหมาย (Regulatory Compliance) พร้อมปกป้องความเป็นส่วนตัวและความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างเต็มที่ 

ประโยชน์ของการใช้ Multi-Cloud ร่วมกับ Sovereign Cloud 

  1. การเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย 

องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อดีของทั้งสองรูปแบบคลาวด์ร่วมกัน โดยองค์กรสามารถเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์ต่างประเทศสำหรับแอปพลิเคชันที่เน้นด้านประสิทธิภาพ และใช้บริการจากผู้ให้บริการ Sovereign Cloud สำหรับแอปพลิเคชันที่เน้นด้านข้อบังคับและความปลอดภัย ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 

  1. การปฏิบัติตามกฎหมาย 

การใช้ Sovereign Cloud ใน Multi-Cloud Strategy ช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่ใช้บังคับในเขตอำนาจที่เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการถูกลงโทษจากหน่วยงานกำกับดูแล เช่น องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอาจใช้ผู้ให้บริการ Sovereign Cloud เพื่อเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 

  1. ความสำคัญของ Data Sovereignty 

องค์กรสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้อย่างเต็มที่ โดยองค์กรสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลของตนจะอยู่ในเขตอำนาจของประเทศที่องค์กรดำเนินธุรกิจอยู่ และอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ เช่น องค์กรที่ดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีข้อกำหนดด้าน Data Sovereignty ที่เข้มงวด อาจใช้ผู้ให้บริการ Sovereign Cloud เพื่อเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลทางธุรกิจ หรือข้อมูลทางทหาร ไว้ภายในประเทศเท่านั้น 

  1. การจัดการ Disaster Recovery 

การที่องค์กรทำ Disaster Recovery (DR) ขึ้นบนระบบคลาวด์ช่วยให้องค์กรได้รับการกู้คืนข้อมูลถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้ข้อมูลสูญเสียหรือเสียหาย และช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น องค์กรอาจใช้ผู้ให้บริการ Cloud เพื่อสำรองข้อมูลที่สำคัญไปยังศูนย์ข้อมูล Cloud ในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถกู้คืนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากคุณผู้อ่านสนใจอยากให้องค์กรของคุณได้เปลี่ยนมาใช้คลาวด์ผ่าน Cloud Provider ที่ให้บริการคลาวด์ที่หลากหลายทั้ง Global Cloud และ Local Cloud อย่าง Cloud HM ตอบโจทย์หลัก Multi-Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้คลาวด์ภายในองค์กร ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยถิ่นที่อยู่ของข้อมูล (Data residency laws) เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจของคุณอย่างแท้จริง ทีมงาน Cloud HM เป็นผู้เชี่ยวชาญที่นำเสนอคำปรึกษาและบริการในเรื่อง Multi-Cloud พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่คอยดูแลเพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าระบบ Cloud ของคุณจะมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงสุด

— Cloud HM