ถ้าพูดถึงการใช้บริการใน Cloud อาจมองได้หลายแบบขึ้นอยู่กับคำนิยามของแต่บุคคล ส่วนตัวผมจัดประเภทไว้ดังนี้
Private Cloud -> เราเป็นเจ้าของ ทำ Cloud ขึ้นมาใช้งานกันเองภายในบริษัท หรือบริษัทในเครือ
Domestic Cloud -> เป็น Cloud ในประเทศไทย ที่ให้ลูกค้าเช่าใช้งาน มีผู้ให้บริการมากมาย เช่น Cloud HM และ อื่น ๆ
Global Cloud -> เป็น Cloud เจ้าใหญ่ ระดับ Inter มีการกระจาย Infrastructure อยู่ทุกภูมิภาคของโลก เช่น AWS, Microsoft Azure และ GCP
ทีนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อ Cloud ล่ะ?
หลาย ๆ ท่านคงจะมีประสบการณ์ในการเลือกซื้อของชิ้นใหญ่ที่มีราคาค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นรถ หรือ บ้าน
ในการเลือกซื้อ Cloud จาก Cloud Provider ก็อยากให้มองเหมือนตอน “ซื้อรถคันแรก” ที่เราจะเปรียบเทียบ รายละเอียดยิบย่อย ทุก ๆ อย่างที่เราทำได้
เบสิกเลย ก็ดูที่ ยี่ห้อ รุ่นอะไร สีอะไร สวยถูกใจมั้ย เอาไปใช้ทำอะไร ถัดมาก็รายละเอียดยิบย่อย เช่น จ่ายไหวมั้ย ต้องใช้เงินดาวน์เท่าไหร่ มีศูนย์บริการทั่วถึงมั้ย บริการหลังการขายเป็นอย่างไร
และที่ขาดไม่ได้เลย คือ การทดลองขับ เพื่อที่จะประสิทธิภาพจริงว่าเป็นอย่างที่โฆษณาหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเกียร์ ระบบเบรค การเลี้ยว ระบบไฟ ระบบปรับอากาศ ต่าง ๆ ถ้าทุกอย่างโอเคหมด ก็ถึงจะตัดสินใจซื้อ ถูกมั้ยครับ?
Cloud แต่ละที่ทำไมถึงไม่เหมือนกัน?
ผมคาดว่าหลาย ๆ ท่านส่วนใหญ่ก็น่าจะเคยมีประสบการณ์การใช้งาน Domestic Cloud กันมาบ้างแล้ว ความจริงแล้ว Domestic Cloud ก็มีความแตกต่างกันนะครับ โดยผมจะแยกประเภทให้เทียบกัน 2 แบบ ก็คือ Enterprise Cloud และ Cloud VPS ทั้ง 2 แบบ เป็น Cloud Server เหมือนกัน แต่มีความต่างกันดังนี้ครับ
-
Enterprise Cloud จะมี Physical Server จำนวนมากที่ทำงานร่วมกัน ช่วยให้ Physical Server ไม่ทำงานหนักเกินไป และด้วยการที่มีหลาย Physical Server ทำให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ในกรณีที่ Physical Server เครื่องใดเครื่องนึงเสียไป ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่แตกต่างจาก Cloud VPS ครับ
-
Enterprise Cloud จะมีหน้า Control Panel ให้คุณสามารถบริหารจัดการได้เอง เช่น เปิด/ปิด Server Cloud VPS บางเจ้าจะสามารถใช้งานได้ผ่านทาง Console หรือ Remote Desktop เท่านั้น
-
สามารถรองรับการขยายตัวของ Server ลูกค้าได้ หากอยากเพิ่ม/ลด การใช้งาน (Scale UP/DOWN) และยังรองรับการทำ Load Balancing ให้แก่ Server ของคุณด้วย
ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลในการเลือกซื้อ Cloud จาก Cloud Provider?
สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกว่า Cloud แต่ละที่ มีไม่เหมือนกันครับ
-
Infrastructure – โครงสร้างและระบบที่ดีเป็นปัจจัยนึงในการเลือกใช้บริการจาก Cloud Provider
-
Data Center
-
ควรจะมีอยู่หลายสถานที่ตั้งแต่ 2-3 Sites เป็นต้นไป
-
Data Center หลักควรจะการันตีด้วย Uptime (ระยะเวลาที่ Data Center ให้บริการได้เป็นปกติใน 1 ปี) ว่าเป็นกี่ % โดยในปัจจุบันก็มี Data Center ที่การันตี Uptime 100% แล้ว แปลว่าไม่มีการหยุดชะงักของการให้บริการ Data Center เลย (Cloud HM เป็นหนึ่งในลูกค้าอยู่)
-
สาเหตุที่ต้องมี Data Center มากกว่า 1 Site เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกับ Data Center ที่แรก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม, ไฟไหม้, การจลาจล หรือ อื่น ๆ ทำให้ Cloud Provider ยังสามารถที่จะให้บริการแก่ลูกค้าได้อยู่
-
-
Hardware – ถัดมาจะเป็นระบบที่ใช้รองรับ Cloud Service ซึ่งในยุคนี้ไม่ใช่ยุคที่ควรจะต้องมารอการประมวลผลหมุนติ้ว ๆ แล้ว ฉะนั้น Cloud Provider ต้องมีความพร้อมในด้าน Hardware เพื่อที่จะรองรับ User ที่มีปริมาณมากแต่ยังคงให้บริการลูกค้าโดยรักษาระดับประสิทธิภาพการใช้งานให้สูงและเร็ว สิ่งที่ลูกค้าสามารถสอบถามได้ คือการ Design มีลักษณะอย่างไร
-
Server ใช้ Brand อะไร?
-
Storage เป็นชนิดไหน?
-
มี Network speed เท่าไหร่? และอื่น ๆ
-
-
- Security – ความปลอดภัยในการใช้บริการ Cloud Provider ต้องมีการคุม Security ในทุก ๆ ส่วน ได้แก่
-
Physical Layer -> ระดับแรกสุด Data Center ต้องมีการควบคุมการเข้า/ออกอย่างเข้มงวดตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน
- Account Security -> ควรจะมีทีมวิศวกรที่คอย Monitor ระบบ เพื่อเช็คพฤติกรรมผิดสังเกต เช่น การ Hack
- Network Security -> ควรจะมีการเข้าถึงด้วยการใช้ VPN และมีการใช้ Firewall คุณภาพระดับ Enterprise ต้องมีการเก็บ Log ไว้อย่างน้อย 90 วัน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
- Server Security -> Cloud Provider ต้องมีแผนในการป้องกันการจู่โจม ไม่ว่าจะเป็น การใช้ Antivirus, การทำ Hardening และการ Patching
- Application Security -> สามารถแนะนำ Solution ให้กับลูกค้าได้ในเรื่องของความปลอดภัยให้แก่ Application ของลูกค้า
- Your Company -> สุดท้ายก็คือบริษัทของคุณ จะได้รับการปกป้องจาก Layer ทางด้านบน
-
- Backup – สำหรับการสำรองข้อมูล เป็นสิ่งที่ Cloud Provider เกือบทุกที่ต้องมีพื้นที่รองรับสำหรับการทำ Backup อยู่แล้ว แล้วอะไรเป็นตัวบ่งชี้ช่วยในเลือก Cloud Provider?
- ความเร็วในการ Backup และกู้คืนยังไงล่ะครับ ยิ่งระบบของลูกค้ามีความสำคัญมาก แล้วถ้าเกิดปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ ย่อมส่งผลเสียกันทั้ง 2 ฝ่าย
- จำนวน Copy ของ Backup ที่ต้องการเก็บสำรองไว้ ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าจะต้องการให้เก็บข้อมูลย้อนหลังไปได้ระยะเวลาเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่ Cloud Provider จะมีการทำ Backup อย่างน้อยวันละ 1 ครั้งกันอยู่แล้วครับ
** สำหรับ Cloud HM จะ Backup ให้ทุกวันและเก็บไว้ 7 Copy ภายใน Data Center หลัก และ 7 Copy ใน Data Center อีก 2 แห่ง กระจายกันไป
- BCP Plan – เป็นแผนในการรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ธุรกิจอาจต้องหยุดชะงัก เป็นตัวชี้วัดว่า Cloud Provider มีความสามารถในการให้บริการได้ต่อเนื่องในกรณีที่เกิดปัญหากระทบกับ Infrastructure เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง Cloud Provider จะต้องสามารถระบุชนิดของความเสี่ยงได้ และมีระบบรองรับหากเกิดปัญหาลักษณะนี้ ได้แก่
-
- มีการออกแบบ Infrastructure ให้มีอุปกรณ์สำรองสำหรับการทำ HA ในกรณีที่อุปกรณ์หลักเสียหา
- มีการ Replicate ข้อมูลข้าม Data Center ในกรณีที่ Data Center หลัก ไม่สามารถให้บริการได้
** การดำเนินการพวกนี้เป็นพื้นฐานที่ Cloud Provider ต้องมี
-
Support – บริการช่วยดูแลลูกค้าในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างใช้บริการ หรือตามที่ลูกค้าขอความช่วยเหลือ เป็นอีกจุดที่สำคัญอย่างมาก ลูกค้าควรนำมาพิจารณาว่าบริการหลังการขายเป็นอย่างไร
-
มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน หรือไม่?
-
ผ่านทางช่องทางไหน? โทรศัพท์, ช่องทาง Social Media ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook หรือ e-mail?
-
ช่วยเหลือในด้านการ Migrate จากข้อมูลเดิมที่ลูกค้ามีอยู่ไปอยู่ที่ Cloud ได้หรือไม่? ทั้งนี้ก็เพื่อที่ลูกค้าจะสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น
-
การที่ลูกค้าย้ายมาใช้งานบน Cloud ก็เพื่อที่จะลดการดูแลเรื่องของ Infrastructure ลง ซึ่งลูกค้าที่ขึ้น Cloud แล้วควรจะสบายขึ้น ถ้ามาเจอกับ Support ที่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่อง Infrastructure ได้ไม่ดี ก็มีแต่จะทำให้เสียหายเปล่า ๆ เพราะลูกค้าทำอะไรเองไม่ได้ต้องพึ่ง Support ในเรื่องของ Infrastructure ดังนั้น Support ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญมากครับ
** Cloud HM มีทีม Support ชื่อว่า Service First แปลเป็นภาษาไทยว่า บริการคือที่หนึ่ง เรามีทีมงาน Engineer ที่คอยดูแลระบบให้แก่คุณโดยตรง มั่นใจได้ว่าเราสามารถดูแลหลังการขายได้ทั้งหมดจากที่กล่าวมาด้านบน
-
SLA – Service Level Agreement เป็นข้อตกลง, เงื่อนไข หรือมาตรฐานที่ Cloud Provider ให้สัญญากับลูกค้าว่าระบบจะพร้อมใช้ได้ตลอดการให้บริการ โดยส่วนใหญ่จะบอกเป็น % เช่น 99.9 เช่น SLA 99.9 หมายถึง Uptime (ระยะเวลาที่ Service ให้บริการได้เป็นปกติ) 99.9% ของ 1 ปี แปลว่ามีโอกาสที่จะใช้บริการไม่ได้มากที่สุดเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง นิด ๆ ต่อปี ซึ่งถ้าใช้ไม่ได้นานกว่านั้น สามารถแจ้งขอค่าปรับได้ เนื่องจากผิดเงื่อนไข โดยลูกค้าสามารถประเมินระดับ SLA ที่ต้องการเพื่อที่จะเลือกใช้งานกับ Cloud Provider ที่ตอบโจทย์ได้
** Cloud HM มี SLA ให้เลือกอยู่ 2 แบบ ได้แก่ SLA 99.9% และ SLA 99.99%
-
Compliance – จากทั้งหมดที่กล่าวมา หลาย ๆ ข้อ Cloud Provider อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ลูกค้าไม่มีทางรู้ได้ว่า Cloud Provider ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้าหรือไม่ สิ่งที่ช่วยยืนยันได้ก็คือ เรื่อง Certificate ที่มีหน่วยงานรับรองแล้วว่าผ่านมาตรฐานตามที่กำหนดโดย Cloud Service ส่วนใหญ่ ควรจะมี Certificate ดังนี้
-
-
-
ISO/IEC 27001 – มาตรฐานการความปลอดภัยของข้อมูล
-
มาตรฐานนี้เน้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลดังนั้นผู้ให้บริการจะมีกระบวนการแบ่งระดับชั้นความลับและการนำข้อมูลไปใช้ การส่งออกข้อมูลไปยังภายนอกรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการบริหารจัดการข้อมูล หากข้อมูลไม่ถูกแบ่งหรือจัดเก็บอย่างถูกต้องแล้วนั้นจะมีความเสี่ยงสูงที่ข้อมูลจะรั่วไหลออกไปสู่ภายนอก อาจจะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรเกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง ดังนั้นการที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ตระหนักถึงการจัดเก็บและแบ่งระดับชั้นความลับของข้อมูลให้ถูกต้องและพร้อมใช้อยู่เสมอจึงทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลถูกบริหารจัดการเข้าสู่กระบวนการแบ่งระดับชั้นอย่างมีประสิทธิภาพและเมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลไม่ถูกใช้ต่อไปแล้วนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำลายและทิ้งข้อมูลอย่างถูกวิธีตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001
-
-
CSA STAR – มาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์
-
เมื่อการให้บริการระบบคลาวด์ต้องมาพร้อมกับความปลอดภัย มาตรฐาน CSA STAR เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลด้านความปลอดภัยซึ่งต่อยอดมาจากมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ที่จะเจาะลึกขึ้นในด้านความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ จะช่วยเพิ่มการป้องกันและลดความเสี่ยงในเรื่องของภัยคุกคามรวมถึงช่องโหว่ต่าง ๆ ที่การให้บริการบนระบบคลาวด์ควรคำนึงถึงทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการรายใดก็ตามได้รับการรับรองในมาตรฐานนี้มีกระบวนการจัดการในการเข้าถึง ปกป้องระบบคลาวด์จากภัยคุกคามและช่องโหว่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
-
ISO/IEC 20000 – การบริหารบริการไอที
-
หากพูดถึงเรื่องของการบริการมาตรฐานนี้มุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการและการรับประกันคุณภาพงานบริการ โดยมีกระบวนการสรรหา Supplier ที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการสร้าง Service กระบวนการส่งมอบงาน รวมถึงการสำรวจความพึงพอใจจากลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการส่งมอบบริการ ซึ่งในทุกกระบวนการนั้นเป็นไปตามแนวทางและข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ ในท้ายที่สุดแล้วเมื่อมีการบริหารจัดการภายในที่ดีผู้ใช้บริการจะได้รับการส่งมอบบริการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
-
-
ISO/IEC 22301 – มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
-
เมื่อพูดถึงความต่อเนื่องทางธุรกิจหลายคนอาจสงสัยว่าเมื่อธุรกิจหยุดชะงักจะมีสิ่งใดเป็นแผนรองรับต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนั้นมาตรฐาน ISO/IEC 22301 นี้จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงักเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ ดังนั้นแผนที่ดีควรนำประไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่แค่การวางแผน แต่รวมถึงการทดสอบและฝึกซ้อมการใช้แผนต่าง ๆ จึงเป็นที่มั่นใจได้เลยว่าผู้ให้บริการรายใดก็ตามที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 22301 จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
-
-
-
-
- Cost – มาดูกันที่เรื่องสุดท้าย นั่นก็คือ ราคานั่นเองครับ ทำไมถึงอยากให้พิจารณาเรื่องราคาเป็นสิ่งสุดท้าย ก็เพราะว่าอยากให้มองจุดประสงค์ที่จะใช้งานบริการ Cloud ก่อนครับ ว่าต้องการจะนำไปใช้อะไร Cloud Provider ที่เลือก มี Function ตอบโจทย์หรือไม่ ถ้ามีก็สามารถที่จะไปต่อได้ครับ
ราคาไม่ใช่ทุกอย่าง สมมติว่าลูกค้าได้ราคาของ Cloud Provider มา 2-3 ราย แล้วท่านเอาราคามาเปรียบเทียบกัน แต่มีที่นึงให้ราคาถูกที่สุดโดยต่างจากเจ้าอื่นอยู่ประมาณ 10-20 % (ประมาณหลักพันบาท) แล้วพอใช้งานไปได้สักพัก มี Downtime เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย จากความคุ้มค่าที่ท่านจ่ายถูกลงไม่กี่พัน แต่ผลกระทบตอน Down หนักกว่ามาก อยากให้ลูกค้าได้มองในจุดนี้เช่นกันครับ
หัวข้อค่อนข้างเยอะเลยใช่มั้ยครับ ผมจับเอามาเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ เทียบกับการซื้อรถแล้วกันนะครับ ว่าอะไรที่ใกล้เคียงกันบ้าง มาดูกันครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ Blog นี้ในการแนะนำปัจจัยในการเลือกใช้บริการ Cloud จาก Cloud Provider หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ
หากสนใจบริการ Cloud ท่านสามารถเข้ามาเยี่ยมชม Website ของพวกเราได้นะครับ เราพร้อมยินดีให้บริการครับ
ขอบคุณครับ
หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ
— Cloud HM