AWS vs Azure ต่างกันอย่างไรบ้าง? เลือกใช้เจ้าไหนดี?

สวัสดีครับ ชาว IT หากพูดถึง Cloud ในยุคปัจจุบันก็คงจะมีส่วนน้อยที่ไม่รู้จัก AWS และ Azure กันใช่ไหมครับ วันนี้ Cloud HM จะมาแนะนำการเลือก Global Cloud ที่เหมาะจะใช้งานภายในองค์กรของท่านครับ
สำหรับ 2 เจ้า ยักษ์ใหญ่ Amazon Web Services และ Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการที่มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก แต่ผู้ที่เริ่มการให้บริการ Cloud ก่อนคือ AWS ครับ โดยเริ่มก่อตั้งและให้บริการในเดือนมีนาคม ปี 2006 ก็เกือบจะ 15 ปีแล้วล่ะครับ
สำหรับ Azure จะเริ่มช้ากว่าประมาณ 4 ปี ก่อตั้งเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010
Market Share 
    • AWS ประมาณ 40%
    • Azure ประมาณ 30%
โอเค เราเกริ่นกันไปนิดหน่อยแล้วสำหรับรายละเอียดเบื้องต้น มาเข้าสู่เนื้อหากันดีกว่าครับว่าระหว่าง 2 รายนี้ เปรียบเทียบกันแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างไรครับ

  1. Compute
    AWS – EC2 เป็น บริการ Compute ของ AWS ที่ Basic ที่สุด คุณสามารถสร้าง Instance (VM) ด้วย Image ที่ AWS มีให้ หรือคุณจะทำ Image เองก็ได้ ซึ่งคุณสามารถเลือก Spec ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของ CPU, ขนาดของ Memory, พื้นที่ Hard Disk และจำนวนของ Instance โดยจะไปวาง Instance ไว้ที่ Location ไหนก็สามารถเลือกได้ผ่านทาง Region (ภูมิภาค เช่น Asia, North America) และ AZ (Availability  Zone – Data Center)

    Azure – เช่นเดียวกันกับ AWS สำหรับ Azure บริการที่ Basic ที่สุดคือ Virtual machines โดยสามารถสร้าง VM จาก Image ที่ Azure มีให้ หรือจะทำ Image เอง หลังจากนั้นคุณจะต้องระบุจำนวนของ Core และ Memory รวมไปถึง Region และ AZ
  2. Storage
    AWS – จะได้เป็น Temporary storage ที่จะใช้ได้ตอนที่สร้าง EC2 และโดนลบข้อมูล เมื่อ Terminate EC2 แต่ก็มี Storage ที่เป็น Block (เหมือนกับ HDD) ชื่อว่า EBS ที่สามารถเอาไปแปะกับ EC2 เพื่อกันข้อมูลโดนลบได้ และอีกตัวยอดนิยมคือ S3 เป็น Object Storage ที่ใช้เก็บข้อมูลทุกรูปแบบรวมไปถึงข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้นานมาก ๆ เช่นกัน บริการ Storage ของ AWS รองรับการติดตั้ง Relational และ NoSQL Database รวมไปถึงการใช้งานเรื่อง Big Data
    Azure – จะได้เป็น Temporary storage เช่นกัน แต่ใส่ไว้ใน Drive D สำหรับ Windows หรือ /dev/sdb สำหรับ Linux ครับ มีบริการ Block Storage ชื่อว่า Azure Disk Storage มี Object Storage ชื่อว่า Blob Storage Azure เคลมว่า Storage ที่มีให้บริการสามารถรองรับการติดตั้ง Relational และ NoSQL Database ได้ หรือจะเก็บ Big Data ด้วยการร่วมงานกับ HDInsight

  3. Network
    AWS – มีบริการ Virtual Private Cloud (VPC) สำหรับคนไหนที่ต้องการใช้แบบ Isolated network แค่เฉพาะบน AWS Infrastructure ภายใน VPC คุณสามารถสร้าง Subnet, Route table, Private IP range และ Network gateway ได้
    Azure – ให้บริการโดยใช้ชื่อว่า Virtual Network (VNET) ซึ่งสามารถสร้าง Isolated network รวมไปถึง Subnet, Route table, Private IP Address range และ Network Gateway

    *ทั้ง 2 ราย มี Solution ที่สามารถ Connect ไปยัง On-Premise data center ของคุณได้เช่นกันครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ VPN หรือ การใช้ Private Link

  1. ราคา

    AWS – จะมีให้เลือกจ่ายเงินอยู่ 3 แบบ ได้แก่

      • On demand จะคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมงไปจนต่ำสุดที่รายวินาที ตามการใช้งานจริง หรือเรียกว่าแบบ Pay-as-you-go
      • Reserved เป็นการจอง หรือซื้อล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1-3 ปี ราคาจะถูกกว่าแบบ On demand ประมาณ 40-60%
      • Spot จะเป็นการให้บริการตามราคาที่คุณจ่ายไหว ซึ่ง AWS จะไปดูว่ามี Capacity ที่จะแบ่งให้คุณได้หรือไม่ ราคาจะถูกที่สุดเทียบกับ On demand ถูกกว่าประมาณ 50-90% แต่มีข้อเสียคือ ถ้า AWS เหลือ Resource ไม่เพียงพอ Instance คุณจะโดน Terminate
Azure – ก็จะมีลักษณะการจ่ายเงินคล้าย ๆ กับ AWS ซึ่งมีอยู่ 3 แบบเช่นกัน คือ
      • Pay-as-you-go หรือ จะคิดค่าบริการเป็นรายนาทีและรายวินาที
      • Reserved VM Instances เป็นการจอง หรือซื้อล่วงหน้าสัญญา 1-3 ปี
      • Spot จะให้คุณใช้ Resource capacity ที่ไม่ได้ใช้ของ Azure Compute โดยจ่ายในราคาที่ถูกกว่าแบบ Pay-as-you-go สูงสุดถึง 90% เช่นกัน ถ้า Resource ไม่เพียง VM ของคุณจะถูก Terminate
และยังมีการคิดบริการแบบอื่นอีก คือแบบ Pre-paid ที่ต้องเติม Azure credit ก่อนที่จะสร้าง VM

  1. Support
ทั้ง 2 ราย มีบริการ Support ที่เป็นแบบ Free คือ Basic Plan ซึ่งสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับ Billing, Health check, เอกสารต่าง ๆ White papers และ Best practice

สำหรับส่วนที่คิดค่าบริการ
AWS – จะมีอยู่ 3 Plans คือ
      • Developer – เหมาะสำหรับคนที่ใช้ AWS ในการทดสอบโปรแกรมหรือระบบ
      • Business – เหมาะสำหรับคนที่ใช้ AWS เป็นหลักในการ On Production
      • Enterprise – เหมาะสำหรับองค์กรที่ใช้ AWS เป็นหลักในการ On Production  ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ (Critical)
Azure – ราคา Support เป็นแบบ Flat rate คงที่ จ่ายเป็นรายเดือน
      • Developer – เหมาะสำหรับคนที่ใช้ Azure เพื่อการทดลองระบบ ทดสอบระบบ
      • Standard – เหมาะสำหรับคนที่ Production อยู่บน Azure
      • Professional Direct – เหมาะสำหรับองค์กรที่ระบบต้องดูแลเป็นพิเศษ (Critical)
  1. การ Integrate และ การใช้ Open Source
AWS – รองรับการใช้งานด้วย Open Source สามารถ Integrate ได้ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Jenkins หรือ GitHub และแน่นอนว่าเหมาะกับ Linux เป็นอย่างมาก
Azure – ความสามารถทัดเทียม AWS ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้ Development tool ของ Windows อย่างเช่น Visual Basic, SQL Database, Active Directory ก็จะสะดวกสบายในการ Integrate มาก อย่างเช่น สามารถใช้งาน AD User เดียวกันกับที่คุณใช้กับ Microsoft 365 หรือ Azure SQL instance Azure ยังเหมาะกับ .net Developer เช่นกัน

  1. Container และ Orchestration
AWS – Support Docker, Kubernetes บริการ Analytic (Support Hadoop ด้วย) และบริการที่เกี่ยวกับ Machine Learning รวมไปถึง IoT คุณสามารถสร้าง Mobile app รวมไปถึงทำ HPC (High performance computing) ได้ตามต้องการ 
Azure – Support Hadoop ด้วย Azure HDInsight สามารถใช้ Windows Server 2016 ในการใช้งาน Docker ได้ รองรับทั้ง Platform Windows containers และ Hyper-B containers และแน่นอนว่า Support การใช้งาน Windows หรือ Linux containers

  1. Compliance 
AWS – มี Certificate ค่อนข้างเยอะ หน่วยงานรัฐบาลของ USA ใช้ค่อนข้างเยอะ Compliance certification ที่มี ได้แก่ ITAR, DISA, HIPAA, CJIS, FIPs และอีกมากมาย ในเรื่องของ Security ก็เหมาะสมที่จะใช้งานโดยเฉพาะกับคุณคนใดที่มีข้อมูลที่เป็นความลับ
Azure – Microsoft เคลมว่ามีใบ Certification มากกว่า 50 ใบ แน่นอนว่ามีเหมือน AWS ส่วนนี้จะไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่

  1. User-friendly Console
AWS – จะมี Feature ที่ให้เลือกใช้งานค่อนข้างเยอะและหลากหลายกว่า แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ว่าแต่ละ Service มี Console อย่างไร ใช้งานอย่างไร
Azure – ถ้าคุณเป็น Windows admin มาก่อน จะใช้งาน Azure ได้ง่ายมากเพราะมันคือ Windows Platform ไม่ต้องเรียนรู้การใช้งานอะไรเพิ่มมาก และสามารถ Integrate Windows Server ที่ On-Premises กับ Cloud Instanced ทำเป็น Hybrid Cloud ได้ Tool พวก SQL Database และ AD เหมาะกับการใช้งานด้วย Azure เช่นกัน

  1. License
AWS – มี Option ให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการซื้อ License ใหม่ โดย Bundle มากับ EC2 หรือ RDS เลย หรือจะเอา License ของตัวเองขึ้นไปใช้ก็ได้ด้วย (BYOL) แต่ถ้าเป็น Microsoft License แล้วไม่ได้มี SA ก็จะเอาไปใช้ไม่ได้นะครับ อ่านเพิ่มเติมเรื่อง SA ได้ที่นี่ 
Azure – มี License Mobility สำหรับรองรับ Application Server แต่ User ต้องเลือก Server ที่ต้องใช้ License ให้พอดีกับตามเงื่อนไขของ License Mobility ซึ่งถ้าไม่ตรงตามเงื่อนไข จะต้องจ่ายค่า License เพิ่ม ทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้บริการ

  1. Hybrid Cloud
AWS – มีบริการที่ช่วยในการ Transfer file เพื่อจะย้ายขึ้น AWS ชื่อว่า Snowball edge  ที่รองรับ File ได้มากถึง 100 TB เลยทีเดียว และยังเป็น Partner กับ VMware อีกด้วย  หรือจะใช้ AWS Outposts ในการวาง Infrastructure ของ AWS ไว้ที่ Data Center ใกล้ ๆ  บริษัทของคุณเพื่อที่จะลด Latency อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อไปไปหา AWS Region อื่น  ๆ ได้อีกด้วย
Azure – Microsoft เหมาะกับการใช้งานเป็น Hybrid Cloud มาก เพราะว่ารองรับในหลาย ๆ  บริการ เช่น Azure StorSimple, Hybrid SQL Server, Azure VMware Solution และ Azure Stack  ที่เป็น Platform ที่คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นของ Public Cloud เกือบจะทั้งหมด ด้วย On-Premises Data Center ของคุณเอง โดยจ่ายเป็น Pay-as-you-go เหมือนกับ Public Cloud

มีหลายข้อมากมายเลยใช่ไหมครับ เดี๋ยวผมจะสรุปเป็นตารางให้มองภาพได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ


สรุปความแตกต่าง และการเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
ทั้ง 2 Providers มีบริการที่ค่อนข้างจะคล้าย ๆ กัน ไม่มีใครด้อยกว่า หรือ ดีกว่า หากมองจากภาพรวมของบริการ 
สรุปง่าย ๆ คือ ไม่แตกต่างกันมากในเรื่องของการบริการครับ แล้วจะเลือกใช้รายไหนดี? ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการว่าสะดวกที่จะใช้งานของรายไหนมากกว่ากัน ซึ่งทั้ง 2 ราย ก็มี Demo ให้ทดสอบได้ หากถนัดใช้งานของรายไหนก็สามารถเลือกได้ครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ระหว่าง AWS และ Azure หวังว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านที่กำลังสนใจมองหา Global ที่เหมาะกับองค์กรของท่านนะครับ

หากสนใจบริการ Cloud ซึ่งมีทั้ง Domestic Cloud ของเราเอง และ Global Cloud ทั้ง AWS และ Azure เลยครับ
ท่านสามารถเข้ามาเยี่ยมชม Website ของพวกเราได้เลยนะครับ เราพร้อมยินดีให้บริการครับ

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว  อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ

— Cloud HM