License Microsoft – Volume, CAL, SPLA อธิบายง่าย ๆ ให้คุณอ่านรอบเดียวเข้าใจ

7,106
7,106

ชาว IT หลายคนคงคุ้นหูกับศัพท์ License ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น Volume, CAL, SPLA กันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร แล้วเราควรใช้อันไหนสำหรับสถานการณ์ไหน วันนี้เราจะมาอธิบายให้ชาว IT ฟังแบบง่าย ๆ ทีเดียวจบ รับประกันอ่านอันนี้รอบเดียวเข้าใจแน่นอน

เริ่มจากภาพใหญ่สุดก่อนนั้นก็คือวิธีการขาย License Software ของ Microsoft ในตลาดปัจจุบัน จริง ๆ แล้ว Microsoft มีการขาย License หลายรูปแบบมากจนเจ้าหน้าที่ Microsoft ที่เราเคยมีโอกาสพบยังงงกันเองภายในเลย 

สำหรับ Blog นี้จะขอพูดถึง 2 รูปแบบหลักที่องค์กรใช้กัน ก็คือ Volume และ SPLA หรือชื่อเต็มคือ Service Provider License  Agreement ทั้ง 2 รูปแบบนั้น End-user สามารถใช้ License ได้อย่างถูกต้องตามกฏของ Microsoft ให้คิดถึง Microsoft Office ครับ เราสามารถไปซื้อกล่อง Microsoft Office มาจากร้านขาย Software ตามห้างและนำมาใช้ที่บ้านเองได้ (เป็นการซื้อขาด) หรือเราจะสมัครใช้ Office365 ผ่านระบบ Online ของ Microsoft ก็ได้ (เป็นการเช่าใช้รายเดือน) ทั้ง 2 สามารถให้คุณใช้ License Microsoft Office ได้อย่างถูกต้อง 100% 

ใครจะเลือกอันไหนคงต้องมาดูว่าเราอยากจ่ายเงินก้อนไหม? หรือเราอยากได้สิทธิ์ใช้ Software ที่ใหม่ที่สุดตลอดไหม?

เห็นภาพใหญ่กันแล้วจะขออนุญาตเข้าเรื่องก็คือ Volume และ SPLA คืออะไร ต่างกันอย่างไรและเหมาะกับใครในสถานการณ์ไหน

Volume License คือ License ที่ซื้อขาดโดยการจ่ายเงินก้อน License ดังกล่าวไว้ใช้ที่ On-premise (สถานที่ตั้งของ Office หรือ  Server คุณ) ราคาจะคิดตาม Spec ของ Server ที่คุณใช้หากตอนแรกซื้อไว้ 6 Processor และผ่านไป 3 ปี เปลี่ยน Server เล็กลงคุณจะไม่สามารถขอเงินคืนได้หรือหากใช้ Version Standard อยู่และอยาก Upgrade เป็น Enterprise คุณไม่สามารถจ่ายแค่ส่วนต่างได้ ต้องทำการซื้อใหม่หมดเลย Volume License นั้น ไม่มีวันหมดอายุ ซื้อรอบเดียวใช้กี่ปีก็ได้ แต่คุณจะไม่มีสิทธิ์ในการ Upgrade กล่าวคือต้องใช้ Version ที่ซื้อไปตลอด เช่น ซื้อ Windows  Server 2012 ในปี 2012 หากถึงปี 2020 และ Windows Server 2020 ออกเราจะไม่สามารถใช้ได้ เว้นแต่เราซื้อ Software Assurance (SA) พร้อมไปด้วย ณ วันที่เราซื้อ Software ตัวนั้น SA จะให้ประโยชน์ลูกค้าอยู่ 2 ข้อ คือ 

  1. สามารถ Upgrade ใช้ Software Version ล่าสุดได้ตลอดระยะเวลา SA (ส่วนมาก 3-5 ปี สามารถถามจาก Vendor ที่เราซื้อได้)
  2. สามารถนำ Software License ดังกล่าวไปใช้ที Cloud ได้ (หากไม่มี SA Microsoft ไม่อนุญาตให้คุณเอา License Volume ไปใช้บน Cloud) Software ที่เป็นที่นิยมที่ซื้อในรูปแบบ Volume License ได้แก่ Windows, Microsoft SQL, SharePoint, Exchange, Dynamic AX และ Dynamic NAV –  Volume License นั้นมักจะหาซื้อได้จาก Vendor และ Distributor ที่ขาย Software ทั่วไป

SPLA License นั้น ตามชื่อมันเลยก็คือ Service Provider License Agreement สามารถเช่าใช้ได้จาก Service Provider หลัก ๆ ในเมืองไทยก็คือผู้ให้บริการ Cloud หรือ Hosting –  License SPLA นั้น เป็น License เช่าใช้รายเดือน กล่าวคือ ลูกค้าจ่ายค่าเช่ารายเดือนให้แก่ Service Provider เรื่อย ๆ ทุกเดือน

  • หากต้องการเลิกใช้ก็แค่หยุดจ่ายในระหว่างเดือน
  • หากต้องการ Upgrade Version ก็แค่แจ้ง Service Provider และเดือนถัดไปก็เริ่มจ่ายเพิ่มแค่ส่วนต่างเท่านั้น
  • หรือ หากเปลี่ยน Spec เครื่องสูงขึ้นหรือต่ำลงก็เช่นเดียวกัน คือ จ่ายแค่ส่วนต่างจาก Spec ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเทียบกับ Spec ก่อนหน้า เริ่มนับตั้งแต่เดือนถัดไป

หมายเหตุ: SA ต้องซื้อ ณ Day 1 เท่านั้น หากต้องการใช้ SA ไม่สามารถซื้อ Add-on กับ Volume License เก่าที่มีอยู่แล้วได้

โดยปกติแล้วส่วนมาก End-user จะเจอ License SPLA เวลาพิจารณาใช้ Cloud เนื่องจาก Microsoft บังคับว่าสำหรับบาง Software เช่น Windows นั้น หาก End-user ต้องการใช้บน Cloud ต้องใช้ในรูปแบบ SPLA เท่านั้น ไม่สามารถนำ Volume มาใช้ได้ ผู้อ่านอาจจะงงอ่าวมะกี้ Admin บอกว่าสามารถนำ Volume License ที่มี SA มาใช้บน Cloud ได้ไม่ใช่รึ คำตอบคือใช่ ถ้า Software ตัวนั้นมี Option ให้ซื้อ SA เช่น Microsoft SQL แต่สำหรับ Windows นั้น Microsoft ไม่มี Option ให้ซื้อ SA ครับ ก็คือเป็นการบังคับอ้อม ๆ จาก  Microsoft ว่าหากคุณจะใช้ Windows บน Cloud ต้องใช้กับ License SPLA เท่านั้น

หากยังงง ๆ กันอยู่  เราได้ทำตารางให้ด้านล่าง เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจและเปรียบเทียบครับ

Software License

จุดคุ้มทุน

จุดคุ้มทุนระหว่าง Volume กับ SPLA โดยรวมนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30 เดือน (เฉลี่ยจากหลาย ๆ Software เช่น Microsoft SQL, Exchange etc.) กล่าวคือ ใช้ SPLA 30 เดือน (2.5 ปี) จะเท่ากับลูกค้าซื้อ License Volume พร้อม SA สำหรับ Software นั้น ๆ  เพราะฉะนั้นในเชิงความคุ้ม หากมองว่า Software ตัวนั้นจะใช้นานกว่า 2.5 ปี และไม่จำเป็นจะต้องใช้ Version ใหม่ล่าสุด Volume จะคุ้มกว่า

ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นข้อมูลคร่าว ๆ ระหว่าง License Volume และ SPLA ครับ หวังว่าชาว IT หลาย ๆ คนจะได้ไอเดียกันมากขึ้น วันนี้ขอจบลงเท่านี้หากใครมีคำถาม สามารถ Comment สอบถามได้เลยนะครับ หากเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์ฝากกด Like และ Share ด้วยนะครับ Admin จะได้มีกำลังใจเขียนต่อ สำหรับรอบต่อไป Admin จะมาอธิบายลงลึกสำหรับ License Software ที่ Popular มากที่สุด 2 อันก็คือ Windows และ Microsoft SQL

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาดหรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รบกวนใช้วิจารณญาณในการอ่าน หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามโดยตรงได้จาก Microsoft ครับ

Blog อื่น ๆ

เข้าใจ WINDOWS SERVER LICENSE ง่าย ๆ จบใน 5 นาที


— Cloud HM