MongoDB เป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นด้านความยืดหยุ่น ความสามารถในการสเกลและประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ทำให้ MongoDB เหมาะกับการใช้งานในหลากหลายธุรกิจ ซึ่งจะมีธุรกิจไหนเอาไปใช้งานในรูปแบบใดบ้างเรามาดูกันเลยยย !!!
MongoDB คืออะไร
MongoDB เป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ซึ่งต่างจากฐานข้อมูลแบบ Relational Database ที่เก็บข้อมูลในรูปแบบตาราง MongoDB เก็บข้อมูลในรูปแบบของ Document ซึ่งคล้ายกับไฟล์ JSON แต่ละ Document สามารถมีฟิลด์ (Field) ใด ๆ ก็ได้ ทำให้ MongoDB มีความยืดหยุ่นสูงในการเก็บข้อมูล
ภาพตัวอย่างข้อมูลทีมีการเก็บภายใน mongo DB
NoSQL vs SQL
การเข้าใจในความแตกต่างระหว่าง NoSQL กับ SQLจะช่วยให้เราเข้าใจจุดเด่นของ MongoDB ได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงสามารถตัดสินใจเลือกใช้งานฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับโปรเจกต์ของเรานั่นเอง โดย SQL ย่อมาจาก Structured Query Language เป็นภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูลแบบ Relational Database โดย SQL มีคำสั่งพื้นฐาน 2 ประเภท คือ
- DDL (Data Definition Language) เป็นคำสั่งสำหรับสร้าง ลบ และแก้ไขโครงสร้างของฐานข้อมูล
- DML (Data Manipulation Language) เป็นคำสั่งสำหรับเพิ่ม ลบ แก้ไข และดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล
ตัวอย่างคำสั่ง SQL
- DDL
- CREATE TABLE customers (id INT, name VARCHAR(255), age INT);
- DROP TABLE customers;
- ALTER TABLE customers ADD COLUMN email VARCHAR(255);
- DML
- INSERT INTO customers (id, name, age) VALUES (1, ‘John Doe’, 30);
- UPDATE customers SET name = ‘Jane Doe’ WHERE id = 1;
- DELETE FROM customers WHERE id = 1;
- SELECT * FROM customers;
ส่วน NoSQL ย่อมาจาก Not Only SQL ต่างจากฐานข้อมูลแบบ Relational Database ที่เก็บข้อมูลในรูปแบบตาราง โดย MongoDB เก็บรูปแบบของ Document นอกจากนี้ NoSQL ยังมีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ เช่น Key-value pair, Wide column store, Graph เป็นต้น
ตัวอย่างข้อมูลในรูปแบบ Key-value pair
MongoDB สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้างในธุรกิจ
กรณีการใช้งานของ MongoDB ที่ครอบคลุมในหลาย ๆ อุตสาหกรรมโดย MongoDB มักถูกใช้สำหรับแอปพลิเคชันที่เน้นข้อมูลจำนวนมากและมีความยืดหยุ่นสูง ไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูลไว้ก่อนทำให้สามารถใช้ได้ในหลาย ๆ กรณีเช่น
ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) : โดยการใช้งานของ MongoDB สำหรับด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เราสามารถเอามาใช้สำหรับการสร้างแอปพลิเคชัน AI สามารถใช้สำหรับการสร้างแอปพลิเคชัน AI ที่ต้องการความสามารถในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อน
โดยตัวอย่างบางส่วนของกรณีการใช้งาน AI ที่ MongoDB สามารถนำมาใช้ได้มีดังนี้
- Text classification: MongoDB สามารถใช้สำหรับการจำแนกประเภทข้อความ เช่น การจัดหมวดหมู่ข้อความหรือระบุอารมณ์จากข้อความ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) และการวิเคราะห์ความรู้สึก (Sentiment analysis)
ตัวอย่างข้อมูล โครงสร้างประโยคที่เก็บไว้ใน MongoDB สำหรับแอปพลิเคชันการสรุปข้อความ
ตัวอย่างข้อมูล อารมณ์ที่เก็บไว้ใน MongoDB สำหรับแอปพลิเคชันการวิเคราะห์อารมณ์
- Object Detection: สามารถใช้สำหรับระบบที่ตรวจจับวัตถุในภาพหรือวิดีโอ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น ระบบตรวจจับใบหน้า ระบบวิเคราะห์ภาพ หรือระบบติดตามวัตถุต่าง ๆ เช่น ระบบในรถยนต์อัตโนมัติ การขนส่ง และกีฬา
ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บไว้ใน MongoDB สำหรับระบบตรวจจับวัตถุในภาพหรือวิดีโอ
ด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) : MongoDB ช่วยให้องค์กรสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลบน edge device ได้ โดยจะมีบริการ Atlas for the Edge มีฟีเจอร์สำหรับการใช้งานร่วมกับ edge device เช่น
ตัวอย่างข้อมูล IoT ที่เก็บไว้ใน MongoDB จากระบบติดตามยานพาหนะ
- การประมวลผลแบบเรียลไทม์: Atlas for the Edge สามารถรองรับการประมวลผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันที
- ปลอดภัย: Atlas for the Edge มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถปกป้องข้อมูลได้
- ความยืดหยุ่น: Atlas for the Edge สามารถใช้กับอุปกรณ์ที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถรองรับความต้องการที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างบางส่วนของกรณีการใช้งาน Atlas for the Edge มีดังนี้
ตัวอย่างข้อมูล IoT ที่เก็บไว้ใน MongoDB จากระบบควบคุมเครื่องจักร
- Smart Factory: Atlas for the Edge สามารถใช้สำหรับเก็บข้อมูลเครื่องจักรจากโรงงาน ซึ่งช่วยให้โรงงานสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
- Medical Monitoring Device: สามารถใช้สำหรับเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Mobile and Web Application Development: สำหรับการพัฒนาทั้งเว็บและแอปพลิคชันบนมือถือได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ต่างนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้วยความสามารถที่ยืดหยุ่น ค้นหาข้อมูลในเอกสารได้อย่างรวดเร็ว รองรับการประมวลผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับแอปพลิเคชันและเป็นเหตุผลหลักที่ MongoDB จึงเป็นที่นิยม
ตัวอย่างข้อมูลจากแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซที่เก็บไว้ใน MongoDB
Game: สำหรับพัฒนาเกมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เราสามารถจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ ไว้ใน Document เดียวกันได้สามารถจัดการข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ข้อความ ตัวเลข และรูปภาพตัวละคร ฉาก เอฟเฟกต์ภายในเกมได้ รวมถึงเกมข้อมูลสถานะต่าง ๆ ภายในเกมและประมวลผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับเกมที่จำเป็นต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างข้อมูลเซสชันเกมที่เก็บไว้ใน MongoDB
ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ MongoDB
เรามาดูกันดีกว่าว่าบริษัทระดับองค์กรที่มีชื่อเสียงที่ไหนบ้างที่ใช้ MongoDB และใช้ทำอะไรกัน
ภาพจากเว็บไซต์ : https://www.mongodb.com/who-uses-mongodb
- Bosch ใช้ MongoDB เพื่อทำแอปที่ขับเคลื่อนด้วย IoT ให้กับผู้บริโภค
- Urban Outfitters ใช้ MongoDB เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการเนื้อหาสำหรับแอปอีคอมเมิร์ซที่เน้นผู้ใช้เป็นหลัก
- Forbes ยังเปลี่ยนมาใช้ MongoDB เพื่อออกแบบแพลตฟอร์มสำหรับการจัดการเนื้อหาที่รวดเร็วและเชื่อถือได้
- Expedia หันมาใช้ MongoDB เพื่อออกแบบ “Scratchpad” สำหรับการวางแผนการเดินทางที่เป็นส่วนตัวและสะดวกสบายยิ่งขึ้น
- Amadeus ระบบจองการเดินทางที่ใช้โดยสายการบินมากกว่า 124+ แห่งในกว่า 190 ประเทศก็ใช้ MongoDB
- Salesforce Marketing Cloud เลือก MongoDB เนื่องจากใช้งานง่ายและคล่องตัว สามารถสเกลได้ และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี MongoDB
- AstraZeneca Pharmaceuticals วัคซีนชื่อดังก็ยังใช้ MongoDB สำหรับจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่จำเป็นสำหรับการจัดลำดับจีโนมและการวิจัยและพัฒนาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
และนี่ก็จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพรวมในการนำ MongoDB ไปใช้ในธุรกิจ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมว่าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เอา MongoDB ไปช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.mongodb.com/who-uses-mongodb
— Cloud HM