Microsoft Product Lifecycle เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้!

สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาว IT กลับมาพบกันอีกครั้งกับ Cloud HM Blog ข่าวสาร และบทความ IT น่าอ่านพร้อมบริการทุก ๆ ท่านนะครับ หัวข้อวันนี้ที่ผมจะมาอยากแนะนำทุกท่านซึ่งคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่ง และสำคัญมากสำหรับชาวไอทีตั้งแต่ IT Support จนถึง IT Manager จำเป็นต้องเข้าใจและเรียนรู้นั้นคือ Product Lifecycle,  Product Lifecycle คืออะไร แล้วจำเป็นแค่ไหนเรามาเรียนรู้กัน ในบทความนี้เราจะพูด Product lifecycle ของ Windows server และ  SQL Server เป็นตัวอย่าง ซึ่งรูปแบบคล้าย ๆ กันหากรู้ และเข้าใจก็สามารถตรวจสอบเกือบจะทุก Product ของ Microsoft

Microsoft Product Lifecycle?

หากดูคำว่า Lifecycle คือวัฏจักร, วงรอบหรือการมีชีวิตอยู่ก็ได้ ขึ้นอยู่ที่การนำไปใช้งาน พูดง่าย ๆ คือวงรอบที่ Microsoft จะออกโปรดักส์ตัวใหม่หรือเวอร์ชั่นใหม่ รวมไปถึงการคำนวณว่าสินค้ารุ่นนี้ทางไมโครซอฟต์จะเลิกสนับสนุนเมื่อไหร่

มาทำความเข้าใจรูปแบบการออกผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟต์?

หากท่านได้รู้จักรูปแบบโดยทั่วไปไมโครซอฟต์จะออกผลิตภัณฑ์ใด และเริ่มปล่อยออกมาเมื่อใด เราจะสังเกตง่าย ๆ คือจะออกโดยใช้ชื่อโปรดักส์และตามด้วยปีที่เริ่มให้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น Windows Server 2008


https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/products/windows-server-2008

แต่ในบางผลิตภัณฑ์จะออกก่อนล่วงหน้าแต่จะออกล่วงหน้าเพียงไม่กี่เดือนเช่น Windows Server 2019

https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/products/windows-server-2019

Overview of Server Product Lifecycle

รูปแบบของ Support ของ Microsoft จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. Mainstream Support คือ รูปแบบที่ Microsoft ออกผลิตภัณฑ์ โดยจะนับตั้งแต่เริ่มออกจนถึงครบกำหนด โดยช่วงเวลา Mainstream Support นี้ จะมีอายุเพียง 5 ปี  หากเลยช่วงเวลานั้น จะเรียกว่า Extended Support ซึ่งจะพูดในข้อถัดไป ในช่วง Mainstream Support ทาง Microsoft จะออกอะไรบ้าง
    • New features ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในระยะเวลา จะออกฟีเจอร์เรื่อย ๆ โดยทาง Microsoft ไม่ได้กำหนดว่าจะออกกี่ฟีเจอร์แต่จะออกภายในระยะเวลาที่ Mainstream Support
    • Security updates ในระยะเวลานี้ทาง Microsoft จะออก Security update หรือเรียกง่าย ๆ คือ patch update ตามที่เราคุ้นเคยกันนั้นเอง
    • Non- security updates ในระยะเวลานี้ทาง Microsoft จะออก patch ที่แก้ไขบางอย่าง หรือบางฟีเจอร์ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันกับ Security

2. Extended Support  คือรูปแบบที่ Microsoft ขยายเวลา Support อีก 5 ปี โดยการขยายเวลาดังกล่าวจะไม่มีการออกฟีเจอร์ใหม่ แต่จะมีเพียง Security updates และ Non-security updates เท่านั้น   

รูปภาพประกอบจาก : https://techbast.com/

Extended Support ใช้ในกรณีใด  และต้องทำอย่างไร?                                        

ในกรณีมีความจำเป็นต้องใช้ระบบปฏิบัติการเดิม หรือ ผลิตภัณฑ์เดิมของ Microsoft หลังจากหมดช่วง Mainstream ไปแล้วนั้น จึงจำเป็นต้องอยู่ในช่วง Extended Support แต่ต้องรู้ว่า ช่วงนี้จะต่อได้อีกเพียง 5 ปี หลังจากนั้นจะเป็นช่วงหมดการบริการจาก Microsoft  หรือที่เรียกกันทั่วไปคือ End of Support


จากรูปประกอบจะเห็นว่า Windows server 2012 R2 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่า Windows Server 2012 ที่ออกใหม่กว่ารุ่นแรกไปแล้ว 1 ปี

ในรูปเห็นได้ว่าเริ่ม Windows Server 2012 R2 ปล่อยให้ใช้งานวันที่ 25 November 2013 และครบช่วง Mainstream 5 ปี คือ 9 October 2018  หากนับคร่าวๆประมาณ เกือบ 5 ปี และมีจะมีการเข้าสู่ Extended Support อีก 5 ปี ครบกำหนด Extended Support  10 October 2023

ตรวจสอบ Microsoft Product Lifecycle อย่างไร?        

หากต้องการตรวจสอบว่า Microsoft Product ที่ใช้งานปัจจุบันอยู่ในช่วง Mainstream หรือ Extended Support สามารถตรวจสอบได้ที่ลิงค์นี้ https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/products/

สามารถค้นหาผลิตภัณฑ์ในช่องค้นหา หรือเลือกโปรดักส์ในเมนูซ้ายมือก็ได้เช่นเดียวกัน

ทำไมผู้ดูแลระบบหรือไอทีต้องรู้ และเข้าใจ Microsoft product Lifecycle?

หากท่านเป็นผู้ดูแลระบบหรือไอทีจำเป็นต้องรู้โดยอาจจะสรุปเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้

  1. เพื่อความเข้าใจ Microsoft Products ที่ใช้งานอยู่เพื่อวางแผนในการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่และที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น หากท่านใช้งาน Product อยู่ในช่วง Extended Support จะได้เตรียมตัวก่อนที่จะหมดการ Support จาก Microsoft  หรือ หากต้องการขึ้นระบบใหม่ ควรจะขึ้นด้วยระบบปฏิบัติการใดและใช้งานได้อีกกี่ปี
  2. เพื่อใช้ในการวางแผนอัพเกรดระบบใหม่ หรือขึ้นระบบใหม่ ในแผนพัฒนาระบบและงบประมาณประจำปี
  3. ความเสี่ยงที่ได้รับหากยังคงใช้ระบบเดิม
  4. คำนวณค่าใช้จ่ายและการดำเนินการหากยังคงต้องใช้ระบบปฏิบัติการเดิม แต่จะเป็นในรูปแบบ Extended Security Update ( ESU ) ซึ่งหากต้องใช้ในรูปแบบ Extended Security Update ( ESU ) มีเงื่อนไขอย่างไรจำเป็นต้องเตรียมตั้งแต่เนินๆ

หากระบบปฏิบัติการที่อยู่ On-premise  ต้องการได้รับการ Support จาก Microsoft ต้องทำอย่างไร?

  1. อัพเกรดระบบปฏิบัติการ หรือ โปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด
  2. Migrate ขึ้น Microsoft Azure จะได้ Extended Security Update ( ESU) ฟรี
  3. จัดซื้อ Extended Security Update ( ESU ) จะยังคงใช้งานต่อไปได้ แต่ต้องซื้อเป็นรายปี และตามเงื่อนไขที่ Microsoft ระบุเท่านั้น

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Extended Security Updates for SQL Server and Windows Server 2008 and 2008 R2 | Microsoft

เงื่อนไขการต่อ Extended Security Updates?

 หากต้องการใช้งานบริการ Extended Security Updates สำหรับ Server ที่ยังคงอยู่ On-premise ระบบปฏิบัติการนั้นต้องมีเงื่อนไขดังนี้  คือ Customers with active Software Assurance or subscription licenses for their servers are eligible to purchase Extended Security Updates on-premises through an EA, EAS, SCE, or EES.

รูปแบบการซื้อ Extended Security Updates?

รูปแบบการซื้อ Extended Security Updates จะมีรูปแบบการซื้อแบบรายปี ไม่สามารถแยกซื้อเป็นรายเดือนหรือครึ่งปีได้

วิธีการคำนวณราคาของ Extended Security Updates จะคำนวณดังนี้ 

Year 1: Approximately 75% of full license price
Year 2: Approximately 100% of full license price
Year 3: Approximately 125% of full license price

โดยราคาจะสูงขึ้นจากปีที่ 1  25% ของราคา License ในแต่ละปี

หากต้องการอัพเกรดระบบปฏิบัติการควรทำอย่างไร?               

หากปัจจุบันมีการใช้ระบบปฏิบัติการที่ End of Support และต้องการอัพเกรดทาง Microsoft ก็มีคู่มือการอัพเกรดในเวอร์ชั่นต่าง ๆ
ไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดควรอัพเกรดตามลำดับดังรูปภาพ


วิธีอัพเกรดระบบปฏิบัติการได้ที่ลิงค์นี้ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/upgrade/upgrade-overview

หากมีข้อสงสัยหรือคำถามสามารถไปอ่านต่อได้ที่นี่ ตามลิงค์ด้านล่าง https://www.microsoft.com/en-us/windows-server/extended-security-updates

Product Lifecycle FAQ – Extended Security Updates | Microsoft Docs

หากต้องการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ใดของ Microsoft End Of Support ในแต่ละปี

ตามนี้ลิงก์นี้ https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/end-of-support/end-of-support-2021

หรือหากต้องการ export ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ใดของ Microsoft End Of Support ทั้งหมดสามารถดูได้ที่นี่ https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/products/export/

Cloud HM Partner ผู้เชี่ยวชาญของ Azure พร้อมบริการ Microsoft Azure ในทุกรูปแบบ รวมถึงแบบ Multicloud ติดต่อเราได้ทันทีที่นี่

Reference
https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/
https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/products/
https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/faq/windows
https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/policies/fixed
https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/end-of-support/end-of-support-2021
https://www.microsoft.com/en-us/windows-server/extended-security-updates
https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/upgrade/upgrade-overview
https://docs.microsoft.com/en-us/lifecycle/products/export/

— Cloud HM