อาชีพของงานสาย IT ในปัจจุบัน

10,685
10,685

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน วันนี้จะมาแนะนำสายอาชีพ IT ในปัจจุบันที่มีอยู่ในตลาดแรงงานกันนะครับ  เหมาะสำหรับท่านที่กำลังมองหาช่องทางในการทำงาน หรือเป็นน้อง ๆ จบใหม่  ที่ยังไม่ทราบว่ามีสายงานอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ IT ครับ มาเริ่มกันสายครับ

ในปัจจุบัน Information technology หรือ IT  เป็นสายงานที่มีความสำคัญมากในระบบการทำงานและค่อนข้างมีตำแหน่งที่หลากหลาย อย่างน้อยในบริษัท  หรือ องค์กร จะต้องมีผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับ IT อย่างน้อย 1-2 คน เพื่อช่วยในการวางโครงสร้างของระบบ  เพราะในยุคนี้การทำงานโดยส่วนใหญ่ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก คนที่คอยบำรุงรักษาอุปกรณ์, ดูแลโปรแกรม  หรือจัดการเรื่องสิทธิ์การเข้าใช้งานต่าง ๆ ของบุคคลก็จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากพวกเขาเหล่านั้น  แต่ก็อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นว่ามีค่อนข้างหลากหลาย ผมจะขอจัดหมวดหมู่แบ่งแยกให้ดังนี้ครับ

IT Management Group

เป็นสายบริหารของธุรกิจ IT มีความสามารถในการมองธุรกิจได้ทะลุปรุโปร่ง  นำเทคโนโลยีมาใช้งานกับบธุรกิจได้อย่างเหมาะสม เช่น

  • CEO (Chief Executive Officer) เน้นรอบรู้ทุกด้าน
  • CTO (Chief Technology Officer) เน้นทางด้านเทคนิค
  • CFO (Chief Finance Officer) เน้นทางด้านการเงิน
  • IT Manager – ผู้จัดการ IT ดูแลภาพรวมของระบบ IT ในองค์กร

Infrastructure & Operation Admin Groups

เป็นสายดูแลระบบเครือข่ายขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น  ระบบ Network, ระบบปฏิบัติการ UNIX, Windows, Linux, BSD, อุปกรณ์ Storage เช่น HDD, Tape,  NAS, SAN และอื่น ๆ ตัวอย่าง อาชีพนี้ ได้แก่

  • System Engineer – วิศวกรระบบ บางองค์กรจะให้ดูแลภาพรวมของระบบ สร้าง/แก้ไข/ลบ ระบบ
  • System Administrator – ผู้ดูแลระบบเครือข่ายจะดูแลเฉพาะเจาะจงในส่วนของตัวเอง เช่น  Network หรือ Operating system
  • Network Engineer – วิศวกรเครือข่าย ดูแลระบบ Network ทั้งหมดขององค์กร เช่น  การตั้งค่าระบบ LAN, Firewall, Wi-Fi และ อื่น ๆ
  • Network Operation – เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและดูแลเครือข่าย บางองค์กรจะรวมไปถึง ทั้ง System  Engineer และ Network Engineer ที่เป็นฝ่ายที่แก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมกันเป็นตำแหน่งนี้
  • IT Support – สายอาชีพผู้สนับสนุนไอที มีหน้าที่แก้ไขปัญหาเรื่อง IT ให้กับบุคคลในองค์กร หรือ ลูกค้า

Programmer Group

เป็นสายเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมเมอร์  เหมาะสำหรับคนที่มีความสามารถวิเคราะห์และมองข้อมูลต่าง ๆ ในเชิง Logic ได้ดี  รวมกับความเข้าใจในการเขียนโปรแกรม  ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ออกมาค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างก็มีให้เห็นมากมาย เช่น  Facebook, Uber Application เหล่านี้ก็เกิดจากการสร้างของโปรแกรมเมอร์ทั้งนั้น

ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น Python, Ruby, Perl, PHP, ASP, C, C++, Java และอื่น ๆ  ตัวอย่างอาชีพในสายเขียนโปรแกรม ได้แก่

  • Application Developer หรือ Software Engineer – นักพัฒนา Application  โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์ผลงานและจะต้องสามารถมองภาพกว้างของ Project ได้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบ, การพัฒนา, การวิจัย, การทำเอกสารประกอบ, การซ่อมบำรุง, การ  Implement core และการวิเคราะห์ Software
  • Programmer – นักเขียนโปรแกรมรับผิดชอบในการ Coding, ทดสอบ Code และแก้ไข Bug  จะแตกต่างจาก Application Developer ตรงที่จะทำงานเป็นบางส่วนของ Project แต่  Application Developer จะเข้าใจ Scope โดยรวมมากกว่า
  • Software Tester – นักทดสอบผลิตภัณฑ์ จะคล้าย ๆ กับพวก QC  ในโรงงานที่คอยตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งให้ลูกค้าใช้งาน คือ  จะหาช่องโหว่จากการทำงานและคอยเช็คว่า Application มี Bug ตรงไหนบ้าง
  • System Analyst – นักวิเคราะห์ระบบให้เป็นไปตามความต้องการขององค์กรและทีมงาน  ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานการ Coding มาก่อน
  • Business Analyst – นักวิเคราะห์เชิงธุรกิจ  ต้องมีความสามารถในเรื่องของเทคนิคเพื่อนำมาประกอบกับการวิเคราะห์ทางด้านธุรกิจ

นอกเหนือจากการเขียนโปรแกรม ก็ยังมีผู้ที่ถนัดเฉพาะทางในการทำ Website โดยเฉพาะ  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการพัฒนา Application หรือการออกแบบ Website ให้สวยงาม ตัวอย่างสายอาชีพนี้  ได้แก่

  • Web Programmer / Web Developer ทำหน้าที่พัฒนา Application
  • Web Designer ทำหน้าที่ออกแบบความสวยงามของ Website

Database Group

ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลขององค์กร  เป็นอีกสายงานหนึ่งที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในยุคปัจจุบันที่มีการใช้ Data จำนวนมาก (Big Data)  มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ สายงานนี้ ตัวอย่างอาชีพ ได้แก่

  • Database Administrator (DBA) – เป็นผู้ดูแลระบบ Database บำรุงรักษา  ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและวางแผนการจัดเก็บข้อมูล
  • Database Architect – เป็นผู้ออกแบบระบบ Database ให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อองค์กรนั้น ๆ
  • Data Scientist – เป็นผู้ที่นำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าจะนำไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร

IT Consultant Group

สายที่ปรึกษา IT เป็นสายที่สำคัญที่องค์กรจะต้องใช้งาน อาจะมีภายในองค์กรเอง หรือ ใช้งานจากบริษัทที่รับทำด้านนี้โดยเฉพาะ

  • IT Consultant – ที่ปรึกษาทางด้าน IT ทั่วไปที่มีความรู้ค่อนข้างหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่อง  Network, System และ Security
  • ERP Consultant – ที่ปรึกษาทางด้านระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
  • CRM Consultant – ที่ปรึกษาทางด้านระบบ CRM (Customer Relationship Management)
  • IT Audit – ผู้ตรวจสอบไอที มีหน้าที่ตรวจสอบระบบของแต่ละองค์กรให้ได้ตามมาตรฐานสากล

ความจริงแล้วยังมีอีกมากมายที่ผู้เขียนอาจจะเขียนไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด  หากท่านใดทำอาชีพที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่ไว้ทางด้านบน  ก็สามารถให้คำแนะนำลักษณะการทำงานของตัวท่านเองได้ ให้ไว้เป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจ หรือ เด็ก ๆ  รุ่นใหม่ ที่มีโอกาสได้เข้ามาอ่านครับ ได้ทาง Comment นะครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้  ณ ที่นี้ครับ

— Cloud HM