5 การใช้งาน Generative AI เพื่อพัฒนาความปลอดภัยในธุรกิจ

Generative AI เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ที่ว่ากันว่าจะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้ แต่แท้จริงแล้วข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร? เราจะพาไปหาคำตอบกันว่า Generative AI มีคุณสมบัติที่สามารถช่วยเหลือองค์กรในด้านใดบ้าง และจะมีความท้าทายใดหากมีการนำ AI เข้ามาปรับใช้ในองค์กรระยะยาว ติดตามได้เลย

Generative AI คืออะไร?

Generative AI คือเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างสิ่งใหม่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และอื่น ๆ อีกมากมายได้ โดยอาศัยการเรียนรู้จากข้อมูลที่ใช้ฝึกฝน AI โดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่รวมถึงรูปภาพ ข้อความ หรือเสียง จากนั้น Generative AI จะเรียนรู้รูปแบบและโครงสร้างของข้อมูลตั้งต้น แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างข้อมูลใหม่ที่มีรูปแบบและโครงสร้างคล้ายกับข้อมูลต้นทาง จึงถูกนำมาใช้งานในหลากหลายรูปแบบ และหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเชิงความคิดสร้างสรรค์ เชิงความรู้ และการสร้างระบบต่าง ๆ 

Generative AI ทำงานแทนมนุษย์ได้จริงหรือ?

เนื่องจาก Generative AI นั้นมีความสามารถหลายอย่างมาก อีกทั้งยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถเลียนแบบการทำงานของมนุษย์บางอย่างได้ จึงมีการคาดการณ์กันว่า ในอนาคต Generative AI อาจเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้ 100% แต่ในความเป็นจริงแล้ว AI จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะ Generative AI ยังขาดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ที่เทียบเท่ามนุษย์ รวมถึงยังไม่สามารถเข้าใจบริบทของมนุษย์ได้อย่างถ่องแท้ ทำให้ไม่สามารถนำ AI มาทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ   

ดังนั้น หน้าที่ของ Generative AI ในปัจจุบันจึงเป็นการช่วยอำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับมนุษย์เท่านั้น 

การนำ Generative AI มาใช้พัฒนาธุรกิจ และตัวอย่างเครื่องมือ AI ที่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ   

1. สนับสนุนการ Coding และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 

การใช้เครื่องมือ Generative AI มาพัฒนาธุรกิจนั้นสามารถทำได้หลายด้านด้วยกัน แต่หนึ่งในการนำมาใช้ที่พบได้มาก และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพก็คือ การนำมาสนับสนุนด้านการเขียนโค้ด รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเครื่องมือ Generative AI จะช่วยสนับสนุนการเขียนโค้ดในด้านเหล่านี้

  • ช่วยสร้างโค้ดพื้นฐาน เช่น การเริ่มต้นสร้างโครงการใหม่ การเขียนฟังก์ชันพื้นฐาน การเขียนลูป การเขียนเงื่อนไข
  • ช่วยสร้างโค้ดที่ซับซ้อน เช่น การเขียนแอปพลิเคชัน การเขียนโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ IoT การเขียนโปรแกรมสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
  • ช่วยค้นหาและแก้ไขโค้ดที่ผิดพลาดหรือทำงานไม่ถูกต้องได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานของโปรแกรม และระบบต่าง ๆ ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยสร้างเอกสารประกอบได้อย่างรวดเร็ว เพื่ออธิบายรายละเอียดของโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ หรือขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

ตัวอย่างเครื่องมือ Generative AI ที่ใช้ในการสนับสนุนการเขียนโค้ดมีอยู่หลายเครื่องมือด้วยกัน เช่น Githup, Copilot, AWS codeWhisperer, และ OpenAI Codex

2. วิเคราะห์ข้อมูล และคาดการณ์เกี่ยวกับการทำการตลาด

อีกหนึ่งประโยชน์ของ Generative AI ต่อการพัฒนาธุรกิจก็คือการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดเพื่อช่วยให้ตัดสินใจและปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีวิจารณญาณบนพื้นฐานของข้อมูล และสถิติ ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือ AI เพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ เช่น

  • วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เช่น วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลาจากข้อมูลการขาย รวมถึงพฤติกรรมการซื้อซ้ำ พฤติกรรมการบอกต่อ อีกทั้งยังสามารถใช้วิเคราะห์ความชื่นชอบสินค้าในแต่ละประเภทจากการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย
  • สร้างโมเดลทำนายแนวโน้มตลาดในอนาคตจากข้อมูล เช่น การทำนายยอดขายสินค้าแต่ละประเภท ไปจนถึงการทำนายความต้องการของผู้ซื้อในแต่ละเทศกาล เพื่อจัดสต๊อกสินค้าได้อย่างเพียงพอ
  • สร้างเนื้อหาการตลาด ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดียวของกลุ่มลูกค้า เพื่อหาแนวทางการสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
  • วัดผลประสิทธิภาพแคมเปญการตลาด และเสนอแนวทางแก้ไข โดยสามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลยอดขาย ข้อมูลการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ เพื่อวัดประสิทธิภาพของการทำโฆษณา และช่องทางการตลาดได้

เครื่องมือ Generative AI อย่าง GPT-3 และ GPT-4 จาก OpenAI สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้ เพียงแค่ป้อนข้อมูลที่จำเป็นลงไป และป้อนคำสั่งที่ต้องการ

3. ปรับปรุงกระบวนการจัดการธุรกิจ

นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดแล้ว Generative AI ยังมีประโยชน์ในการปรับปรุงการบริหารจัดการธุรกิจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า การจัดการคลังสินค้า และทำนายความเสี่ยงทางธุรกิจต่าง ๆ โดยสามารถใช้เครื่องมือ Generative AI เพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ เช่น

  • ทำนายความต้องการของสต๊อกสินค้า ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลสินค้าคงคลัง ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลการแข่งขัน เป็นต้น เพื่อคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภค ว่าสินค้าแบบไหนจะมียอดขายเพิ่มขึ้น หรือสินค้าประเภทใดที่ยอดขายจะลดลง
  • สร้างระบบปรับปรุงกระบวนการจัดการคลังสินค้า โดยการวางแผนการขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้า เพื่อช่วยลดต้นทุน พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงยังสามารถช่วยปรับปรุงความแม่นยำของกระบวนการจัดการคลังสินค้าได้อีกด้วย 
  • วางแผนเพื่อเพิ่มความกระชับของการบริการจัดการทางธุรกิจ สามารถช่วยในการวางแผนการจัดเก็บและขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแม่นยำ ลดความผิดพลาดในการหยุดชะงักของการขาย ทำให้สามารถกระจายสินค้าได้อย่างราบรื่น ไปจนถึงช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน

เครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายอย่าง Chat GPT จาก OpenAI สามารถช่วยแนะนำแนวทางปรับปรุงการจัดการคลังสินค้า และลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือ Prophet ในการทำนายแนวโน้มของสต๊อกสินค้าได้อีกด้วย 

4. สร้างเนื้อหาต่าง ๆ เพื่อโปรโมตธุรกิจ เช่น บทความ และโพสต์โซเชียลมีเดีย

 อีกหนึ่งความสามารถของ Generative AI ที่ใช้ส่งเสริมธุรกิจได้ก็คือ การใช้เครื่องมือ AI ประเภทโมเดลภาษามาช่วยลดเวลา เพิ่มความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพในการสร้างเนื้อหาเพื่อการตลาด เช่น

  • สร้างเนื้อหา และคำบรรยายสำหรับโพสต์โซเชียลมีเดียของธุรกิจให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจ เช่น เนื้อหาที่เข้าใจง่าย เนื้อหาที่กระตุ้นอารมณ์ เป็นต้น โดยวิเคราะห์จากข้อมูลสินค้าหรือบริการ รวมถึงข้อมูลของลูกค้า และการแข่งขันในตลาด 
  • สร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ของธุรกิจเพื่อดึงดูด และให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ โดยการวิเคราะห์ เรียบเรียงข้อมูลสินค้าและธุรกิจ เพื่อสื่อสารออกไปอย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย รวมถึงตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
  • สร้างไอเดียสำหรับเนื้อหาเพื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์หรือสำหรับใช้ในสื่อโซเชียลมีเดีย โดยวิเคราะห์จากเทรนด์ในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับข้อมูลสินค้า ข้อมูลความชอบ และความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ได้หัวข้อบทความที่จะดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องมือ AI ที่สามารถช่วยเสนอไอเดียในการสร้างเนื้อหา อย่าง GPT-3, GPT-4 จาก OpenAI และ Bard จาก Google
  • สร้างภาพกราฟฟิกประกอบโพสโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ โลโก้ และไอคอนต่าง ๆ ด้วยการป้อนคำสั่ง และข้อมูลที่ต้องการลงในเครื่องมือสร้างภาพประกอบ และโลโก้ต่าง ๆ อย่างเช่น Dall-E, Artbreeder, Looka, Bing Image Creator,  Canva’s AI Image,  Canva Magic Design, Stable Diffusion และอื่น ๆ 

จะเห็นได้ว่าการนำ Generative AI มาใช้ในการส่งเสริมธุรกิจนั้นทำได้หลายด้าน รวมถึงการพัฒนาความปลอดภัยของระบบคลาวด์ให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ Generative AI ที่พัฒนาโดยผู้ให้บริการเครื่องมือ และโซลูชันต่าง ๆ บนระบบคลาวด์ ที่ได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจชั้นนำทั่วโลกอย่าง Amazon Web Services 

หากสนใจใช้บริการเครื่องมือ Generative AI ผ่านชุดเครื่องมือของ AWS สามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์ และผู้ให้บริการ AWS ในไทยที่เป็นพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางการอย่าง Cloud HM ได้เลย

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Generative AI คืออะไร? รู้จักกับ Generative AI ทั้ง 7 หมวดหมู่. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จาก https://contentshifu.com/blog/generative-ai 
  2. Generative AI คืออะไร มีกี่ประเภท โดดเด่นแค่ไหน ใช้ทำอะไรได้บ้าง [ดูคำตอบ]. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จาก https://nerdoptimize.com/generative-ai/ 
  3. 5 ประโยชน์ของระบบ AI กับการประยุกต์ใช้ในธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จาก https://katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/5-benefits-of-ai-system-for-business.html 
  4. 10 สุดยอดเครื่องมือสร้างโค้ด AI (พฤศจิกายน 2023). สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จาก https://www.unite.ai/th/เครื่องกำเนิดรหัส-ai-ที่ดีที่สุด/ 

— Cloud HM