[Update] เลือกซื้อ SERVER อย่างไร ให้คุ้มค่า คุ้มราคา!

6,409
6,409

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้จะมาแนะนำการเลือกซื้อ Server ไว้ใช้งานกันภายในองค์กรนะครับ คำถามที่มือใหม่ IT หลาย ๆ ท่านสงสัยในใจว่าเราจะซื้อ Server แบบไหนดี ถึงจะคุ้มค่า Blog นี้ผมจะมาแนะนำให้นะครับ มาเริ่มกันได้เลยครับ

เริ่มกันนิยามของ Server กันก่อนเลยนะครับ

Server คืออะไร?

Server คือคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถที่มากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Laptop ทั่ว ๆ ไป เหมาะสำหรับที่จะนำไปใช้เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่อยู่ภายในโครงข่ายเดียวกัน 

Server ถูกทำมาให้รองรับ Workload ที่มาก เหมาะสำหรับติดตั้ง Application ได้หลากหลาย และเพิ่มการทำงานให้ง่ายขึ้น และยังช่วยลด Downtime อีกด้วย เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ทำงานได้หนักได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน แตกต่างจาก PC หรือ Laptop ทั่ว ๆ ไป

Server ยังมีการทำเป็นลักษณะเครื่องมือสำหรับการจัดการด้วย Remote หมายความว่า เจ้าหน้าที่ IT สามารถตรวจสอบ Usage และเช็คปัญหาได้จากสถานที่อื่น เป็นต้น

แล้วเมื่อไหร่ถึงจะรู้ว่าต้องใช้ Server?

  1. บริษัทของคุณใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องรึเปล่า? -> ถ้าคุณมี Server จะช่วยให้จัดการไฟล์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มีความเป็นส่วนกลางมากขึ้น
  2. พนักงานในองค์กรมีการทำงานนอกสถานที่หรือไม่? -> ถ้าคุณมีพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่, เดินทางบ่อย หรือทำงานที่บ้าน แน่นอนเลยล่ะว่าบริษัทคุณต้องมี Server เพื่อที่จะให้พนักงานสามารถ Remote เข้ามาค้นหาข้อมูลได้ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
  3. พนักงานมีการใช้งานไฟล์งานร่วมกันหรือไม่? -> ปฏิเสธไม่ได้แน่นอนไม่ว่าจะยุคไหน ๆ งานเอกสารมีความสำคัญอยู่เสมอ หากคุณเก็บไฟล์งานไว้ที่คอมพิวเตอร์ของคุณเองก็มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหาย Server จะเป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลสำคัญขององค์กรที่พนักงานจะสามารถเข้ามาใช้ได้
  4. ถ้าไฟล์สำคัญของคุณหาย หรือถูกลบไฟล์ คุณมีสำรองหรือไม่? -> Server สามารถช่วยป้องกันไฟล์สูญหาย หรือไฟล์พังได้ด้วย Backup Server ซึ่งสำรองข้อมูลของคุณ ป้องกันกรณี Server เสียหาย หรือถูกขโมย
  5. คุณอยากทำเว็บไซด์แต่ไม่รู้จะเอาไปฝากไว้ที่ไหน? -> Server ช่วยให้คุณจัดการ และพัฒนาเว็บไซด์ของคุณได้ง่าย เนื่องจากสามารถ Run ได้  24/7 แตกต่างจาก PC

ทำไมต้องใช้ Server?

  1. ถ้าพนักงานในบริษัทคุณมีการใช้งาน Software ร่วมกัน แน่นอนว่ามี Software แล้วก็ต้องมีการใช้งาน Database แทนที่จะติดตั้ง Software และ Database ไว้ที่คอมพิวเตอร์ของพนักงานคนใดคนนึง สู้ซื้อ Server มาติดตั้ง Application และ Database ให้ทุกคนเข้าใช้งานได้พร้อม ๆ กันดีกว่า และ Workload ก็จะอยู่แค่ที่ Server เท่านั้น 
  2. Server เปรียบเสมือนของส่วนกลางของบริษัท ฉะนั้นการเก็บข้อมูลลับ เช่น ข้อมูลทางการเงิน ควรจะไม่เก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่ง โดยเราสามารถป้องกันการเข้าถึง Server ด้วยการหา Anti-Virus และตั้งค่า Firewall ในการเข้าถึง Server รวมไปถึงการกำหนดสิทธิ์ให้แก่พนักงานที่สามารถจะเข้ามาดูข้อมูลได้

Server ชนิดไหนที่เหมาะกับคุณ?

Server ที่คุณต้องการขึ้นอยู่กับจำนวน และชนิดของ Application ที่คุณจะใช้งาน คุณต้องรู้ก่อนว่ามีพนักงานใช้งานมากแค่ไหน ตัวอย่างการใช้งาน Application ทั่ว ๆ ไป  เช่น Printer, File sharing พวก Word, Excel การใช้งานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ Server ที่มีความสามารถสูง สามารถเลือกใช้ Server ที่มีราคาถูกได้ ตัวอย่างอีกแบบสำหรับ Application ที่มีการใช้งานหนัก เช่น Database, ที่เก็บรูปภาพขนาดใหญ่ การใช้งานแบบนี้จะใช้การประมวลผลมากกว่า และต้องการ Hard disk ที่เร็ว และความสามารถในการส่งข้อมูลผ่าน Network ก็ต้องเร็วเช่นกัน

วิธีการเลือก Server

  1. ชนิดของ Server มี 3 แบบคือ
    • Tower Server – เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไปในตลาด ราคาพอ ๆ กับ Desktop PC ทั่วไป เหมาะสำหรับใช้งานสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก คุณสามารถเลือกจำนวนของ Hard drive และ Processor ที่ต้องการได้ เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีพนักงานน้อยกว่า 25 คนSpec ที่เหมาะสม
      * 1 Processor 2-4 Hard drive
      ถ้ามีมากกว่า 25 คน และมีแผนที่จะใช้งาน Application มากขึ้น สามารถเขยิบเป็น
      Spec ที่เหมาะสม
      * 2 Processor 4-6 Hard drive
      ตัวอย่างของ Brand Dell ได้แก่ T130, T140, T30, T330, T340, T40, T430, T440,  T630 และ T640 สังเกตได้จากคำว่า T ย่อมาจาก Tower นั่นเอง
    • Rack Server – ลักษณะของ Server จะคล้าย ๆ กับ ช่องใส่แผ่น CD ครับ Server  ชนิดว่าจะช่วย Save พื้นที่ในการติดตั้งบน Rack เหมาะสำหรับบริษัทที่อาจจะมีการเพิ่ม  Space ในภายหลัง, ต้องการความยืดหยุ่นในการหา Server มาใช้กับ Application  ที่เหมาะสม แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือ ต้องมี Storage ภายใน ServerSpec ที่เหมาะสม
      ไม่มีเนื่องจากสามารถ Scale ได้ แต่จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดกลาง
      ตัวอย่างของ Brand Dell ได้แก่ Dell ตระกูล R ทั้งหลาย และตระกูล C ไม่ว่าจะเป็น  C4130, C6525, R230, R240, R330, R340, R430, R440, R540, R630, R640,  R6415, R6515, R6525, R730, R730xd และอื่น ๆ
    • Chassis & Blade Server – Chassis Server เป็น Server ที่ทำมาเป็นลักษณะคล้าย ๆ กล่องที่มีช่องเสียบ Server ย่อย ๆ ซึ่ง Server ย่อย ๆ ที่ว่าเรียกว่า Blade Server มีลักษณะคล้าย ๆ ดาบ สามารถเสียบเข้าไปในช่องของ Chassis Server ได้ประโยชน์ของ Server ชนิดนี้คือ ใช้พื้นที่น้อยในการติดตั้งอุปกรณ์ สามารถใช้ไฟฟ้าร่วมกันได้ เนื่องจากขนาดที่เล็ก ทำให้ประหยัดพื้นที่ สิ่งที่จะได้เมื่อใช้ Blade Server คือ
      – การประมวลผลที่เร็วขึ้นเนื่องจากมี Server มากขึ้น
      – ใช้พื้นที่น้อย เนื่องจากขนาด Server เล็ก
      – ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย เพราะ สามารถนำมามัดรวมกันแล้วใช้ Power Supply จาก Chassis Server ได้
      – ใช้เวลาน้อย และใช้เงินในการบริหารไม่มาก

      Blade Server เหมาะสำหรับธุรกิจที่ค่อนข้างใหญ่ระดับ Enterprise ที่มีการใช้งาน Workload ที่สูง หรือ ธุรกิจทีมีแผนที่จะพัฒนาเป็น Data Center ครับ
      ตัวอย่างของ Brand Dell ได้แก่
      ตระกูล FC: FC640, FC830
      ตระกูล M: M640, M830
      ตระกูล C บางตัว: C6320p, C6525

  2. Hardware Configuration Server ใช้สถาปัตยกรรมพื้นฐานเหมือนกับ Desktop PC แต่ความสามารถที่ Server ทำได้มีดังนี้
    – สามารถมีได้หลาย Core ใน Processor
    – มี Option ในการเพิ่ม Memory เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของ Application
    – สามารถเพิ่ม Hard Drive ได้ไว้รองรับสำหรับพื้นที่ทีมีมากขึ้น
    – สามารถเลือก Network Card ได้

    System board – หรือเรียกกันว่า Motherboard เป็น Main Circuit ที่ทุกส่วนของ Server คุณต้องเชื่อมต่อภายใน System board จะมีส่วนสำคัญหลัก ๆ ที่ต้องคำนึงถึงคือ Processor หรือ CPU,  Memory, Hard drive controller และช่องสำหรับ Input/Output เช่น Mouse,  keyboard บาง Broad จะมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ Graphic, SCSI disk controller หรือ Network Interface

    Processor – เป็นส่วนที่เปรียบได้เหมือนสมองของ Server ความเร็ว และจำนวนของ  Processor มีผลต่อความสามารถของ Server และการใช้งาน Application โดยผู้ผลิตจะมีการพัฒนาอยู่ตลอดทำให้ค่อนข้างที่จะเลือกมาใช้งานยากว่าชนิดไหนจะเหมาะสำหรับ Application ของคุณ สิ่งที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือก Processor มีอยู่ 3 อย่าง หลัก ๆ คือ

    1. Clock Speeds – คือความเร็วที่ Processor สามารถทำได้ โดยปกติจะใช้หน่วยเป็น GHz (กิกะเฮริต) ยิ่ง Server มี Clock speed ที่สูง ประสิทธิภาพก็จะสูงตาม
    2. Core Count – จำนวนของ Physical processor ที่อยู่ภายใน Processor อีกทีนึง Server โดยส่วนใหญ่ จะมี CPU ประมาณ 2 – 4 Core ต่อ Processor จำนวน Core ยิ่งมากยิ่งดีต่อการทำงานหลาย ๆ Task พร้อมกัน เช่น การสเกนไวรัสทำงานอยู่ที่ Core นึง  และ Backup ข้อมูลทำงานอยู่อีก Core นึง
    3. Cache size – ในแต่ละ Processor จะมี Memory อยู่ใกล้ ๆ กับ CPU ถ้าจำนวนของ Cache size มาก จะช่วยแบ่งเบาการรับข้อมูลมาประมวลผลของ CPU ทำให้ CPU ทำหน้าที่ประมวลผลได้ดีขึ้น

Memory – เวลาคุณเปิดไฟล์ หรือเอกสารต่าง ๆ Server จะต้องหาสถานที่ที่เก็บข้อมูลของไฟล์ชั่วคราวในการประมวลผล โดยใช้ Chip พิเศษ เรียกว่า Random-access-memory หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ RAM การทำงานของมันคือ ไฟล์จริงจะอยู่ Save เก็บไว้ใน HDD ก็ต่อเมื่อคุณกด “Save”

RAM – ถูกออกแบบมาให้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว โดยการจำ Location ของไฟล์นั้นว่าถูก Save ไว้ที่ใด หลักการในการเลือก RAM คือ เพิ่มให้มากที่สุดเท่าที่จะเพิ่มได้ ยิ่งมีมากเท่าไหร่ Server คุณจะสามารถรองรับ Workload ได้มากขึ้น

Storage – หรือระบบ Hard Drive – Hard Drive เปรียบเสมือนโกดังเก็บของของคุณ ยิ่งคุณมี Hard disk ที่มีพื้นที่มาก แปลว่าคุณสามารถเก็บข้อมูลของคุณได้มาก ฉะนั้นการเลือกใช้ Storage และ Hard drive ให้คำนึงถึงความจุที่คุณต้องการจะใช้ครับ

Internal Storage – Server จะมาพร้อมกับ Storage ที่เรียกว่า Internal Storage เพื่อให้สามารถใช้งาน Server ได้ทันที แต่ถ้าคุณต้องการที่จะใช้พื้นที่เพิ่ม คุณสามารถหา Storage หรือ Hard Drive มาเติมได้

RAID – Redundant Array of Independent Disks เป็นกระบวนการที่นำเอา Hard Drive จำนวน 2 ตัวขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเปรียบเสมือนเป็น Hard Drive ตัวเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และทำเพื่อป้องกันโอกาสที่จะสูญเสียข้อมูล โดยมีการทำหลากหลายรูปแบบ เช่น RAID 0, RAID 1, RAID 5, RAID 10 ซึ่งการทำ RAID แต่ละแบบก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะนำไปใช้อย่างไร วิธีการเลือกซื้อ Storage ก็ควรคำนึงถึง RAID ที่จะทำด้วยเช่นกันครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอจะได้ไอเดียคร่าว ๆ ในการเลือกซื้อ Server กันมั้ยครับ ถ้าใครมีคำถามสามารถ Comment เพิ่มเติมได้นะครับ หากต้องการให้เขียนเรื่องใด สามารถ Request เข้ามาได้นะครับ

ทางผู้เขียนพร้อมแชร์ไอเดียดี ๆ ให้ได้เรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ

— Cloud HM