Cloud จะช่วยให้จัดการระบบในโรงงานอุตสาหกรรมได้ดีขึ้นอย่างไร?

Credit: IBM

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน อากาศร้อน ๆ แบบนี้ถ้าไม่มีอะไรทำก็มาอ่านบทความของ Cloud HM กันไปนะครับ น่าจะช่วยให้ผ่อนคลายได้มากขึ้น (หรือเครียดกว่าเดิมหว่า ฮ่า ๆ// ล้อเล่นครับ) ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาเล่าถึงการประยุกต์ใช้ Cloud ให้กับผู้อ่านได้อ่านกันอีกบทความหนึ่ง ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้เข้ากับระบบของโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาเครื่องจักรในการดำเนินไลน์การผลิตครับ โดยเราจะมาดูกันครับว่าการประยุกต์ใช้คลาวด์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการะบบของโรงงานนั้นจะทำได้อย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่า (คิดไปเองคนเดียวหรือเปล่า ฮ่า ๆ) ว่าผู้อ่านบทความของ Cloud HM นั้น ไม่มากก็น้อยก็ต่างเป็นเจ้าของโรงงานที่อยากจะเรียนรู้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้กับโรงงานหรือธุรกิจของตัวเอง

ก่อนอื่นเรามาดูนิยามของคำว่าระบบโรงงาน (Manufactory หรือ Factory System) กันก่อน

โรงงานนั้นจริง ๆ ก็คือเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่มีการออกแบบเป็นระบบของการทำงานหลาย ๆ ส่วนเข้าด้วยกันเพื่อผลิตวัดสุหรือสินค้าที่เราต้องการ โดยระบบโรงงาน ก็คือ ขั้นตอนในการวางแบบแผนรวมถึงวิธีดำเนินงานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมในการขั้นตอนผลิต (Manufacturing) ซึ่งเป็นระบบที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแทนที่ระบบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนแบบดั้งเดิมที่จะมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งระบบโรงงานนั้นก็เริ่มมาจากการที่เรานำเครื่องจักรต่าง เข้ามาช่วยในการอำนวยความสะดวกสำหรับการลดภาระของมนุษย์ เพราะว่าขั้นตอนที่มีการดำเนินไปแบบซ้ำ ๆ นั้น เราสามาถใช้เครื่องจักรมาดำเนินการแทนเราได้นั่นเอง โดยขนาดของระบบโรงงานนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักร ยิ่งมีขนาดใหญ่ ระบบโรงงานก็จะใหญ่ตามไปด้วย แล้วก็ยิ่งมีจำนวนเครื่องจักรเยอะ การบริการจัดการระบบของโรงงานก็จะเยอะตามไปด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของระบบโรงงานอย่างเช่นโรงงานผลิตวัสดุหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ วัสดุภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องใช้ทั่วไป

ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานี้เองที่พลิกโฉมรูปแบบการทำงานของระบบโรงงานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีไอทีที่เข้ามาสู่ในช่วงยุคที่ Internet และ Artificial Intelligence (AI) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยยิ่งยุคสมัยนั้นมีความเปลี่ยนแปลงที่เร็วไปเท่าไหร่ รูปแบบการทำงาน การควบคุมคุณภาพการผลิต รวมไปถึงการออกแบบนวัตกรรมใหม่ ๆ นั้นก็ยิ่งทำได้มากขึ้นและอิสระมากขึ้นเท่านั้น เรามาดูการทำงานของระบบโรงงานกันครับ

เรามาดูส่วนประกอบของระบบโรงงานที่โรงงานใหญ่ ๆ ในปัจจุบันมักจะมีกัน ดังต่อไปนี้ครับ

  • เครื่องจักร/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • บุคลากร/พนักงาน
  • ระบบหลังบ้าน
  • การควบคุมระบบ

ในส่วนของระบบหน้าบ้านของโรงงานนั้น เราจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องจักรอยู่ดี เพราะว่าเริ่มตั้งแต่ประบวนการนำ Starting Materials หรือวัสดุเริ่มต้นหรือวัตถุดิบหลักเข้าสู่กระบวนการแปรรูปแล้วเปลี่ยนมาให้เป็นผลิตภัณฑ์ตามที่เราต้องการ แต่สิ่งที่ Cloud หรือ Internet of Things (IoT) จะเข้ามาช่วยก็คือในส่วนของระบบหลังบ้านที่จะทำการเชื่อมต่อหน่วยย่อย ๆ และเครื่องจักรทุกตัวรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเข้ากับ Server ของเรา

Credit: ResearchGate

อุปสรรคในการวางระบบโรงงาน

จริงอุปสรรคในระบบโรงงานนั้นมีเยอะมาก โดยหนึ่งในนั้นก็คือการบริการระบบจากฝ่ายควบคุมด้านบนที่อาจขาดความรอบคอบหรือความตระหนักและให้ความสำคัญต่อระบบโรงงานหรือระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการสื่อสารกันระหว่างพนักงานภายในระบบโรงงาน นี่จึงเป็นอีกสาเหตุที่เราให้การทำงานร่วมกันนั้นล่าช้าได้

นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคหรือปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศอีกด้วย ซึ่งการที่เราไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอจะทำให้การส่งข้อมูลผ่านระบบหรือการทำงานผ่านเครือข่ายหลักของเรานั้นสะดุดและติดขัด กลายเป็นว่ามันเป็นการขัดขวางการทำงานของระบบทั้งหมดของเรา

สิ่งสุดท้ายที่เป็นปัจจัยสำคัญในการวางระบบโรงงานก็คือการเลือกใช้ระบบที่ไม่เหมาะสมและขาดประสิทธิภาพ สำหรับการวางแผนการออกแบบระบบบของโรงงานนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดของโรงงาน ระยะเวลาและแผนในอนาคตที่จะดำเนินการทั้งสั้นและยาว การขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างหรือออกแบบสถาปัตยกรรมนั้นก็อาจจะให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังและไม่สามารถแก้ไขได้ ก็เปรียบเสมือนกับการวางผังเมือง ถ้าหากว่าเมืองไหนที่มีผังเมืองแย่ ก็จะส่งผลให้การคมนาคมหรือการจราจรในเมืองนั้นติดขัด และส่งผลให้เกิดความล่าช้าหรือส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ตามมานั่นเอง

ประโยชน์ของโรงงานยุคใหม่ที่มีการนำ Cloud มาประยุกต์ใช้เข้ากับระบบ

1. เพิ่มคุณภาพ

บริษัทที่มีการนำ Cloud มาใช้นั้นจะมีการรวบรวมข้อมูลที่มาจากกระบวรการต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แล้วก็ยังรวมไปถึงข้อมูลที่มาจากปัญหาที่พบได้ทั่วไป เช่น แหล่งข้อมูลที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ข้อมูลที่ถูกละทิ้งหรือไม่ต้องการแล้ว และปัญหาด้านการเป็นเจ้าของซึ่งทำให้การระบุข้อมูลเชิงลึกกลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเราจึงต้องมีการใช้ Data Lake เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ต่างกันสิ้นเชิงที่กล่าวไปข้างต้นนั้น พร้อมทั้งการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ด้วย เช่น Greengrass, Machine Learning และ AI เพื่อมอบความสามารถในการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ที่คาดการณ์ได้. 

2. ลดการหยุดทำงาน

การควบคุมเครื่องจักรให้ดำเนินไปได้เรื่อย ๆ นั้นมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก กรณีที่เราใช้หุ่นยนต์มาควบคุมเครื่องจักรอีกทีนั้นจะช่วยลดปัญหาในการหยุดการทำงานได้ โดยจะเป็นการเพิ่มคุณภาพของระบบทั้งหมดของโรงงาน และยังสามารถเพิ่มเวลาทำงานของเครื่องจักรได้เช่นกัน และลดการทำงานหรือความเหนื่อยล้าของพนักงานได้อีกด้วย การรวมข้อมูลเครื่องจักรในโรงเก็บจากทุกสายการผลิตและโรงงานใน Data Lake เดียวกันและการใช้ประโยชน์จาก Greengrass, Machine Learning และ AI นั้น จะทำให้ระบบของโรงงานของเราถูกจัดการและสอดส่องดูแลแบบ Real-time ตลอดเวลาครับ

3. ความปลอดภัยที่เหนือชั้น

แน่นอนว่าอีกหนึ่งสิ่งที่เรามองข้ามไปไม่ได้นั่นก็คือความปลอดภัยของระบบ Cloud ที่ AWS มีความสำคัญสูงสุด โดย AWS นั้นการันตีให้กับลูกค้าทุกคนว่าจะได้รับประโยชน์จากระบบความปลอดภัยที่มากที่สุด โดยอย่างน้อย ๆ ก็คือ AWS จะทำตามเงื่อนไขของแพคเกจที่ทางลูกค้าได้ซื้อไว้ โดยในช่วงที่ผ่านมานี้มีการโจมตีโครงสร้างพื้นฐาน IoT รวมไปถึงการคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลก็ดี หรือการแอบเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลก็ดี สิ่งเหล่านี้คือศัตรูตัวฉกาจของธุรกิจทุกรูปแบบ ดังนั้นการใช้ประโยชน์จาก S3 และบริการพื้นที่จัดเก็บอื่นๆ ใน AWS Cloud ก็เป็นอีกหยึ่งสิ่งที่จะมาช่วยเราไม่ให้เจอกับปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลอีกต่อไป

Credit: normagroup

สำหรับตัวอย่างของบริษัทที่มีการนำ Cloud เข้ามาใช้อย่างจริงจังนั้นก็มีหลายบริษัทด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นก็คือโรงงานของ Western Digital (WD) ที่สามารถลดจำนวน Supplier หรือผู้จัดการวัตถุดิบได้อย่างมหาศาล โดยทาง WD ได้มีการนำ Cloud เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประเมินการเลือก Supplier ที่มีคุณภาพเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการดูจากเกณฑ์ที่ทาง WD กำหนดขึ้นมา เช่น ความล่าช้าหรือการตรงต่อเวลาในการส่งของ คุณภาพของสินค้า ราคาของสินค้า การรับประกัน ระบบหลังบ้านของ Supplier รวมไปถึงการสอดประสานกันระหว่างของเทคโนโลยีระหว่าง WD กับ Supplier         นอกจากนี้ ภาคการผลิตหลายแห่งได้พัฒนา IoT  ที่เป็น Software ของตัวเอง เข้ามาช่วยในส่วนของการดำเนินการผลิต เข้ามาช่วยในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร และการตรวจเช็คหรือติดตามการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานทุกตัว

เพื่อให้เห็นภาพมากกว่านี้ ผู้เขียนบทความจะอธิบายทิ้งท้ายตามนี้ว่า เราสามารถ ช่วยเรื่องมอนิเตอร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ช่วยจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็วให้กับลูกค้าในโรงงานได้ และยังช่วยในส่วนของการตัดสินใจ เรายังได้มีการนำเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น 5G เข้ามาใช้งานควบคู่ไปกับ IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารและการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมาที่สุด นั่นก็คือ ความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลต้องเร็วที่สุดและลื่นไหล ไม่มีการสะดุด เพราะถ้าหากมีปัญหาเพียงจุดใดจุดหนึ่งแล้ว ย่อมจะส่งผลไปยังหน่วยย่อยอื่น ๆ ของระบบในโรงงานได้ และอาจจะนำมาซึ่งการหยุดชะงักของไลน์การผลิต รวมไปถึงการสั่งปิดระบบทั้งหมดของโรงงาน (ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด)

อ่านมาจนถึงจุดนี้แล้วถ้าหากผู้อ่านมีความสนใจในบริการของ AWS โดยเฉพาะการนำระบบ AWS Cloud เข้าไปช่วยแก้ปัญหรือจัดการกับระบบของโรงงานก็ติดต่อมายัง Cloud HM ได้โดยตรงเลยครับ เพราะเรามีการให้บริการ Cloud Platform ครบวงจร ทั้ง Domestic Cloud และ Global Cloud เพื่อตอบสนองความต้องการรอบด้านของลูกค้าครับ

— Cloud HM