แน่นอนว่าทุกคนอยากใช้ Cloud แต่ว่าเราจะเลือกผู้ให้บริการเจ้าไหนดีล่ะ บางเจ้าก็มีค่าบริการที่สูงเกินไป บางเจ้าก็ราคาถูกเสียจนน่าตกใจ แล้วคุณภาพของผู้ให้บริการล่ะ เราจะตัดสินจากอะไรดี ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาไขข้อข้อใจให้กับผู้อ่านทุกท่านครับ ซึ่งก่อนเข้าบทความนั้น ขอสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจตรงกัน ณ จุด ๆ นี้ก่อนว่า Cloud หรือ Cloud Computing คือ ระบบที่ช่วยให้การใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบประมวลผลข้อมูล ระบบการเก็บข้อมูล การติดตั้งฐานข้อมูล หรือระบบภายในให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดของระบบ เช่น หน่วยประมวลผลหรือพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้ตามการใช้งานจริง ยืดหยุ่นได้ทุกเวลา คล่องตัว ช่วยลดต้นทุนธุรกิจและรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต ซึ่งทุกวันนี้ Cloud ก็ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมหาศาลล้านแปดในการเป็นตัวช่วยสำคัญที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและภาครัฐบาล ทำให้มีผู้สนใจนำ Cloud เข้ามาประยุกต์กับงานของตัวเองอย่างวงกว้างครับ ซึ่ง Cloud ยังเหมาะสมและปรับตัวเข้ากันกับได้ดีกับการเติมโตของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุก ๆ วันได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย
Credit: Thymos cloud engineer
เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า Cloud ประเภทไหนที่เราจะต้องใช้เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจหรือประเภทของการบริการของเรามากที่สุด
1. Private Cloud
Cloud ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ สถาบันการเงิน หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับข้อมูล โดยบริการ Cloud ประเภทนี้จะมีความปลอดภัยเป็นพิเศษเพราะเป็นระบบแบบปิด ซึ่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานจะต้องระบุตัวตนก่อนการเข้าใช้งาน มีการรักษาความปลอดภัยหลายชั้น บางแห่งมีการอนุญาตให้เข้าใช้ได้โดยต้องผ่าน network แบบพิเศษเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท และเนื่องจากเป็นระบบส่วนตัวทำให้มีความเร็วมากกว่าระบบ Cloud ประเภทอื่น ๆ
2. Public Cloud
Cloud ประเภทนี้เหมาะกับทุกบริษัทหรือธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถใช้ได้ โดยสามารถเก็บข้อมูลภายในบริษัท และมีระบบที่พนักงานสามารถใช้ร่วมกันได้ ที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายไม่สูงมากจึงช่วยลดภาระที่ธุรกิจแบกรับไว้ เพราะเลือกได้ว่าจะใช้เป็นรายเดือนหรือรายปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานของธุรกิจนั้น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มหรือลดขนาดของ Cloud ได้ตามความต้องการ โดย Cloud ประเภทนี้จะเป็นการใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ผ่านผู้ให้บริการที่เป็นเจ้าของ Cloud ทั้งนี้ควรเลือกผู้ให้บริการ Cloud ที่สามารถไว้ใจได้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
3. Hybrid Cloud
Cloud ประเภทนี้คือเป็นการรวมข้อดีของ Cloud ทั้ง 2 ประเภทด้านบนเข้ามาผสมกัน นั่นก็คือรวมความปลอดภัยของข้อมูลจาก Private Cloud และความคล่อตัวและประหยัดค่าใช้จ่ายของ Public Cloud ทำให้ธุรกิจสามารถปรับการจัดเก็บข้อมูลได้ตามความต้องการ เช่น การเก็บข้อมูลทั่วไปไว้ใน Public Cloud และข้อมูลสำคัญไว้ใน Private Cloud เพื่อจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง เรียกได้ว่าบริการ Cloud Service ประเภทนี้มีความยืดหยุ่นสูงมาก
จะเห็นได้ว่าระบบ Cloud ทั้ง 3 ประเภทนี้มีความหลากหลาย แต่ละธุรกิจสามารถเลือกใช้ตามความต้องการได้
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นหรือปัจจัยที่ผู้อ่านหรือที่สนใจใช้งาน cloud ควรจะต้องนำมาพิจารณาในการเลือกผู้ให้บริการก่อนที่จะตัดสินใจ เพราะถ้าเลือกผิด ชีวิตเปลี่ยนได้เลยนะครับ!! โดยปัจจัยสำคัญที่ยกมาให้ดูกันในบทความนี้มี 6 ปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
1. ค่าใช้จ่าย
แน่นอนว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องเงิน นั่นก็คือค่าใช้จ่ายครับ ฮ่า ๆ ก็จริงนะครับ เพราะใครจะอยากไปใช้ cloud ที่แพง ๆ กัน ซึ่งถ้าเรามาใช้ cloud แล้ว ก็ต้อง balance ให้ดีด้วย ไม่ใช่ว่าเลือกที่ถูกที่สุด แต่คุณภาพแย่ ดังนั้นต้องให้ได้ทั้งถูกและดีครับ
2. ปรับได้ตามความต้องการ
Cloud service ของผู้ให้บริการแต่ละรายนั้นมีความยืดหยุ่น หรือ flexibility ที่ต่างกัน ซึ่งบางเจ้าก็สามารถปรับขนาดได้ตามการใช้งานในแต่ละช่วงเวลา หากช่วงใดมีการใช้งานมากก็สามารถปรับได้ทันที ถ้าหากว่ามีการเข้าใช้งานเป็นปริมาณมาก ๆ ก็อาจจะทำให้ service หรือ application ของเราล่มได้ นั่นย่อมส่งผลไม่ดีต่อธุรกิจของเราแน่ ๆ
3. ความเสถียรของ Cloud
บางธุรกิจที่มีการเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เอง แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างการถูกแฮกข้อมูล หรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งอาจทำให้ข้อมูลสูญหายได้ แต่หากมีการว่าจ้างบริษัทที่ให้บริการ Cloud จะทำให้ธุรกิจไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่เหนือการควบคุมเหล่านี้ เพราะมีระบบการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจได้มาก
รวมไปถึงว่าถ้าผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ ๆ ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมาก เพราะว่าธุรกิจอื่น ๆ ก็เลือกใช้ผู้บริการที่น่าเชื่อถือด้วย
4. ความสะดวกในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ธุรกิจจะราบรื่น คล่องตัวมากขึ้น เพราะระบบ Cloud Service จะช่วยอำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา และทำงานพร้อมกันได้อย่างราบรื่น
5. การบริการและแหล่งข้อมูลสำหรับศึกษา Cloud
รวมไปถึง community ด้วย ดังนั้นยิ่งเลือกผู้ให้บริการที่เป็นแบบยักษย์ใหญ่ ข้อดีคือมี แหล่งข้อมูลเยอะ มีผู้ใช้งานเยอะและถ้าหากเรามีปัญหา ก็สามารถหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
6. มีความปลอดภัย
สิ่งที่ธุรกิจจะต้องคำนึงเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล คือ เรื่องความปลอดภัย ยิ่งหากธุรกิจมีการจัดเก็บข้อมูลในแพลตฟอร์มของตัวเอง อาจต้องว่าจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลระบบ ทำให้เสียทั้งค่าใช้จ่าย อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮกข้อมูล แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเนื่องจากบริการ Cloud มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยส่งเสริม Cyber Security มีระบบ Backup กู้ฐานข้อมูล และช่วยดูแลเมื่อเกิดปัญหานอกจากเสริมเกราะป้องกันทางด้านความปลอดภัยให้กับธุรกิจแล้ว ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของธุรกิจอีกด้วย
โดยส่วนตัวของผู้เขียนนั้น ชอบการบริการ service ของ AWS มากที่สุด เพราะว่าเป็นผู้ให้บริการ cloud ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มี service ที่เยอะที่สุด มีชุมชนที่แข็งแกร่ง ผู้ใช้งานเยอะ มีแหล่งข้อมูลหรือ use case ต่าง ๆ ให้ศึกษา มีคู่มือสำหรับบริการแต่ละตัวอย่างละเอียด มีทีมงาน support หลังบ้านที่พร้อมดูแลเราตลอดเวลาครับ
อ่านมาจนถึงจุดนี้แล้วถ้าหากผู้อ่านมีความสนใจในบริการของ AWS โดยเฉพาะถ้าอยากจะปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน service ต่าง ๆ ของ AWS รวมไปถึงประมาณค่าใช้จ่ายโดยรวมสำหรับ project ของคุณ ก็สามารถติดต่อ Cloud HM ได้โดยตรงเลยครับ เพราะเรามีการให้บริการ Cloud Platform ครบวงจร ทั้ง Domestic Cloud และ Global Cloud เพื่อตอบสนองความต้องการรอบด้านของลูกค้าครับ
— Cloud HM