ปัจจุบันในประเทศไทย บริษัทส่วนใหญ่มีการใช้งาน Cloud กันเป็นปกติอยู่แล้ว สำหรับบางบริษัทอาจมีการใช้งาน Public Cloud ซึ่งการจ่ายเงินจะค่อนข้างยุ่งยากเนื่องจากต้องจ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ
โดยใน Blog นี้ Cloud HM จะมาแนะนำวิธีการจ่ายเงินของ Public Cloud ที่เราคุ้นเคย บางคนเคยใช้ Software ของบริษัทนี้ นั่นก็คือ Microsoft Azure นั่นเองครับ
โดยวันนี้จะมาอธิบายรูปแบบการจ่ายค่าบริการของ Azure เป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ กันครับ
ขออธิบายชนิดของ Account สำหรับลูกค้าทั่ว ๆ ไปที่สมัครใช้งานบน Azure ก่อนนะครับ ว่ามีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
-
Free Account – Azure จะให้ Credit $200 ในการทดลองใช้งานได้แบบฟรี ๆ ก่อนที่จะเตือนให้ Convert ไปเป็นแบบที่ 2 เมื่อ Credit ใกล้หมดแล้วครับ
-
Pay-As-You-Go – จ่ายตามการใช้งานจริง
-
Reservation – จ่ายก่อนใช้งานทีหลัง
สำหรับแบบที่ 1 และแบบที่ 2
จะเป็นการใช้งานก่อนจ่ายทีหลัง ลักษณะคล้าย ๆ กับซิมรายเดือนมือถือของบ้านเรา โดย Account แบบที่ 1 และ แบบที่ 2 จะต้องผูกกับบัตรเครดิต เพื่อใช้ในการจ่ายค่าบริการ โดยทาง Azure จะสรุปค่าใช้จ่าย ทุก ๆ 1 เดือน โดยใช้เวลาภายใน 10 วัน ตัดเงินจากบัตรเครดิต หรือจะให้ออก Invoice โดยก็ทำได้ สำหรับการจ่ายแบบ Invoice ต้องจ่ายค่าบริการผ่านทาง Check หรือ Wire Transfer โดย Azure จะมีที่อยู่แนบให้ครับ
จะเป็นการใช้งานก่อนจ่ายทีหลัง ลักษณะคล้าย ๆ กับซิมรายเดือนมือถือของบ้านเรา โดย Account แบบที่ 1 และ แบบที่ 2 จะต้องผูกกับบัตรเครดิต เพื่อใช้ในการจ่ายค่าบริการ โดยทาง Azure จะสรุปค่าใช้จ่าย ทุก ๆ 1 เดือน โดยใช้เวลาภายใน 10 วัน ตัดเงินจากบัตรเครดิต หรือจะให้ออก Invoice โดยก็ทำได้ สำหรับการจ่ายแบบ Invoice ต้องจ่ายค่าบริการผ่านทาง Check หรือ Wire Transfer โดย Azure จะมีที่อยู่แนบให้ครับ
ส่วนแบบที่ 3
รูปแบบจะเป็นการจ่ายเงินก่อนแล้วค่อยใช้งาน ลักษณะเหมือนซิมเติมเงิน โดยการใช้งานจะต้องเติมเครดิต เรียกว่า Azure Credits โดย Credit ตัวนี้สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายทั่วไปครับ (สามารถสอบถามกับตัวแทนหน่าย License ของ Microsoft ได้ครับ)
ลืมบอกเรื่องสำคัญไปนิดนึง สำหรับรูปแบบที่ 3 จะมีข้อจำกัดด้วยนะครับ คือ ถ้า Credit หมดเมื่อไหร่ Service ที่เปิดใช้งานอยู่จะถูกปิดทันที และ Credit ที่เติมเข้าไปจะมีวันหมดอายุด้วยนะ แต่ก็แลกกับราคาที่ถูกว่าแบบ Pay-As-You-Go นิดหน่อยครับ
ถัดมาจะเป็นเรื่องของการคิดค่าบริการแล้วล่ะครับ ซึ่ง Service ของ Azure จะมี Rate ค่าบริการที่ต้องจ่ายเป็นรายชั่วโมง และ รายปี แตกต่างกันไปตามแต่ละ Service ไม่ว่าจะเป็นค่า Compute หรือขนาดของ Disk ก็มี Rate ที่แน่นอนครับ โดยคุณสามารถดู Rate ได้จาก https://azure.microsoft.com/en-in/pricing/calculator/ แล้วใช้ประเมินค่าใช้จ่ายได้ดีเลยล่ะครับ
สำหรับการคิดค่าใช้บริการ หน่วยเงินหลักจะคิดเป็นเงินสกุล USD (ดอลล่าร์สหรัฐ) แต่สำหรับคนที่ไม่สะดวกจะจ่ายเงินเป็นสกุล USD ท่านสามารถ Convert ใบแจ้งหนี้ (Bill) ให้เป็นสกุลเงินอื่น ๆ ได้ สามารถดูสกุลเงินที่ Support ได้ จาก https://azure.microsoft.com/en-us/offers/ms-azr-0003p/
สำหรับประเทศไทย Azure ยังไม่ Support ในการ Convert จาก USD เป็นเงินบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้บัญชีต้องมายุ่งยากกับการแปลงค่าเงิน, ทำ Bill เพิ่ม และออกใบกำกับภาษี แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการติดต่อตัวแทนในการทำ Bill ให้เป็นสกุลเงินไทยบาท เราเรียกตัวแทนเหล่านี้ว่า “Cloud Service Provider” หรือย่อสั้น ๆ ว่า CSP
แล้วสามารถหาผู้ให้บริการได้จากที่ไหน?
Cloud HM เป็นหนึ่งใน CSP ครับ หากท่านสนใจ สามารถติดต่อเข้ามาได้เลยครับ
สำหรับขั้นตอนจะแยกเป็น 2 Scenario ครับ
Scenario 1 ลูกค้าไม่เคยใช้งาน Azure มาก่อน
Cloud HM สามารถส่ง Account ใหม่ ให้กับลูกค้าพร้อมนำไปใช้งานได้เลยครับ โดย Cloud HM จะเรียกเก็บค่าบริการตามปกติครับ
Scenario 2 ลูกค้ากำลังใช้ Azure อยู่ในปัจจุบันและเป็นการจ่ายเงินแบบ Pay-As-You-Go
ลูกค้าสามารถ Convert วิธีการจ่ายเงินได้ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมในการย้าย Service ดังนี้
โดยท่านสามารถตรวจสอบกับทีมที่ทำการย้าย Account ได้ครับ
สำหรับ Scenario ทั้ง 2 แบบ ลูกค้าเป็นคน Manage Account ทั้งหมดครับ เพียงแต่การจ่ายค่าบริการ Bill จะออกโดย Cloud HM ครับ
ประโยชน์ที่ได้?
แน่นอนว่า ไม่ต้อง Convert สกุลเงินให้ยุ่งยากอีกต่อไป สามารถจ่ายเงินแบบวางบิลได้ตามสะดวกเลยครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับคำแนะนำในการจ่ายเงินของ Azure ผ่านทาง Local Partner หวังว่าจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทิ้งท้ายไว้อีกสักนิดนะครับ Cloud HM ยังรับปรึกษาการทำ Solution เบื้องต้นเกี่ยวกับ Azure ด้วยนะครับ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยครับ
หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ
— Cloud HM