บริหารค่าใช้จ่ายบนคลาวด์ อย่างมีประสิทธิภาพด้วย AWS FinOps Solutions

ทักทายผู้อ่าน

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน ในบทความนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับ AWS FinOps Solutions กัน ซึ่งก็คือเป็น Best practice อย่างหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยเราในการปรับและควบคุมค่าใช้จ่ายของการจัดการธุรกิจของเราบนคลาวด์นั่นเอง โดยเราจะเน้นไปที่ FinOps ของ AWS เหมือนเดิมครับ 

Best Practices: มาลดค่าใช้จ่ายการใช้คลาวด์ของคุณกันเถอะ 

การใช้คลาวด์นั้นถือว่าเป็นเครื่องมือหรือวิธีการหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับไอทีของธุรกิจของเรา โดยในปัจจุบันทาง AWS มีบริการหรือ Service นับร้อย Service ที่เข้ามาช่วยให้ชีวิตของเรานั้นง่ายขึ้น เพียงแค่เรามีโจทย์ที่ชัดเจน ก็มี Service ที่เราสามารถหยิบนำมาใช้ได้ทันทีเลย นอกจากช่วยยังมีเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้วย 

การที่เรามีการขยายขนาดของธุรกิจบนคลาวด์ เราจำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มการใช้ปริมาณ Service ต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายนั้นบานปลายไปได้นั่นเอง ดังนั้นการหา Discipline หรือขั้นตอนที่จะเข้ามาช่วยในการควบคุมค่าใช้จ่ายจึงสำคัญมาก ๆ 

ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการติดตั้งหรือสร้าง (Implement) เครื่องมือที่สอดคล้องกับแนวคิดของ FinOps กันครับ ซึ่งคำว่า FinOps นั้นมาจากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คือ Finance และ Operations โดยสิ่งที่ผู้อ่านจะได้ศึกษามีดังต่อไปนี้

  • AWS FinOps คืออะไรกันแน่?
  • 4 สิ่งสำคัญของ AWS FinOps
  • ขั้นตอนการปฏิบัติ Best practices สำหรับการทำ FinOps
  • เครื่องมือสำหรับการทำ FinOps บน AWS
Es wurde kein Alt-Text für dieses Bild angegeben.

AWS FinOps คืออะไรกันแน่

AWS FinOps คือเป็นแนวคิดขั้นตอนการปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ใคร ๆ ก็สามารถทำตามได้ หรือที่เราเรียกว่า Best practice นั่งเอง โดย FinOps นั้นช่วยให้องค์กรสามารถปรับค่าใช้จ่ายของคลาวด์ได้ จริง ๆ แล้ว FinOps นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ Solution เพียงอันเดียวและจะตอบโจทย์กับองค์กรหรือธุรกิจทุกรูปแบบ แต่ว่ามันมีความยืดหยุ่นซึ่งแต่ละองค์กรจะต้องนำไปปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบของธุรกิจของตัวเอง จึงจำสามารถปรับค่าใช้จ่ายได้เหมาะสมมากที่สุด 

ถ้าเรามาดูตามนิยามภาษาอังกฤษของ FinOps

“FinOps is an evolving cloud financial management discipline and cultural practice that enables organizations to get maximum business value by helping engineering, finance, technology, and business teams to collaborate on data-driven spending decisions.”- Technical Advisory Council (FinOps Foundation, 2019)

FinOps: Cloud Financial Management

4 สิ่งสำคัญของ AWS FinOps

เมื่อเรารู้ความหมายของ FinOps แล้ว ลำดับถัดมาที่เราจะมาดูกันก็คือเราจะสร้าง FinOps ได้อย่างไรใน Cloud environment ของเรา โดยผมจะยกตัวอย่างการใช้ Well-Architected Framework โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะอ้างอิงกับการปรับค่าใช้จ่าย

ถ้าหากว่าเราดูตาม Cost optimization แล้ว จะมี 4 สิ่งสำคัญที่เราควรจะต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ 

  1. See: Gain visibility into your cloud costs.
  2. Save: Identify and implement cost-saving opportunities.
  3. Plan: Forecast your cloud costs and make informed decisions about how to spend your money.
  4. Run: Automate your cloud cost management processes.

โดยจะเห็นว่าแต่ละอันนั้นจะมีความสำคัญของตัวมันเองและมีหลักหรือกฎที่ใช้สำหรับการทำ Best practice ของแต่ละอัน 

คราวนี้เราลองมาหาซิว่าจะมีหลักเกณฑ์อะไรบ้างที่เราจะต้องสร้างขึ้นมาแล้วเราจะนำมันไปใช้ในการปรับลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร 

Cloud environments can be really complex.

ขั้นตอนการปฏิบัติ Best practices สำหรับการทำ FinOps

เริ่มต้นด้วยการเจาะลึก Pillar แต่ละอันกันเถอะ 

See: การมองเห็น

  • ใช้ AWS Cost Explorer: Cost Explorer ช่วยให้เราสามารถติดตามราคาค่าใช้จ่ายของ Cloud 
  • ใช้ Cost Allocation Tags: Cost Allocation Tags ช่วยให้เราสามารถติดตาม Cloud cost ของเราได้ โดยแบ่งตามโปรเจ็คหรือทีม แล้วก็ขึ้นกับเงื่อนไขที่เรากำหนด และยังสามารถแจ้งเตือนเราได้อีกด้วย ใช้ AWS Budgets: AWS Budgets ช่วยเรากำหนด Time limit บน Cloud ของเราได้

Save: การบันทึก

  • Review your cloud usage: ทำการตรวจสอบและประเมินการทำงานของ Cloud สม่ำเสมอ
  • Optimize your cloud resources: ใช้ AWS Trusted Advisor เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสที่เราจะทำการปรับลดค่าใช่จ่ายได้ 
  • Use Reserved Instances: Reserved EC2-Instances ช่วยให้เราประหยัดเงินได้ Use Compute Saving Plans: ทำการกำหนดปริมาณการใช้ของ Compute resource ตามระยะเวลาที่เราต้องการ ซึ่งช่วยให้เราประหยัดค่าใช่จ่ายได้มากถึง 72% เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายตามปกติ

Plan: การวางแผน

  • Create a cloud cost forecast: ทำนายค่าใช้จ่ายของ Cloud ของเราล่วงหน้าก่อนเพื่อที่เราจะได้ตัดสินใจได้ว่าเราควรจะต้องลงทุนกับ Services อันไหนบ้างเพื่อช่วยให้เราประหยัดเงิน
  • Set cloud cost goals: กำหนด thresholds และ limits ของแต่ละบริการ 
  • Track your cloud cost performance: ทำการอัพเดตค่าใช้จ่ายล่าสุดของ Cloud เรื่อย ๆ จะได้ไม่พลาดในการเสียเงินโดยใช้เหตุในกรณีที่ Service นั้นใช้แบบสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น

Run: การปฏิบัติการ

  • Automate your cloud cost management processes: ใช้การทำ automation เข้ามาช่วยในการลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์หรือ Human error และช่วยให้เราประหยัดเวลาและเงินด้วย
  • Use AWS Cloud Control Tower: AWS Cloud Control Tower ช่วยให้เราสร้าง Cloud management environment ได้ 
  • Use AWS Cost Anomaly Detection: ตรวจจับหา Cost ที่เกิดขึ้นมาอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ควรทำการรัน Root cause analysis เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของค่าใช้จ่ายด้วย เราจะได้ไม่ต้องตกใจกับบิลค่าใช้จ่ายของเรา
AWS FinOps best practices

เครื่องมือสำหรับการทำ FinOps บน AWS

เราจะมาดูรายละเอียดของเครื่องมือกันครับว่ามีอะไรบ้างที่เราสามารถนำมาใช้ได้ โดยด้านล่างจะเป็นตารางสรุปของบริการที่สำคัญ ๆ ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจของเราด้วย AWS Cloud นั้นประหยัดได้เยอะที่สุด

Es wurde kein Alt-Text für dieses Bild angegeben.

ภาพด้านบนคือการไดอะแกรมของ Environment ที่มีบัญชีผู้ใช้งานแบบหลายอัน โดยจะเห็นได้ว่ามีบริการหรือ Service เยอะมากที่ถูกนำมาใช้และบริการเหล่านั้นก็ถูกควบคุมและจัดการ Cloud financial management

ตัวอย่างของเครื่องที่ได้รับความนิยมมาก ๆ สำหรับการทำ FinOps หรือปรับลดค่าใช้จ่ายของบริการบน AWS:

  • AWS Cost Explorer: ตรวจสอบและติดตามค่าใช้จ่ายของบริการแต่ละตัวที่เราใช้งานแบบเรียงไทม์ไลน์
  • AWS Budgets: กำหนดเพดานหรือ limit ของการใช้งานคลาวด์
  • AWS Trusted Advisor: ประเมิน วิเคราะห์เพื่อหาโอกาสในการลดค่าใช้จ่าย
  • AWS Cost Anomaly Detection: ตรวจสอบความผิดปกติ (anomaly) ที่เกิดขึ้นในธุรกิจของเรา ซึ่งจะมองหาสิ่งที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • AWS Cloud Control Tower: สร้าง Cloud management environment ซึ่งเราสามารถปรับให้สอดคล้องกับ Best practice ได้ 
Implementation of AWS FinOps

ในบทความนี้เราได้ดูรายละเอียดของการทำการปรับลดค่าใช้จ่ายของ Cloud ของเราไป ซึ่งเรามีแนวคิดก็คือ “Be our own boss of our cloud costs” หรือแปลเป็นไทยคือ เราเป็นเจ้าของคลาวด์ดังนั้นเราก็จะต้องเป็นคนกำหนดราคาด้วย ซึ่งเราก็ได้เรียนรู้อีกว่าเรามีความจำเป็นที่จะต้องลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ โดยเฉพาะการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สอดคล้องกับงานที่เราต้องการให้มันทำให้เรา (Put the right tool on the right job)

อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะต้องระวังด้วย เพราะว่าการทำ FinOps optimization นั้นทำได้ไม่ง่ายเท่าไหร่ ต้องมีการอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญรวมถึงความเข้าใจเครื่องมือของ AWS เป็นอย่างดี ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นว่า แทนที่เราจะนำเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ก็จะกลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบแทนนั่นเอง 

โดยสรุปก็คือ การทำ FinOps นั้นเป็นการทำงานในลักษณะที่ทำเป็นทีม ไม่ใช้การฉายเดี่ยว กล่าวคือจะต้องมีการใช้เครื่องมือหลาย ๆ อันเข้ามาเพื่อช่วยกันนั่นเอง ซึ่งในหลาย ๆ กรณีนั้นเราก็สามารถใช้ FinOps เพื่อมาช่วยในการปรับลดค่าใช้จ่ายได้โดยการทำตาม Best practice ที่ได้อธิบายไว้ในบทความครับ 

No alt text provided for this image

ทิ้งท้าย (How to Start)

อ่านมาจนถึงตรงนี้ถ้าหากผู้อ่านมีความสนใจในบริการของ AWS โดยเฉพาะถ้าอยากจะปรึกษาเกี่ยวกับการให้บริการ AWS FinOps ซึ่งเป็นการปรับลดค่าใช่จ่ายของธุรกิจขององค์กรที่รันหรือทำงานอยู่บน AWS Cloud ก็สามารถติดต่อ Cloud HM เพื่อให้คำปรึกษาได้โดยตรงเลยครับ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำได้สอดคล้องกับรูปแบบของบริษัทและเรามีการให้บริการ Cloud Platform ครบวงจร ทั้ง Domestic Cloud และ Global Cloud เพื่อตอบสนองความต้องการรอบด้านของลูกค้าครับ

อ้างอิง

  1. https://aws.amazon.com/blogs/aws-cloud-financial-management/tag/finops/
  2. https://spot.io/resources/finops/5-reasons-to-do-finops-on-aws-and-free-tools-to-get-started/
  3. https://www.finops.org/introduction/what-is-finops/

— Cloud HM