ปลดปล่อยพลัง Super App: ใช้ประโยชน์จาก Cloud-Native และ Microservices

ในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันทุกวันนี้ ถ้าลองสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่าเราแอปพลิเคชันเพื่อทำงานและใช้ชีวิตประจำวันที่หลากหลายมาก ๆ จนมันกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร เรียกรถ ส่งพัสดุ ซื้อของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงบริการทางการเงินต่างๆ เช่น สินเชื่อ กลายเป็นแอปเดียวที่มีหลายบริการ หลายฟังก์ชันอยู่ด้านในทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียวหรือที่เรียกว่า “Super App”

Super App เป็นเหมือนเครื่องมือที่มีหลากหลายฟังก์ชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการทำงานต่าง ๆ ได้ในแอปเดียวโดยไม่ต้องออกจากแอปไปมา ทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ที่ดี ใช้งานได้สะดวก และรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้ในหลากหลาย แต่เบื้องหลังการทำแอปที่มีความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยกันนั้น เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งเดี๋ยวในบทความนี้เราจะไปรู้จักกับสถาปัตยกรรมของ Super App ยอดฮิตที่หลาย ๆ  Super App ใช้กันนั่นคือ “เทคโนโลยี Cloud-Native และ Microservices” 

เทคโนโลยี Cloud-Native คืออะไร?

เทคโนโลยี Cloud-Native คือการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันให้เหมาะสมกับการทำงานในสภาพแวดล้อมคลาวด์ ซึ่งรวมถึงการใช้คอนเทนเนอร์, Microservices และเครื่องมือ orchestration tools ที่เอาไว้จัดการและควบคุมการทำงานของระบบซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน โดยที่เรามักคุ้นหูหน่อยก็อย่างเช่น Kubernetes โดย Cloud-Native จะช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถติดตั้ง สเกล และจัดการได้ง่ายในระบบคลาวด์ โดยมีความยืดหยุ่นและความสามารถในการสเกลสูง

Microservices คืออะไร?

เมื่อเราบอกว่า Cloud-Native จะมีการใช้ Microservices เป็นสถาปัตยกรรมการออกแบบซอฟต์แวร์ที่แยกแอปพลิเคชัน แล้วมันออกแบบยังไง? โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นการย่อย service ออกเป็นบริการย่อย ๆ ที่แต่ละบริการสามารถทำงานแยกกันได้ ไม่ขึ้นต่อกัน แต่ละบริการจะทำหน้าที่เฉพาะ และสามารถแยกไปพัฒนา ทดสอบ ติดตั้ง และสเกลได้อย่างอิสระ นั้นแปลว่าระบบหากเป็นคนละบริการก็สามารถใช้คนละภาษาได้ นั้นช่วยให้การพัฒนาและปรับปรุงแอปพลิเคชันเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Microservices ต่างจากแบบเดิมยังไง ?

โดยก่อนหน้านี้การทำแอปส่วนใหญ่จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Monolithic คือการสร้างแอปพลิเคชันที่รวมทุกฟังก์ชันไว้ในฐานข้อมูลและโค้ดเดียวกัน ทำให้การพัฒนาหรืออัปเดต อะไรก็ต้องทำทั้งหมดพร้อมกัน หากโค้ดพังหนึ่งส่วนก็จะส่งผลไปทั้งแอป แต่หากเป็น Microservices เราแยกแอปพลิเคชันออกเป็นส่วนย่อย ๆ ทำให้แต่ละบริการเป็นอิสระต่อกัน ทำให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงแต่ละส่วนได้อย่างรวดเร็วและไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของแอป

ซึ่ง Super App นั้นเป็นแอปที่มีบริการย่อย ๆ อยู่ในแอปเดียวนั้นจึงทำให้ Microservices จึงเป็นสถาปัตยกรรมที่ตอบโจทย์ และแถมการใช้ Cloud Native ยังมีความสามารถในการสเกลอีกนั่นทำให้เราสามารถสร้าง Super App ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอปพลิเคชันลดลง

โดยกว่าจะมาเป็น Super App นั้นมันก็มีวิวัฒนาการทีเริ่มต้นจากการเพิ่มขึ้นของแอปพลิเคชันบนมือถือที่เราใช้กันทุกวันนี้ ในช่วงแรก แอปส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้มีการใช้งานเฉพาะทาง เช่น แอปธนาคารก็สำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแอปอีคอมเมิร์ซสำหรับการช้อปปิ้ง แต่เมื่อใช้งานไปสักพักกลายเป็นเราต้องมีแอปหลาย ๆ ตัวในมือถือ การสลับไปมาก็จะส่งผลกับประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก ก็เลยมีแนวคิดที่จะทำให้สามารถใช้แพลตฟอร์มเดียวที่รองรับทุกความต้องการได้จึงไปกระตุ้นให้การทำ Super App เป็นที่นิยมขึ้น 

ส่วนประกอบหลักของ Super App Architecture

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ Super App ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ Microservices Architecture ด้วยความสามารถจากที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ทำให้การทำ Super App มีสถาปัตยกรรมที่ดูแลรักษา สเกล และการปรับปรุงฟังก์ชันต่าง ๆ เป็นไปได้ง่าย โดยไม่กระทบต่อระบบทั้งหมด

แต่พอระบบระบบแยกบริการต่อกันเราจะต้องมีตัวช่วยจัดการการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้และ Microservices ของเราโดยเจ้าสิ่งนั้นคือ API Gateway และต้องมีตัวที่จัดการการเข้าถึงและการกระจายโหลดการทำงานที่เราเรียกว่า Load Balancer เพื่อป้องกันการทำงานหนักเกินไปในบริการใดบริการหนึ่ง

และเมื่อมีการสเกล service หรือมีการเปลี่ยนโครงสร้างของเราระบบเราก็จะต้องมีตัวที่ค้นหาและเชื่อมต่อ service ให้ได้อัตโนมัติซึ่งเราจะเรียกส่วนนี้ว่า Service Registry and Discovery 

ส่วนของการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน Super App เราจะต้องมีชั้นที่เป็น Data Management Layer ซึ่งเป็นชั้นที่ทำหน้าที่จัดการและเก็บข้อมูลจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผู้ใช้, ข้อมูลธุรกรรม, หรือข้อมูลการใช้งานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชั้นนี้ไม่เพียงแค่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังต้องประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่มีสะดุด

นอกจากนี้ความปลอดภัยของข้อมูลยังเป็นเรื่องสำคัญมากในชั้นนี้ โดยเราจะต้องมีกระบวนการป้องกันข้อมูล และการจัดการการเข้าถึงข้อมูลโดยต่าง ๆ โดยสามารถทำได้โดยการเข้ารหัสข้อมูล ใช้แคชที่เหมาะสม ซึ่งส่วนนี้จะทำให้การจัดการฐานข้อมูลเริ่มมีความซับซ้อน ขึ้น แตต่จะเป็นการเพิ่มความเสถียรและความปลอดภัยให้กับ Super App

เมื่อพูดถึงความปลอดภัยเราจะขาดในส่วนของการ Authentication and Authorization ที่เป็นด้านแรกในดูว่าคนที่เข้ามาใช้ระบบเป็นใคร ได้รับอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง 

เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในสถาปัตยกรรมของ Super App โดยเฉพาะในแอปพลิเคชันที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและบริการต่าง ๆ หลายประเภท ระบบการยืนยันตัวตน (Authentication) และการอนุญาตให้เข้าถึง (Authorization) จึงจำเป็นต้องมีความปลอดภัยสูง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้ที่เข้าถึงข้อมูลและบริการต่าง ๆ นั้นเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจริง ๆ

โดยทั่วไปแล้ว Super App จะใช้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐาน เช่น OAuth 2.0 และ JWT (JSON Web Tokens) เพื่อจัดการกับการยืนยันตัวตนและการอนุญาตเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ 

สุดท้ายคือส่วนที่ผู้ใช้จะใช้แอปเรานั้นคือหน้าแอปหรือ หน้า UI ที่เป็น layer ที่ผู้ใช้เจอโดยตรงซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่จะมอบประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ถ้าแอปใช้ง่าย สวย ตอบสนองไว ไม่ต้องรอโหลดก็จะทำให้แอปถูกใจผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

เมื่อทุกองค์ประกอบรวมกัน จะเห็นได้ว่า Super App ไม่ใช่แค่การรวบรวมฟังก์ชันหลาย ๆ อย่างไว้ในแอปเดียว แต่ยังเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมที่ล้ำ ๆ เอาไว้เพื่อให้บริการที่หลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วน

จากองค์ประกอบทั้งหมดที่เราได้พูดถึงไป ส่วนนี้ยังช่วยให้การที่ Super App ของเราจะไปต่อกับบริการอื่น ๆ ที่เป็น Third-Party Services ก็สามารถทำได้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความท้าทายจากการเปลี่ยน Monolithic มาเป็น Super App แบบ Microservices

อย่างที่เรารู้กันครับว่าการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมจากแบบหนึ่งมาเป็นอีกแบบหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การเปลี่ยนแปลงนี้เราจะต้องเจอกับความท้าทายในส่วนของการจัดการการสื่อสารระหว่าง Microservices ที่อาจมีจำนวนมาก การทำ debugging ที่ยากขึ้น และการบริหารจัดการทรัพยากรที่ซับซ้อนขึ้น แถมยังมีเรื่องของการย้ายข้อมูลและต้องเขียนโค้ดใหม่เพื่อรองรับสถาปัตยกรรมใหม่อีก ส่วนนี้การวางแผนที่รอบคอบและการอบรมทีมพัฒนาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ 

แต่ถึงมันจะลำบากและซับซ้อนขึ้นเยอะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้มันก็คุ้ม เพราะเมื่อเราแยกบริการออกเป็น Microservices ระบบของเราจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เราสามารถพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น ปรับปรุงระบบได้ง่ายขึ้น และรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ดีกว่าเดิม แถมถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่ง มันก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทั้งหมด การใช้ Microservices ยังช่วยให้ Super App ของเราสามารถตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้แอปของเราเติบโตได้อย่างมั่นคงในระยะยาว

มุมมองเกี่ยวกับ Super App Trends ในอนาคต

ในอนาคต Super App จะไม่ใช่แค่แอปที่รวมหลายฟังก์ชันไว้ในที่เดียวอีกต่อไป แต่จะพัฒนาไปเป็นแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและใช้งานง่ายขึ้น โดยจะเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งแอปให้ตรงกับความต้องการของตัวเองได้สะดวกกว่าเดิม Gartner ยังคาดว่า ภายในปี 2027 คนกว่าครึ่งโลกจะใช้งาน Super App หลายแอปในแต่ละวัน และแนวคิดนี้จะขยายไปสู่องค์กรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำงานและเพิ่มประสบการณ์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ Super App กลายเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจดิจิทัลในอนาคตอย่างแน่นอน
ถ้าคุณต้องการสร้าง Super App ที่ยืดหยุ่น รองรับผู้ใช้จำนวนมาก และเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีล้ำสมัย ปูรากฐานไปสู่อนาคต พวกเรา Cloud HM พร้อมช่วยคุณสร้างแอปที่ทรงพลังด้วย Cloud-Native และ Microservices มาร่วมปลดปล่อยศักยภาพของ Super App กับเรา แล้วดูธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงในยุคดิจิทัล สนใจติดต่อเราได้ที่ Cloud HM

อ้างอิง

https://www.gartner.com/en/articles/what-is-a-superapp

https://medium.com/@nagavamsikrishna011/unveiling-the-super-app-architecture-building-the-foundation-for-next-gen-mobile-experiences-3c0b60cfe6a