เรียนรู้ Blockchain บน Cloud ระดับโลกอย่าง AWS

Credit: builtin.com

ทักทายและเกริ่นนำ

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่านในบทความนี้ผู้เขียนจะพาผู้อ่านทุกท่านมาเจาะลึกเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่หลายคนตอนนี้กำลังให้ความสนใจ นั่นก็คือ “Blockchain” นั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่า AWS นั้นมีบริการอะไรเกี่ยวกับ Blockchain บ้าง เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า Blockchain คืออะไร 🙂

Blockchain คืออะไรกันแน่นะ ?

เอาล่ะครับ ตั้งสติกันนะ เพราะว่าผู้อ่านอาจจะต้องใช้พลังมากหน่อยในการทำความเข้าใจ Blockchain ถ้าพร้อมแล้วก็ลุยเลย! คำว่า Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีคนพูดถึงกันมาสักพักหนึ่งแล้วว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงโลกของเราซึ่งมีการเปรียบเทียบว่า Blockchain ตอนนี้สภาพเหมือนกับอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น หมายความว่าอีกไม่นานนั้น Blockchain ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยธุรกิจที่ให้ความสนใจนั้นก็คือภาคการเงินของประเทศ เช่น ธนาคารต่าง ๆ ก็ได้มีการลงทุนและได้มีการนำไปศึกษาอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อเป็นการลองทำดูว่าเราจะสามารถนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไร และแม้ว่าวันนี้อาจจะยังไม่มีการประยุกต์ใช้ในลักษณะที่เห็นเป็นรูปธรรมมากนักก็ตาม แต่ก็นับเป็นก้าวที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยต่อไป ฟังแล้วดูดีเลยทีเดียว 🙂

จริง ๆ แล้ว Blockchain ก็คือระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่น ๆ ในอนาคตเอาไว้ โดยหัวใจของการทำงานของ Blockchain ก็คือจะต้องเก็บข้อมูล โดยไม่มีตัวกลางอย่างสถาบันการเงินมาเกี่ยวข้อง แค่นี้เองเลยครับ ซึ่งการที่ไม่มีตัวกลางนั่นก็คือเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยการตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ออกไป 😀 ทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลงและอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง อาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไปในอนาคต หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์ ฟังแล้วน่าตื่นเต้นมาก ๆ

องค์ประกอบของ Blockchain ประกอบไปด้วย Chain, Block (รวมกันได้ Blockchain) แล้วก็ Consensus และ Validation

ในปัจจุบันนั้น Blockchain ไม่เพียงแต่เข้ามามีบทบาทอยู่กับแค่การทำธุรกรรมทางการเงินหรือแค่ระบบทางการเงินเท่านั้น แต่เรายังสามารถนำมันไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น 

  • การเก็บสถิติการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพื่อป้องกันกรณีการโกง อย่างเช่นบัตรเขย่ง
  • การให้ยืม Cloud Storage ระหว่างกันเพื่อเก็บข้อมูล
  • บริการ Co-location 
  • ระบบ Peer to Peer Lending
  • ระบบบันทึกประวัติทางการแพทย์
  •  ระบบจัดเก็บกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ทะเบียนรถ, โฉนดที่ดิน, หุ้น, ระบบแต้มส่งเสริมการขายอย่าง The One Card หรือ Stamp 7-11 

และอื่น ๆ อีกมากมาย ไล่กันไม่หมดเลยทีเดียว 

สรุปก็คือถ้าเราเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี Blockchain ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบและลดต้นทุนในการขยายระบบได้อย่างมหาศาล

ข้อดีและข้อด้อยของ Blockchain

ข้อดี: ข้อดีของ Blockchain นั้นมีเยอะมาก เยอะจนแทบจะไล่ไม่หมดกันเลยทีเดียว โดยผู้เขียนยกข้อดีบางส่วนมาให้อ่านกันตามนี้ครับ

  1. Blockchain เปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งสามารถแชร์ไปได้เป็นห่วงโซ่ หรือ Chain นั่นเอง โดยที่เราสามารถทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของของข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่สามารถถูกปลอมแปลงหรือถูกแก้ไขได้ และเราสามารถติดตามลำดับการบันทึกข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้อย่างโปร่งใส จึงทำให้ยากต่อการทุจริต
  1. ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในกล่องที่อยู่บน Blockchain จะไม่ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่ง หมายความว่าข้อมูลจะถูกกระจายไปจัดเก็บบน Hardware หลาย ๆ เครื่อง ซึ่งเราจะเรียก Hardware แต่ละชุดนี้ว่า Node เมื่อจุดใดจุดหนึ่งเล็ก ๆ ในระบบเสียหายไปมันก็จะไม่ส่งผลทำให้ระบบทั้งระบบล่ม
  1. เมื่อธุรกรรมหรือสัญญาถูกจัดเก็บในรูปของข้อมูล การนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อบังคับให้ทำตามสัญญาหรือธุรกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นก็สามารถที่จะทำได้โดยอัตโนมัติ และยังนำไปประยุกต์ใช้รูปแบบอื่น เช่น การแจ้งเตือนเมื่อสัญญากำลังจะหมดอายุได้ เป็นต้น และเมื่อการทำธุรกรรมหรือสัญญาเหล่านี้ไม่ต้องมีตัวกลางก็จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกมาก
  1. ข้อมูลของ Blockchain นั้นรองรับการเข้ารหัสสำหรับข้อมูลแต่ละชุดได้ ดังนั้นถึงแม้ข้อมูลของเราจะถูกกระจายไปยัง Node อื่น ๆ และอาจจะมีใครบางคนกำลังมองอยู่นั้น คนอื่น ๆ เหล่านั้นก็จะไม่สามารถถอดรหัสข้อความของเราได้นอกจากตัวเราเองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเท่านั้นที่เราอนุญาตให้เข้าถึงได้

ข้อด้อย: อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างมีสองด้าน Blockchain ก็เช่นกัน โดยข้อด้อยบางอย่างของ Blockchain นั้นมีดังนี้

  1. Blockchain นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียในข้อดีที่ระบบไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกบรรจุลงใน Blockchain แล้วจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการทำธุรกรรมทุกครั้งควรจะตรวจสอบให้ดีก่อน
  1. การใช้ Blockchain นั้นสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากครับ เพราะว่าเราต้องใช้พลังงานในการเก็บข้อมูลแบบตลอดเวลา นอกจากนี้ทุกครั้งที่เราต้องการตรวจสอบข้อมูลนั้นเราก็ต้องใช้พลังงานเยอะมาก ๆ
  1. การเก็บรักษา Private key นั้นก็เป็นอีกข้อจำกัดอย่างหนึ่งของ Blockchain แต่ว่าในปัจจุบันนั้นสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นแล้วหากเทียบกับเมื่อก่อน แต่ก็ยังพูดได้ว่ายังเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ เนื่องจากผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีอยู่ระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถเก็บรักษา Private key ได้อย่างปลอดภัย

บริการ AWS อะไรบ้างที่รองรับ Blockchain

บริการหลัก ๆ ของ AWS สำหรับ Blockchain นั้นมีอยู่ 3 บริการด้วยกัน ดังนี้

  1. Amazon Quantum Ledger Database (QLDB) เป็นฐานข้อมูลแบบบัญชีแยกประเภทที่มีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งมีการบันทึกธุรกรรมแบบรวมไว้ทั้งหมดที่เดียว หมายความว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้และมีการเข้ารหัสไว้ตลอด และยังสามารถตรวจสอบได้อีกด้วย
  1. Amazon Managed Blockchain เป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบ ทำให้ง่ายต่อการสร้างและจัดการเครือข่าย Blockchain ที่ปรับขนาดหรือ Scale ได้
  1. AWS Marketplace จะเรียกว่าเป็นบริการก็ไม่ใช่เสียทีเดียวครับ แต่ว่า Marketplace นั้นให้บริการ Blockchain ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วมากกว่า 70 รายการ โดยเราสามารถเลือกใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องมานั่งพัฒนาหรือจัดการด้วยตัวเราเองตั้งแต่ต้น

ตัวอย่างกรณีศึกษาของการทำ Blockchain บน AWS

กรณีที่ 1: แน่นอนว่าการทำ Blockchain จะต้องมีการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับของข้อมูลถูกไหมครับ ดังนั้นสิ่งที่ AWS สามารถช่วยเราได้ก็คือความสามารถในการระบุตำแหน่งทั้งในอดีตและปัจจุบันของสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของเรา รวมถึงประวัติของการเก็บรักษาสินค้า เป็นต้น ซึ่งบ่อยครั้งที่การติดตามและตรวจสอบย้อนกลับเป็นปัญหาสำหรับ Supply chain ในปัจจุบันเนื่องจากกระบวนการเอกสารที่ล้าสมัยและระบบข้อมูลที่ไม่มีการเชื่อมต่อกันซึ่งส่งผลให้การสื่อสารเป็นไปอย่างล่าช้า การขาดความเข้ากันได้ของข้อมูลทำให้ Supply chain นั้นอาจประสบปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น 

  • ช่องว่างของการแสดงผลซึ่งทำให้เราพลาดการวิเคราะห์ข้อมูลไปได้
  • การคาดการณ์อุปสงค์และอุปทานที่ไม่ถูกต้อง (ทำนายผิดพลาดนั่นเอง)
  • ข้อผิดพลาดของการดำเนินการด้วยตัวของเราเอง 
  • การปลอมแปลงและการละเมิดการปฏิบัติตามข้อกำหนด
Workflow ของ AWS Managed Blockchain

กรณีที่ 2: กรณีนี้จะเกี่ยวข้องกับ Amazon Managed Blockchain ซึ่งช่วยให้เครือข่ายของ Supply chain ทั้งระบบสามารถบันทึกข้อมูลการอัปเดตไปยังบัญชีแยกประเภทที่ใช้ร่วมกันบัญชีเดียวได้ ซึ่งการทำแบบนี้นั้นจะให้การแสดงผลข้อมูลรวมทั้งหมดและเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเพียงแหล่งเดียว สาเหตุที่เราต้องทำอย่างนี้นั่นก็เพราะว่าธุรกรรมต่าง ๆ ได้รับการบันทึกเวลาและเป็นข้อมูลปัจจุบันเสมอ บริษัทจึงสามารถสืบค้นสถานะและตำแหน่งของสินค้าได้ในทุกช่วงเวลา วิธีนี้ช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เช่น 

  • สินค้าปลอมแปลง
  • การละเมิดการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้
  • ความล่าช้าในการจัดการสินค้า

นอกจากนี้บริษัทยังสามารถแชร์ข้อมูลการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับให้กับลูกค้า เพื่อเป็นวิธีหนึ่งในการยืนยันความเป็นของแท้ของสินค้าได้ด้วย

อ่านมาจนถึงจุดนี้แล้วถ้าหากผู้อ่านมีความสนใจในบริการของ AWS โดยเฉพาะถ้าอยากจะปรึกษาเกี่ยวกับการให้บริการ AWS สำหรับเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain สำหรับธุรกิจของผู้อ่าน ก็สามารถติดต่อ Cloud HM ได้โดยตรงเลยครับ เพราะเรามีการให้บริการ Cloud Platform ครบวงจร ทั้ง Domestic Cloud และ Global Cloud เพื่อตอบสนองความต้องการรอบด้านของลูกค้าครับ

— Cloud HM