Data Center คืออะไร? มาตรฐาน Tier 4 ในไทยเป็นยังไง?

สวัสดีครับ ชาว IT ในวันนี้เราจะมาเจาะลึกกันเกี่ยวกับ Data Center Tier IV หรือ Tier 4 นะครับ สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Tier ของ Data Center สามารถกดอ่านได้เลยนะครับ แต่ถ้าจะให้สรุปสั้น ๆ ประโยคเดียวก็คือ “มาตรฐานในวัดระดับของ Data Center ในโลกนี้” ครับ

ปัจจัยที่จะได้ Data Center Tier IV (Tier 4)?

จากเงื่อนไขของ Uptime Institute ใบรับรอง (Certificate) ของ Data Center ทุก Tier จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
  • Design
    • ประเมินจากการออกแบบของสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการใช้งาน ความจุ และข้อกำหนดทางวิศวกรรม
    • ประเมินจากระบบเครื่องจักรและระบบไฟฟ้า รวมไปถึงด้านสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง
    • มีการตรวจสอบเอกสารการออกแบบจากผู้จัดจำหน่าย (Vendor) และจากบุคคลที่ 3 (Contractor)
  • Facility
    • ผ่านการตรวจสอบจากบุคคลที่ 3 ว่ามีการสร้าง Data Center ได้ตรงตามเงื่อนไขของเอกสารการออกแบบที่ได้รับการรับรองจาก Uptime Institute
    • มีการทดสอบระบบจากการจำลองเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
    • มีการตรวจสอบอย่างเข้มเข้นเกี่ยวกับการตรวจรับและแก้ไข Defect จากการก่อสร้างก่อนที่จะเริ่มเปิดใช้งานจริง
  • Operations
    • มีการประเมินที่ครอบคลุมไปถึงการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและวิธีปฏิบัติการ
    • สามารถอธิบายเรื่องการจัดการการทำงานต่าง ๆ และปัญหาขณะปฏิบัติการได้
    • เน้นไปที่การปฏิบัติการที่ดีที่สุดเพื่อให้ใช้งานโครงสร้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทำไมต้อง Data Center Tier IV (Tier 4)?

Uptime Institute ได้กำหนดมาตรฐานให้ Tier IV เป็น Tier สูงสุดของ Data Center โดยมีภาพรวมที่ประเมิน จาก 3 ข้อด้านบน ซึ่งเกณฑ์ของ Tier IV มีดังต่อไปนี้
  • Zero single point of failure หมายความว่า หากมีจุดใด ๆ ที่เสียหายจะไม่กระทบกับการทำงานของระบบและไม่สามารถทำให้ระบบปิดตัวได้
  • 99.995% uptime per annum หมายความว่า การันตีความคงทนของระบบตามมาตรฐานของ Tier IV โดย Downtime สูงสุดต่อปีที่อาจจะเกิดขึ้นจะอยู่ที่ 26 นาที 18 วินาที
  • 2N+1 infrastructure เรียกอีกอย่างว่า Fully Redundant โดย 2N หมายถึง จำนวนของชุดอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องการใช้ในการทำงานของระบบ Data Center * 2 ส่วน +1 คือ Backup อีก 1 ชุด
  • 96-hour power outage protection ส่วนของ Infrastructure จะต้องทำงานต่อไปได้ 96 ชั่วโมง โดยที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งด้านนอก หากเกิดปัญหากรณีที่แหล่งไฟฟ้าหลักไม่สามารถจ่ายไฟมาให้ได้

โครงสร้างของ Data Center Tier IV (Tier 4)

จากที่ได้แนะนำไปแล้วสำหรับเกณฑ์ในการที่จะได้ Certificate ระดับ Tier IV เรามาดูโครงสร้างของ Data Center Tier IV กันบ้าง ว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และมีการทำงานอย่างไร
  1. ระบบไฟฟ้า

Utility Power GRID
เป็นระบบการจ่ายไฟฟ้าที่ดึงไฟฟ้ามาจาก Generator วิ่งไปตาม GRID ที่วางไว้ (จากรูปคือเส้นลูกศรปะสีแดง)
Main Power Panel
เป็นตู้ศูนย์กลางและเครื่องมือควบคุมในการกระจายไฟฟ้าไปยังโครงข่ายย่อย ๆ
Auto Transfer Switch
เป็น Switch ที่เลือกใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือ ถ้าไฟดับ หรือ ไฟตก Switch จะสับไปใช้งานแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองแทนแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก และถ้าแหล่งจ่ายหลักกลับมาจ่ายไฟฟ้าได้ตามปกติ ก็จะสับกลับมาเป็นแบบเดิม (ความจริงแล้ว Switch ตัวนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะสลับแหล่งจ่ายไฟฟ้าอย่างเดียว สามารถใช้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เช่นกัน แต่เราจะไม่ขอกล่าวถึง)
Back-up Generator
เป็นเครื่องจ่ายไฟฟ้าสำรอง ที่ต่อเข้ากับ Auto Transfer Switch ผลิตไฟฟ้ามาจากการเติมเชื้อเพลิงด้วยน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ หรือ โพรเพน เป็นส่วนใหญ่
Power Panel
เป็นตู้จ่ายไฟที่กระจายตามส่วนต่าง ๆ รับไฟฟ้ามาจาก Main Power Panel เป็นหลัก
MBP
Maintenance Bypass panel จุดประสงค์คือเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สามารถ Maintenance หรือเปลี่ยน Battery ของ UPS ได้ โดยการ Bypass ไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่ UPS
UPS
Uninterruptible Power Supply เป็นเครื่องสำรองพลังงานไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้า เช่น DC แปลงเป็น AC หรือ AC แปลงเป็น DC
PDU
Power Distribution Unit มองภาพง่าย ๆ เหมือน Breaker บ้าน กรณีที่ไฟฟ้าลัดวงจร หรือ Load กินกระแสเกินไป
RACK PDU
Rack Power Distribution Unit เป็น Breaker ที่อยู่ตาม Rack ทำงานกรณีที่กินกระแสมากเกินไป หรือ ไฟฟ้าลัดวงจร

สำหรับการทำงานของระบบไฟฟ้าจะเริ่มจาก
    1. ไฟฟ้าจะมาจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า เช่น การไฟฟ้า หรือไฟฟ้าจากเอกชน
    2. วิ่งผ่านไปที่ตู้ Main power กระจายไฟฟ้าไปตามส่วนต่าง ๆ
    3. ผ่าน ATS ที่คอยสับไปใช้ Backup Generator กรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักมีปัญหา
    4. จาก ATS จะต่อมาที่ Power Panel เป็นตู้จ่ายไฟย่อย ๆ อีกที
    5. จะมีการต่อ MBP ก่อนที่จะวิ่งไปหา UPS เพื่อให้สะดวกสำหรับการซ่อมบำรุง UPS
    6. วิ่งไปที่ PDU ใช้สำหรับป้องกันกระแสรั่วหรือกินกระแสมากเกินไป
    7. วิ่งไปที่ RACK PDU
    8. เข้าสู่ Server หรืออุปกรณ์ IT
จากอุปกรณ์ทั้งหมด สังเกตได้ว่าจะมี 2 ชุด รวมไปถึง Backup ตามเงื่อนไข 2N+1 เลยครับ ซึ่งก็จะช่วยลดความเสียงเรื่องไฟฟ้าดับได้ค่อนข้างเยอะมากครับ

  1. ระบบทำความเย็น
จะประกอบไปด้วยชุดอุปกรณ์ทำความเย็น 2 ชุดแยกกัน เพื่อ Redundant กรณีที่อีกชุดเสียหาย
จากรูปตัวอย่างจะเป็นระบบทำความเย็นด้วยด้วยแอร์ (CRAC) แยกออกเป็น 2 เส้น A และ B ซึ่งทั้ง 2 เส้นจะทำงานตลอดเวลาและพร้อมใช้งานกรณีฉุกเฉิน โดยมีการทำงานที่แยกจากกันตามเงื่อนไข “N” หากเส้น A มีปัญหา จะสลับไปใช้เส้น B โดยอัตโนมัติด้วย Value ในกล่องสีแดงตามรูป ตัว Value จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบท่อที่ติดตั้งอยู่ใน Data Center Tier IV
สำหรับอุปกรณ์ที่ต้อง Redundant สำหรับระบบทำความเย็นมีอะไรบ้าง? ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่น

  • ระบบทำความเย็นด้วยด้วยแอร์ (CRAC)
  • เครื่องจ่ายลมเย็น (AHUs)
  • เครื่องทำความเย็น (Chillers)
  • เครื่องสูบน้ำเย็น (Chilled water pumps)
  • ปั๊มน้ำ
  • ระบบท่อลำเลียง
  • อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น วาล์ว ไส้กรองอากาศ มิเตอร์ เซนเซอร์ เป็นต้น

มาตรฐาน Data Center Tier IV (Tier 4) เหมาะกับใคร?

Data Center Tier IV เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการให้ระบบมี Downtime น้อยที่สุด หรือเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณมากในการที่จะสร้างและบริหารงาน

แล้วถ้าไม่มีงบประมาณและไม่อยากลงทุนมากล่ะ ทำอย่างไร?

เพียงแค่ชาว IT เลือกใช้บริการของ Cloud HM ก็วางใจได้เลยว่าระบบจะ Downtime น้อยที่สุด เพราะว่า Cloud HM เลือกใช้ SUPERNAP (Thailand) ในการวาง Infrastructure
โดย SUPERNAP (Thailand) การันตี Uptime ที่ 100%!!! หมายความว่าระบบของ Cloud HM จะไม่มี Downtime ที่เกิดจากความผิดพลาดของระบบ Data Center นั่นเองครับ
สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Data Center แห่งเดียวในประเทศไทย ที่กล้ารับประกัน Downtime 0 นาที!
สำหรับชาว IT ที่อ่านถึงส่วนนี้ ขอขอบคุณที่ให้ความสนใจ หากมีข้อมูลที่ผิดพลาดใด ๆ หรือคำติชมใด ๆ ท่านสามารถช่วยแนะนำกันได้ผ่านทาง Comment ทางด้านล่างของ Blog ได้ครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว  อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ

— Cloud HM