Remote Desktop CALs มีไว้ใช้ทำอะไร จำเป็นต้องซื้อมาใช้หรือไม่

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน จากที่ผู้เขียนเคยได้เขียนบทความ เข้าใจ Windows License ง่าย ๆ จบใน 5 นาที ไปนะครับ วันนี้จะมาเสริมเกี่ยวกับ RDS CALs ที่เป็น License สำคัญอีก License หนึ่งในการใช้งานกับ Windows ครับ ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาของ RDS CALs เรามาทวนความจำของ License ที่ต้องใช้กับ Windows กันก่อนนะครับ มาเริ่มกันได้เลยครับ

ในการใช้งาน Windows Server จะต้องมี License สำหรับ Server โดยจะมี Edition อยู่ 3 แบบ คือ

  1. Standard Edition 
    Windows Standard License จะมีสิทธิ์ในการใช้งานได้ 1 Physical Server และ 2 Virtual Machine โดย 1 License จะนับจาก 2 Cores หรือ 1 Processor
    ** แต่ Microsoft บังคับขั้นต่ำในการซื้อ License นั่นคือ ต้องซื้อ 8 License ขึ้นไปเท่านั้น!
    แปลว่าหากซื้อตามขั้นต่ำจะสามารถใช้ได้กับ 1 Physical Server และ 2 VM โดยมี Processor X Core รวมกันแล้วไม่เกิน 16 Cores ถ้าจะใช้ VM มากกว่า 2 VM จะต้องซื้อ License เพิ่ม เพื่อให้สามารถใช้ Virtual Machine ตามความต้องการได้ เช่น ถ้าจะใช้ VM ทั้งหมด 3 VM ก็ต้องซื้อ Windows License ขั้นต่ำอีก 8 Licenses เพื่อให้มีสิทธิ์ใช้ได้ถึง 4 VM (เพียงพอต่อจำนวน VM ที่ต้องการใช้งาน)
  2. Datacenter Edition
    ตามชื่อเลยคือเหมาะสำหรับองค์กรที่ใช้ Server เยอะ ๆ ทำเป็นลักษณะคล้าย Datacenter, License ชนิดนี้เหมาะสำหรับจะเอาไปทำเป็น Virtual Datacenter ที่ใช้สร้าง Virtual Machine เพราะสามารถสร้าง Virtual Machine ได้ไม่จำกัด วิธีคิด License นี้จะคิดตาม Core ของ Physical Server ที่เป็น Host ของ Hypervisor 
    (Hypervisor เปรียบเหมือนผู้คุมของ Datacenter ช่วยในการจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ)
  3. Essential Edition
    ใช้กับองค์กรที่มี User ไม่เกิน 25 Users

หลังจากเรามี License สำหรับ Windows แล้ว ถัดมาจะเป็นสิทธิ์ในการเข้าถึง Service ใน Server ซึ่งจะเกี่ยวกับคนและอุปกรณ์แล้วล่ะครับ

ภาษาอังกฤษเราเรียกว่า

Client Access License (CAL) – เป็น License ที่ให้สิทธิ์ Client ในการเข้าถึง Service ของ Server ได้ Service อะไรบ้าง ก็อย่างเช่น File share, Printing, AD, DNS และอื่น ๆ โดยปกติแล้วยิ่งมี Client มาก คุณจะต้องมี CAL มากตามไปด้วย โดย CAL จะแบ่งแยกออกอีกเป็น 2 ชนิด คือ

User CAL ให้สิทธิ์ User ในการเข้าถึง Service ของ Server ได้จากหลาย ๆ อุปกรณ์ เช่น เข้าจาก Laptop, PC และ Tablet

Device CAL ความหมาย ให้สิทธิ์ Device เช่น Laptop, PC ในการเข้าถึง Service ของ Server (User ใดใช้ก็ได้ แต่ต้องใช้กับ Device นี้เท่านั้น)

Guideline ง่าย ๆ 

User CAL เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป

Device CAL เหมาะกับงานที่เป็นกะ หรือใช้อุปกรณ์เดียวกันแต่คนละช่วงเวลา

ถัดมาจะเข้าสู่ License ที่หลาย ๆ คนท่านรอคอยกันแล้วนะครับ RDS CAL นั่นเอง

RDS CALs ย่อมาจาก Remote Desktop Services CALs

ขอเล่าถึงการเข้าใช้งาน Server โดยทั่วไปก่อนนะครับ โดยปกติแล้วการเข้าใช้งาน Server ที่เป็น Windows จะต้องใช้ Service ที่เรียกว่า Remote Desktop ในการเข้าไปใช้งานหน้า Interface Windows ของ Server นั้น ๆ ได้ และสิทธิ์ในการใช้งาน Remote Desktop Service จะถูกกำหนดโดย User ที่เป็น Administrator ของ Windows Server นั้น ๆ Windows Server จะสามารถใช้ Remote Desktop ได้พร้อมกัน 2 Sessions เช่น Administrator และ User1 ถ้า User2 ต้องการใช้ก็จะต้องเตะ Administrator หรือ User1 ออก ซึ่งในบางครั้งการทำงานจะต้องใช้พร้อม ๆ กัน แล้วถ้าต้องการใช้มากกว่านั้นล่ะ RDS CALs จะเข้ามีบทบาทในส่วนนี้ครับ

ถ้าคุณจะใช้ Remote Desktop Service มากกว่า 2 Sessions เป็นต้นไป คุณจำเป็นต้องซื้อ RDS CAL เพิ่มตามจำนวนของ User ที่เข้ามาใช้งานทั้งหมดครับ (นับรวม Admin ด้วยนะครับ)

โดย RDS CALs ก็มีการแบ่งประเภทคล้าย ๆ กับ Server CAL ดังนี้ครับ

RDS Per Device CALs

CALs จะ Assign ไว้กับ Device เช่น Laptop หรือ PC ตัวอย่างการใช้งานคือ คุณจะเข้าใช้งาน Server ได้ต้องเข้าด้วย PC หรือ Laptop เครื่องที่มี CALs เท่านั้น

RDS Per User CALs

CALs จะ Assign เป็นราย User ใน AD ตัวอย่างการใช้งาน เราสามารถจะเข้าใช้งาน Server ด้วยอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่ต้องใช้ User เราเท่านั้น

เข้าใจเงื่อนไขกันแล้วใช่มั้ยครับ อีกข้อสงสัยที่ทุกคนจะต้องถามแน่ ๆ คือ แล้วเราจะหาซื้อ RDS CALs ได้จากที่ไหนบ้างล่ะ?

RDS CALs มีให้เลือกซื้อได้ 2 แบบคือแบบ Volume และแบบ SPLA (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Volume และ SPLA ได้จาก Link นี้ครับ)

ความแตกต่าง คือ

Volume – ซื้อขาด Upgrade ไม่ได้หากจะไปใช้ Version ใหม่ เช่น คุณมี RDS CALs ของ Window Server 2012 R2 แต่คุณ Implement Windows Server 2016 มา คุณจะใช้ไม่ได้, มีขายเป็นแบบ Package 1 CAL, 5 CAL และ 50 CAL (สามารถซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายของ Windows เช่น 2Beshop และ Quickserv หรือเจ้าอื่น ๆ ครับ)

SPLA – สามารถใช้ได้กับทุก Version เพราะว่าสามารถ Upgrade ได้ตลอด, ซื้อกี่ CAL ก็ได้ตามจำนวนที่ต้องการ (หากต้องการใช้ RDS CALs แบบ SPLA จะต้องใช้ Cloud Server กับทาง Cloud HM นะครับ)

สรุปว่าการที่จะทำให้ User สามารถใช้งาน Windows ได้จำเป็นต้องมี 3 Licenses ได้แก่

Server Licenses + CALs + RDS CALs

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอจะได้ไอเดียกันไหมครับ ถ้าใครมีคำถามสามารถ Comment เพิ่มเติมได้นะครับ หากต้องการให้เขียนเรื่องใด สามารถ Request เข้ามาได้นะครับ

ทางผู้เขียนพร้อมแชร์ไอเดียดี ๆ ให้ได้เรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ 

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาดหรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามโดยตรงได้จาก Microsoft ครับ

— Cloud HM