สวัสดีครับคุณผู้อ่าน ในทุกวันนี้องค์กรสมัยใหม่จะนิยม Implement ระบบไว้บน Cloud เพื่อให้บุคลากรใช้งานกันได้อย่างสะดวกสบายไม่ต้องลงทุนสร้างหรือหาห้องสำหรับวาง Server ตัวใหญ่ ๆ ที่บริษัทกันใช่ไหมครับ แล้ว Cloud ที่เลือกใช้กัน จะไปหาซื้อบริการได้จากที่ไหนล่ะ สำหรับวันนี้จะมาแชร์ในหัวข้อ AWS VS Domestic Cloud ว่าแตกต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะสำหรับท่านมากกว่าครับ
ขอเริ่มต้นใกล้ ๆ ตัวกันที่ Domestic Cloud (ผู้ให้บริการ Cloud ภายในประเทศไทย) ก่อนนะครับ สำหรับ Cloud Provider ในประเทศไทย ทุก ๆ รายจะต้องมีบริการที่ Basic ที่สุดสำหรับลูกค้าองค์กร
หรือลูกค้ารายย่อย นั่นก็คือบริการที่เรียกว่า Infrastructure as a Service หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IaaS เป็นบริการที่ Provider เป็นเจ้าของ Hardware ส่วนลูกค้าก็เป็นผู้ใช้บริการ Virtual Server ที่ได้รับการแบ่งพื้นที่จาก Physical Server ของ Cloud Provider ตามแต่ความต้องการของลูกค้าที่จะใช้งาน เช่น ต้องการพื้นที่ Hard disk ขนาดเท่าไหร่, CPU 4 Cores พอใช้งานไหม, ขอให้ติดตั้ง OS เป็น Ubuntu 16.04 ได้ไหม เป็นต้น
องค์ประกอบของ Domestic Cloud ที่ Cloud Provider ในไทยส่วนใหญ่มีให้ ดังนี้
- Compute หรือ CPU และ Memory เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผล
- Storage (Hard Disk) – ใช้สำหรับเก็บข้อมูล
- Operating System หรือ OS – ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน
- IP Address – ใช้สำหรับ Access ไปยัง Server ด้วย RDP หรือ SSH ผ่าน Public IP Address หรืออาจจะทำ Solution เป็น Private IP Address ให้ Access ผ่าน MPLS ก็ทำได้
- Data Transfer – ไม่มีการคิดค่าบริการในการนำข้อมูลเข้าและออกจาก Server ผ่าน Internet
- Monitoring Tools – ใช้สำหรับ Monitor Server เช่น การใช้งาน CPU เกิน threshold, การใช้งาน Memory เกิน threshold และ Monitor Traffic การใช้งาน Internet เป็นต้น
- Backup – เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่จะต้องมีการสำรองข้อมูลเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉิน เช่น Server ทำงานผิดปกติ, Upgrade Software แล้วมีปัญหาต้องการ Rollback
- Support – สำหรับช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันทำการ
ถัดมาจะมาแนะนำ Global Cloud นะครับ ขอยกมาเฉพาะรายที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก คือ Amazon Web Services (AWS) ของ Mr.Jeff Bezos เศรษฐีอันดับ 1 ของโลก
สิ่งที่ Global Cloud มีนั้น องค์ประกอบไม่ได้แตกต่างไปจาก Domestic Cloud เลย แต่ทาง AWS จะคิดค่าบริการแยกเป็น Service ออกมาเป็นองค์ประกอบดังนี้
- EC2 – เป็นบริการรูปแบบคล้ายคลึงกับ IaaS เรียก Machine เป็น Instance แต่ Storage ที่มีให้จะเป็นแบบ Temporary (ปิด Instance แล้วข้อมูลหาย)
- EBS – เป็นบริการ Storage ถาวร หากต้องการใช้งาน Server ที่ต้องเก็บข้อมูลภายใน Server จำเป็นต้องใช้ EC2 + EBS
- Operating System จะมีให้เลือกจากบริการ EC2
- IP Address – หาก Stop Instance จะกลับไปใช้ Public IP เดิมไม่ได้ จึงต้องซื้อบริการที่มีชื่อว่า Elastic IP Address (Static IP แบบเป็น Pool Limit ที่ 5 IP Address)
- Data Transfer – จะถูกคิดบริการเมื่อนำข้อมูลออกจาก Instance ผ่าน Internet โดยมีให้เงื่อนไขว่าคิดค่าบริการอย่างไร
- AWS CloudWatch – เป็นบริการ Monitoring Usage ของ EC2 เช่น Application error, Error logs และ Log analytic เป็นต้น
- AWS Backup – เป็นบริการ Backup ของทาง AWS สามารถ Backup ได้ทั้ง On-Premise และ On-Cloud
- AWS Support – เป็นบริการ Support จากทาง AWS
จากองค์ประกอบด้านบนของทั้ง Domestic Cloud และ Global Cloud (AWS) จะเห็นได้ว่าบริการไม่ได้แตกต่างกันอย่างที่ได้เรียนไป แต่ AWS มีเงื่อนไขที่ยิบย่อย เช่น
- ถ้าคุณจะใช้ Server คุณก็ต้องมี EC2+EBS เพื่อใช้งาน
- ถ้าคุณอยากให้ IP เป็น Static ผูกกับ Machine ถาวร AWS ก็อาจจะไม่ตอบโจทย์ในจุดนี้
- ถ้าคุณโอนถ่ายข้อมูลบ่อย ก็จะเสียค่าบริการในการนำข้อมูลออกมาจาก Instance
- ถ้าคุณอยากใช้ระบบ Monitoring คุณก็ต้องจ่ายเพิ่มเพื่อใช้งาน Service CloudWatch
- ถ้าคุณต้องการ Backup เพื่อสำรองข้อมูลของ Server คุณจะต้องซื้อบริการ AWS Backup มาใช้งาน
- ถ้าคุณต้องการ Support จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับ AWS Support
จากที่อธิบายไว้ด้านบน AWS จะมีการคิดค่าบริการแบบ Pay-As-You-Go ประมาณว่า คุณใช้เท่าไหร่เราคิดเท่านั้น แต่ของ Domestic Cloud ส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการเป็นรายเดือนหรือรายปี
ทำให้การคิดค่าใช้จ่ายไม่ยุ่งยากสำหรับองค์กรเมื่อเทียบกับ AWS รวมไปถึง Service ที่ให้มาของ Domestic Cloud จะเป็นแบบมัดรวมองค์ประกอบทุกอย่างมาให้จบในราคาเดียว ขอยกตัวอย่างแบบนี้นะครับ หลายท่านน่าจะรู้จัก Brand furniture ระดับโลก คือ IKEA ซึ่งเน้นไปที่ Self-service ในการเลือกซื้อสิ่งที่ต้องการ ถึงบ้านก็เอาไปประกอบเอง ติดตั้งเอง เหมาะกับแนว Individual ชอบทำเองมีทักษะ เมื่อเทียบกับ SB Furniture ที่เป็น Local Brand ที่ซื้อแล้วมีบริการส่งและติดตั้งให้ถึงที่พักอาศัย แบบนี้ SB จะเหมาะกับองค์กรมากกว่าเพราะไม่ต้องติดตั้งและนั่งประกอบเอง การติดตั้งหรือประกอบเองจะต้องใช้ Know-how และเวลา หลาย ๆ ท่านคงจะทราบแล้วว่าผมเทียบ IKEA เป็น Global Cloud และ SB Furniture เป็น Domestic Cloud พอจะมองเห็นภาพมากขึ้นไหมครับ
Domestic Cloud ส่วนใหญ่มีราคาที่ถูกกว่า ถ้าองค์กรไม่ได้มีเงื่อนไขที่จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ใหม่ล่าสุด Domestic Cloud ในปัจจุบันก็สามารถตอบโจทย์บริษัทได้เพียงพอ
เช่น Web Server, Database Server, File Server และ Active Directory หรืออื่น ๆ อีกมากมาย ในเรื่องของ Support แน่นอนว่า Domestic Cloud ต้องมีผู้ Support เป็นคนท้องถิ่นทำให้สื่อสารกันได้ง่ายกว่าและพร้อมช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันทำการแต่ของทาง AWS จะมีค่า Cost ที่สูงมากในการ Support สำหรับลูกค้าองค์กร รวมไปถึงค่าใช้จ่ายซ่อนเร้น เช่น Data transfer ที่หากมีการโอนถ่ายข้อมูลในปริมาณมากก็จะมี Cost ในส่วนนี้เพิ่มเติม
แบบไหนใช้งานดีกว่าหรือแย่กว่าขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน แล้วแบบไหนเหมาะกับใครล่ะ?
Domestic Cloud เหมาะสำหรับบริษัทที่ต้องการราคาที่แน่นอน,ชัดเจน, จ่ายเงินแบบรายเดือน หรือ รายปี
Global Cloud เหมาะสำหรับ Developer ที่ใช้งานเป็นแบบ Project ที่ Run ใช้งานไม่นาน, ต้องการใช้งานได้หลาย Region หรือ Technology ที่เน้นแนว ๆ AI, IOT เป็นหลัก
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง Domestic Cloud และ AWS
ลองเทียบราคา โดยยกตัวอย่าง Spec ที่ User ใช้งานกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้ครับ
CPU: 8 vCPU
Memory: 32 GB
HDD: 300 GB SSD
OS: Windows
Data transfer ประมาณ 50 GB
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ Blog นี้ มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ สามารถ Comment ได้เลยนะครับ หากสงสัยเรื่องไหนเกี่ยวกับวงการ IT
ก็สามารถ Comment มากันได้นะครับ ฝากกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับผม
หากท่านใดสนใจบริการ Cloud แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้บริการ Cloud Server ที่ไหนดี ก็สอบถามเราได้เช่นกันครับ
ขอบคุณครับ
หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาจะโจมตีหรือทำให้ Global Cloud (AWS) เสื่อมเสีย หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ
— Cloud HM