3 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Global Cloud มีใครบ้างมาดูกัน!

2,375
2,375

ใน Blog ก่อนหน้านี้ เราได้อธิบายคำว่า Cloud ให้ทุกคนรู้จักไปแล้วว่าคืออะไร คราวนี้ทาง Cloud HM จะมาขยายความของ Cloud ประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Global Cloud หรือ Public Cloud นั่นเอง เริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะ? ว่าจะมีการใช้งานอย่างไร มีความแตกต่างอย่างไรกับการใช้ Cloud กับ Cloud Service Provider ในประเทศ และหากสนใจใช้งานจะมีเจ้าไหนบ้างที่น่าสนใจ มาเริ่มกันเลย!

Global Cloud คืออะไร?

Global Cloud เป็น Cloud ประเภทหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบไม่ต่างจาก Domestic Cloud มากนัก แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้ให้บริการจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย รวมถึงทรัพยากรและระบบการจัดการ ไม่ว่าจะเป็น Server, Network และ Data Center จะอยู่ในต่างประเทศทั้งหมด โดยมีจุดเด่นที่ทำให้หลายคนเลือกใช้คือ มี Service ที่หลากหลาย, ยืดหยุ่น และเหมาะกับการใช้เป็น Project โดยไม่ต้องเสียงบประมาณทีเดียวเป็นจำนวนมาก เพราะ Public Cloud จะคิดค่าใช้จ่ายตามที่ใช้จริง (Pay as you go)

มารู้จัก 3 ผู้ให้บริการ Global Cloud ที่น่าสนใจ

1. Amazon Web Service (AWS)

Ref: https://aws.amazon.com/th

มาเริ่มกันที่ Global Cloud ที่เรียกได้ว่ามีส่วนแบ่งการตลาดมาเป็นอันดับแรก จาก statista สถิติล่าสุดในช่วงเวลา Q4 ของปี 2020 AWS ได้ส่วนแบ่งการตลาดถึง 32% โดย Service แรกที่ให้บริการนั้นก็คือ AWS EC2 หรือ Elastic Compute Cloud นั้นเอง เล่าย่อๆ ก็คือ EC2 เป็น Service ที่มีการประมวลผลที่หลากหลายและครบวงจรที่สุด โดยมีหน่วยประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ เครือข่าย ระบบปฏิบัติการ แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น! AWS ยังมี Service อื่นๆ อีกมากมาย ในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น Storage, Database, Machine Learning, Serverless, IoT และอีกมากมาย เราจะมายกตัวอย่าง Service ที่เด่นๆ ของ AWS กันนะคะ 
AWS Lambda – ที่ตอบโจทย์การใช้งานของเหล่า Developer หรือ Programmer เพราะสามารถรัน Code ได้โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ Server เลย
AWS Simple Storage Service (Amazon S3) – พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยมีจุดเด่นที่สามารถปรับขนาดได้ มีความพร้อมใช้งานของข้อมูล ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในระดับสากล

2. Microsoft Azure 

Ref: https://www.terrifictech.africa/products/cloud-platform/azure-services

Azure เรียกได้ว่าถูกสร้างขึ้นจากบริษัทที่เป็นผู้นำทางด้าน IT คือ Microsoft นั่นเองโดยสิ่งที่เราใช้ให้เห็นกันอยู่ในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น Window Version ต่างๆ หรือ Software เช่น Office 365 ที่ติดตั้งอยู่ใน Computer ก็เป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบ เพราะองค์กรใหญ่ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างยาวนาน ก็จะใช้งานและมั่นใจในระบบของ Microsoft อยู่แล้วเมื่อองค์กรเหล่านั่นหันมาสนใจใช้บริการ Cloud ก็คงหนีไม่พ้น Azure ที่เป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ โดย Azure มีการให้บริการมากถึง 200 Product ในส่วนของบริการที่น่าสนใจสำหรับผู้เขียนนั่นก็คือ Azure Container Service ที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้งานและจัดการ Container บน Microsoft ได้ ดังนั้น Azure จึงถือได้ว่าคู่แข่งที่สำคัญของ AWS ที่ผู้คนมักจะนำมาเปรียบเทียบกันว่าจะเลือกใช้บริการเจ้าไหนดี แล้วคุณล่ะเลือกเจ้าไหน? ก่อนจะตัดสินใจมาศึกษาความแตกต่างของเจ้า AWS และ Azure กันใน Blog AWS vs Azure ของทาง Cloud HM กันก่อนดีกว่าค่ะ

3. Google Cloud Platform

Ref: https://cloud.google.com/

มาต่อกันที่ GCP บริการจาก Google ที่ทุกคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว อย่างที่รู้กันว่า Google มี Search engine เป็นอันดับ 1 ของโลก ไม่เพียงเท่านั้น Google ยังมีบริการ ไม่ว่าจะเป็น Google Maps, YouTube, Google Play และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้เห็นว่า Google น่าจะเป็นบริษัทที่มี Data ในมือเยอะที่สุุดจากบรรดา 3 เจ้า ทางผู้เขียนจึงคิดว่าน่าจะเหมาะสมกับผู้ใช้งานเกี่ยวกับ Data เป็นจำนวนมาก เพราะสามารถรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มี Service เช่น DataLab, Dataflow, BigQuery รวมถึง Dataset ที่อยู่ในมือ เรามาขยายความถึง Service ที่เกี่ยวกับ Data กันดีกว่าค่ะ มาเริ่มกันที่อันแรกนั่นก็คือ Dataflow การประมวลผลข้อมูลโดยรองรับ Stream และ Batch ต่อมาคือ BigQuery เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งใช้หลักการของ Big Data สร้างตารางข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ แต่เข้าใจง่าย ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักวิเคราะห์ข้อมูลได้เป็นอย่างมาก นอกจากนั้น GCP ก็ยังมี Service ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Database หรือ Serverless เช่นกัน

Global Cloud ดีกว่ายังไง?

  • เทคโนโลยีการให้บริการที่มากกว่า – สิ่งที่ทำให้คนนิยมใช้ Public Cloud อันดับแรกคงหนีไม่พ้นการมีเครื่องการใช้งานที่ตอบโจทย์และหลากหลายกว่า โดย Public Cloud จะมี Service ที่ตอบโจทย์แทบจะทุกสายอาชีพไม่ใช่แค่ IT เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ นักการตลาด บัญชีและอื่นๆ อีกมากมาย
  • ติดตั้งและตั้งค่า ได้ง่ายกว่า – มีหน้า Console และ Service ที่สามารถเลือกใช้โดยติดตั้งแค่ไม่กี่คลิก โดยไม่ต้องดูแล Infrastructure เอง เพราะมีผู้เชี่ยวชาญคอย Support คุณอยู่ตลอดเวลา 
  • เสถียรและง่ายต่อการขยับขยาย – ถ้าหากองค์กรของคุณมีการต้องเข้าใช้งานจากหลายๆ ประเทศ หรือมีผู้ใช้งานอยู่ในพื้นที่ห่างไกล Public Cloud ถือว่าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์เพราะมักมีการแบ่งโซนของการให้บริการหรือที่เรียกว่า Region โดยจะนำระบบประมวลผล ฐานข้อมูล เครือข่ายเน็ตเวิร์ค และอื่นๆ ไปติดตั้งในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ให้ใกล้กลุ่มผู้ใช้งานที่สุดเพื่อให้เรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว มี Latency ที่ต่ำ รวมถึงสามารถใช้เครื่อข่ายเน็ตเวิร์คได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ – เพราะ Public Cloud ผ่านการรับรองด้วยมาตรฐานสากลมากมายและมีระบบ Security ขั้นสูง

ข้อเสียของ Global Cloud 

  • ชำระเงินโดยต้องใช้บัตรเครดิต – ในกรณีที่ใช้บริการ Cloud โดยตรงกับผู้ให้บริการเช่น AWS, Azure, GCP จะมีวิธีการชำระเงินเพียงแค่บัตรเครดิตเท่านั้น ไม่สามารถวางบิลหรือออกใบกำกับภาษีในประเทศไทยได้ บางบริษัทจึงใช้บริการ Public Cloud ผ่าน Cloud Service Provider ที่อยู่ในประเทศไทย เพื่อที่จะสามารถชำระเงินแบบ Local Billing ได้  ซึ่งทาง Cloud HM เองก็มีให้บริการ Local Billing ทั้ง AWS, Azure และ Google ในอีกเร็ว ๆ นี้
  • ค่าบริการสูงกว่าและแตกต่างกันในแต่ละผู้ให้บริการ – ราคาที่ต้องจ่ายจริงมีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ได้จ่ายครั้งเดียวแล้วจบ แตกต่างจาก Domestic Cloud ที่จะมีการคิดค่าบริการเป็นรายปีหรือรายเดือน ยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายของ AWS เช่น ค่าบริการรายชั่วโมง, ค่าบริการในส่วนของ Storage  โดยเฉพาะในส่วนของค่าบริการ Data transfer ซึ่งถ้าเป็น Cloud Service Provider ที่ให้บริการ Domestic Cloud  ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะไม่มีการคิดใช้จ่ายเพิ่มในส่วนนี้ หากอยากทราบรายละเอียดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ต่อจาก Blog นี้เลยค่ะ

Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยมิเจตนาเปรียบเทียบหรือโจมตีผู้ให้บริการ Public Cloud ใดๆ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่ใน Blog หน้าค่ะ มาดูกันว่าทาง Cloud HM จะนำเรื่องอะไรมาให้ทางผู้อ่านทุกท่านได้อ่านกันนะคะ สำหรับ Blog นี้ขอบคุณและสวัสดีค่ะ

— Cloud HM