3-2-1 BACKUP RULE คืออะไร จำเป็นด้วยหรอ?

สวัสดีครับ ชาว IT ทุกท่าน วันนี้กลับมาพบกับสาระกับเรากันอีกครั้งในช่วงปลาย ๆ เดือนแบบนี้นะครับ ในทุก ๆ องค์กรจะต้องมีระบบ Backup อย่างแน่นอนใช่มั้ยครับ ถึงแม้ว่าระบบการทำงานหลักจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ แต่การ Backup ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ในหลาย ๆ องค์กรที่อาจจะยังไม่มีระบบ Backup หรือมีระบบ Backup แล้ว แต่ยังไม่ได้จัดสรร หรือ วางแผนในการ Backup ให้ครอบคลุมเหตุการณ์เสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น วันนี้เราจะมาพูดถึง 3-2-1 Backup Rule กันนะครับ

3-2-1 Backup Rule คืออะไร?

3-2-1 Backup Rule เป็นข้อความสั้น ๆ ที่ช่วยให้จำได้ง่ายว่าเงื่อนไขในการ Backup ควรจะมีอะไรบ้างถึงจะครอบคลุมการ Backup ที่ควรจะเป็น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันครับ

เดี๋ยวเราจะมาไล่ดูความหมายของแต่ละตัวเลขกัน มาเริ่มกันเลยครับ

3 – มาจาก “ต้องมี Backup อย่างน้อยจำนวน 3 Copy”

แล้วทำไมต้องมี 3 Copy ล่ะ? แค่ 1 Copy ไม่เพียงพอหรอ? 

Primary Backup คือการ Backup ไว้ที่เดียวกับ Production Data มีโอกาสที่จะสูญหายหรือใช้งานไม่ได้ สมมุติว่าโอกาสที่ข้อมูลหลักจะเสียหาย เกิดได้จากอุปกรณ์ที่เก็บ Data เสียหาย มีโอกาส 1%

หรือ 1 ใน 100 ส่วน ถ้าคุณมีเพียง 1 Copy ก็ไม่มีอะไรรับประกันความเสี่ยงของ Data คุณได้ว่าจะเสียหายเมื่อไหร่ จะมีอะไรมารองรับ

แต่ถ้าคุณมี Backup Copy นึง ที่เก็บไว้ที่อุปกรณ์ที่ 2 ความเสี่ยงของคุณจาก 1% ก็จะลดลงเป็น 1/100 * 1/100 = 0.01%

ที่นี้ถ้ามี 2 Copy ความเสี่ยงก็จะลดลงอีกเป็น 1/100 * 1/100 * 1/100 = 0.0001%

จากด้านบน จำนวน Data มีทั้งหมด 3 Copy ได้แก่ Primary Backup + Backup ชุดที่ 2 + Backup ชุดที่ 3

ทำให้ลดโอกาสที่ Data จะเสียหาย เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทำงานของใครของมัน แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงครับ

2 – มาจาก “เก็บ Backup จำนวน 2 Copy ไว้ที่อุปกรณ์แตกต่างกัน”

อ้างอิงจาก 3 Copy ด้านบน ถ้าเราเก็บ Backup ไว้ที่ Storage หรือ HDD ซึ่งทั้งสองชนิด มีโอกาสเสียอยู่ประมาณนึงไม่ช้าก็เร็ว

ถ้ามี Production Data และ Primary Backup ไว้ที่อุปกรณ์เดียวกันจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน

จึงต้องมีทางเลือกในการเก็บ Backup เช่น Primary Backup ปกติจะอยู่ใน Internal HDD ของ Server, Backup ชุดที่ 2 ก็ควรจะอยู่ใน Internal HDD ของอีก Server นึง หรือ อาจจะเป็นอุปกรณ์อื่นที่ถอดออกได้ เช่น NAS, Tape, External Hard drive, CD, DVD หรือแม้แต่ Floppy disk ก็ได้เช่นกัน

1 – มาจาก “เก็บ Backup อย่างน้อย 1 Copy ที่ Offsite”

การที่เราแยก Backup ไว้แต่ละ Server แล้ว ก็ช่วยลดความเสี่ยง แต่ถ้า Primary Data และ Backup Copy อยู่ในสถานที่เดียวกัน แล้วอยู่มาวันนึงปัญหาที่เกิดขึ้นมันเป็นระดับ Scale ใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ Server ที่เก็บ Primary Data พัง แต่เป็นสถานที่นั้นเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ไฟไหม้, น้ำท่วม, ปัญหาทางการเมือง หรือ อื่น ๆ เราจะไม่สามารถใช้งานหรือกู้ข้อมูลได้เลย

ทำให้เราควรจะมี Backup อย่างน้อย 1 Copy เก็บไว้ที่สถานที่อื่น เช่น บริษัท A มี Primary Data และ Backup ชุดที่ 1 เก็บไว้ที่ HQ บริษัทควรจะมี Backup ชุดที่ 2 ที่ Branch ด้วย

บางบริษัทอาจจะไม่ได้ใหญ่มากถึงขั้นมีสาขาย่อย อีก Option นึงที่ทำได้คือ เก็บไว้บน Cloud (มองว่า Cloud เป็น Branch) ก็มีหลายบริษัทที่ทำแบบนี้

ทาง Cloud HM ก็มีการใช้ในบริการในรูปแบบนี้ ชื่อว่า cloudBackup ครับ

3211Source

สรุปการทำ Backup ตาม 3-2-1 Backup Rule

“ต้องมี Backup อย่างน้อยจำนวน 3 Copy”

“เก็บ Backup จำนวน 2 Copy ไว้ที่อุปกรณ์แตกต่างกัน”

“เก็บ Backup อย่างน้อย 1 Copy ที่ Offsite”

3-2-1 Backup rule เป็นอะไรที่ค่อนข้างเข้าใจได้ง่ายและใช้ได้กับทุกชนิดฐานข้อมูล ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเล็กหรือใหญ่ จะเป็น Physical Server หรือ Virtual Server

หากนำ Rule นี้ไปใช้จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับองค์กรของคุณให้เดินหน้าต่อไปโดยไม่ติดขัดครับ สามารถลองคำนวณ Backup Capacity ที่คุณต้องการดูได้ครับ ทาง Cloud HM ได้จัดทำขึ้นไว้

หวังว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณและองค์กรของคุณ ไม่มากก็น้อยครับ

หากสนใจบริการ สามารถติดต่อได้ที่ Website ของ Cloud HM หรือ Comment ไว้ด้านล่างโพสได้เลยครับ

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงมุมมองและความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ

— Cloud HM