[Update] Windows Server 2022 Features


Notice: Undefined variable: body in /var/www/wordpress/wp-content/plugins/seed-stat-pro/admin/class-seed-stat-admin.php on line 264
946
946

สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ชาว IT วันนี้มีข่าวมา Update ให้ทุกท่านเกี่ยวกับ Version ของ Windows Server ซึ่งก็คือ เจ้า Windows Server 2022 นั่นเองครับผม ส่วนรายละเอียดจะมีอะไรบ้างนั้น เชิญอ่านได้เลยครับ!!

ทาง Microsoft ได้มีประกาศใน Event Microsoft Ignite 2021 ว่าได้มีการพัฒนา Window Server 2022 ขึ้นมาให้ทดลองใช้งานแล้ว โดยเป็นแบบ Preview version


Windows Server 2022 จะเป็น Version ที่เป็นแบบ Long-term servicing channel (LTSC) โดยท่านไหนที่สนใจสามารถ Download ได้ที่นี่ (แต่คุณต้องเป็น Member ของ Microsoft Insider ก่อนนะครับ) หรือจะทดสอบผ่านทาง Azure VM โดยการ Deploy โดยเลือก Source จาก Azure Marketplace ซึ่งค่า Configure เกี่ยวกับ Security Baseline ทาง Azure จะตั้งค่ามาให้โดย Default นะครับ


ในส่วนของ Management Portal news มีการออก Windows Admin Center version 2103 มาให้ได้ใช้งานกันแล้ว ซึ่งสามารถ Integrate กับ Azure Portal ได้


Windows Admin Center version 2103 ยังรองรับการใช้งาน Azure IoT Edge สำหรับ Linux บน Windows ไม่ว่าเป็น

  • การช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตั้ง
  • การตั้งค่าปรับจูน (Configuration)
  • การวิเคราะห์ปัญหา (Diagnostic)

Windows Server 2022 Features

Feature ที่เราเห็นกันได้ค่อนข้างชัดเลยก็คือเรื่องของ Security, Portal Integration และ Windows Containers ที่ Support บน Kubernetes แล้ว

  • ขนาด Image ของ Windows Container ได้ถูกปรับให้เล็กลงแล้วครับ ทำให้มีการพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และความเร็วในการ Download ก็เพิ่มขึ้น เล็กลงขนาดไหน? ก็ลดลงมากในระดับ Gigabyte เลยครับ
  • เพิ่มความสามารถในการ Run Application ที่ต้องใช้ Azure Active Directory กับ group Managed Services Account (gMSA) โดยที่ไม่ต้อง Join Container host เข้ากับ Domain
  • สามารถใช้ Calico ในการกำหนด Policy ข้าม Hybrid Kubernetes clusters ได้
  • สามารถตั้งค่า Kubernetes ได้ง่าย ๆ โดยการตั้งค่านี้รวมไปถึงการ Configure Node สำหรับ Host-process Containers และยังรองรับ IPv6 ด้วย
  • ในส่วนของ Workload นะครับ Microsoft เค้าเคลมว่า Windows Server 2022 สามารถรองรับกับการ Scale ปริมาณมหาศาลสำหรับ Application เช่น SQL Server ได้ โดย Workload ใหม่ที่ว่ารองรับการสร้างได้ถึง 48 TB สำหรับ Memory และ 2,048 Cores ที่ใช้งานได้กับ Physical Socket จำนวน 64 Sockets ครับ
  • Windows Server 2022 ยังมีการใส่ความสามารถเรื่อง Security ไว้ในตัวอีกด้วย เช่น มีการตั้งค่าให้ใช้ HTTPS และ TLS 1.3 มาโดย Default. SMB Protocol ที่ใช้ใน Windows Server 2022 จะเป็นแบบ AES-256 encryption

แต่สำหรับเรื่องใหญ่ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ การที่นำเอา Secured-core protection มาให้ทดลองใช้งานแล้ว

Secured-Core Server Protection


ในส่วนของด่านหน้าของ Security สำหรับเจ้า Feature ใหม่ที่มีใน Windows Server 2022 ซึ่งก็คือ Secured-core server นั่นเอง ความสามารถของเจ้าตัวนี้คือการที่เราสามารถเพิ่มการป้องกันในเรื่องของ Security ได้ในระดับ Firmware โดยการใช้ Hardware ที่ผ่านการ Qualified แล้วครับ
Secured-Core server เป็น Hardware และ Virtualization-based security ที่ออกแบบมาให้ติดตั้งพร้อมกับ OS ทำให้สามารถป้องกันการแก้ไขจาก Rootkits หรือ Bootkits ในระหว่างการ Boot เครื่องได้ คล้าย ๆ กับ Feature ของ Windows 10 ที่เป็นแบบ Secured-core ที่มีการออกแบบมาให้ใช้งานกันมาสักระยะแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้รองรับแค่ Windows เพียงอย่างเดียว Linux ก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน
อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นว่าการจะใช้ Secured-Core Server Protection จะต้องใช้กับ Hardware ที่ผ่านการ Qualified ฉะนั้น Chip ของ Microsoft ที่จะใช้ Feature นี้ได้ จะต้องรอทาง Microsoft ทำข้อตกลงกับ AMD และ Intel ก่อน โดยจากการประมาณการจะสามารถให้ออกวางขายให้เริ่มใช้งานได้ในปี 2021 นี้แหละครับ สำหรับ Hardware แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่ Chipset ฉะนั้น ถ้าจะมองหา Brand ในตลาด ก็แน่นอนครับต้องมี Dell EMC, HP Enterprise และ Lenovo นั่นเอง


Management Portal Integration


Microsoft ระบุว่า Azure Arc และ Storage Migration เป็น 2 สิ่งที่ทำงานในรูปแบบ Hybrid ได้ดีกับ Windows Server 2022

  • Azure Arc เป็น Tool สำหรับบริหารจัดการ Multicloud และ On-Premises
  • Storage Migration จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อ File Servers ที่ On-Premises กับ File Servers บน Azure สำหรับการทำ Migration ของข้อมูลนั่นเอง

นอกจากนั้น ตัว Windows Admin Center portal ได้มีการนำเอา Azure Portal มา Integrate แล้ว ทำให้สามารถบริหารจัดการ VM ผ่านทาง Windows Admin Center portal ได้เลย (VM ที่บริหารได้ต้องเป็น Windows Server 2016 ขึ้นไป)
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับการ Update ของ Windows Server version ล่าสุด หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่เข้ามาอ่านกันนะครับ สำหรับใครที่สนใจจะใช้งาน Windows Server ทาง Cloud HM มีให้บริการอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Enterprise Cloud หรือ DevOps Cloud นะครับ สนใจบริการติดต่อได้ที่นี่เลยครับ
ขอบคุณครับ

— Cloud HM