Terminal Server (RDS) VS VDI แตกต่างกันอย่างไร?


Notice: Undefined variable: body in /var/www/wordpress/wp-content/plugins/seed-stat-pro/admin/class-seed-stat-admin.php on line 264
3,900
3,900
สวัสดีชาว IT ผู้ที่ WFH (Work From Home) ทุกท่าน สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ WFH ก็ไม่ต้องน้อยใจนะครับ ระวังตัวเอง ดูแลสุขภาพด้วยครับ วันนี้จะมาแนะนำกันในหัวข้อ Terminal Server (RDS) VS VDI เราจะนำทั้ง 2 รูปแบบของการใช้งานผ่านทางไกล (Remote) มาเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสียกัน เพื่อที่จะให้ชาว IT อย่างเรา ๆ ได้เลือกใช้ Solution ที่เหมาะสมกับบริษัทหรือหน่วยงานของเรากันครับ ก่อนอื่นเลย เรามาดูนิยามของแต่ละตัวกันก่อนครับ

Terminal Server คืออะไร

Terminal Server หรือ Remote Desktop Services (RDS) เป็น Feature ที่มีมาให้ใน Windows Server ตั้งแต่ Version NT 4.0 มาจนถึงปัจจุบัน ทำหน้าที่เป็น Host ในการที่จะให้ Client หรือ User สามารถ Remote เข้ามาใช้งาน Infrastructure ของ Terminal Server เพื่อที่จะสามารถไปใช้งานส่วนอื่น ๆ ได้เช่น (File Server, Database, Application)

ก่อนจะแนะนำวิธีการ Download ขอนิยามความหมายของศัพท์ดังนี้ เพื่อให้เข้าใจเป็นหน้าเดียวกันนะครับ
Client หมายถึงผู้ใช้งานทั่วไป มีคอมอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน
User หมายถึง User ที่ใช้สำหรับการ Remote
Admin หมายถึง ผู้ดูแล Terminal Server (RDS)
วิธีการ Remote สามารถทำได้ผ่าน Application basic ของ Windows ทุกเครื่องนั่นก็คือ “Remote Desktop Connection” โดยทางผู้ดูแล Terminal Server จะต้องเป็นผู้สร้าง User ให้กับ Client ก่อนที่จะใช้งานได้ หลังจากที่ Client remote ไปยัง Terminal Server แล้วจะพบกับ Application ที่ทาง Admin เป็นผู้ติดตั้งให้ โดย Application ที่ User จะสามารถใช้งานจะเหมือนกันทุก User เนื่องจากทาง Admin จะต้องติดตั้ง Application ที่ User จะใช้งานลงไปที่ Terminal Server ก่อน

สำหรับสิ่งที่ทาง Admin ต้องเตรียมในการจะใช้งาน Terminal Server (RDS) ได้แก่

  1. Infrastructure ที่รองรับการติดตั้ง Windows Server โดยจะต้องมี CPU, RAM และ Hard disk เพียงพอที่รับ Load ของ Client ทั้งหมดที่เข้ามาใช้งานได้
  2. Remote Desktop Services License (RDS License) เป็น License ที่ต้องมีไว้ตามจำนวน User ที่จะใช้งาน Remote อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cloudhm.co.th/community/blog/remote-desktop-cals/
  3. SSL-VPN มีไว้เพื่อเพิ่ม Security ในการใช้งาน เป็นการกรองว่าเป็น User จริง ๆ ในบริษัทหรือองค์กรที่เข้ามาใช้งาน อีกนัยนึงก็คือทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นหากพบการโจมตี หรือ ข้อมูลรั่วไหล
ข้อดีของ Terminal Sever (RDS) มีอะไรบ้าง?

  1. ลดการติดตั้ง OS และ Software ใน Desktop หรือ Laptop
  2. Software ที่ใช้งานจะเป็น Version เดียวกันหมด Admin เป็นผู้ดูแลการ Update Client ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม
  3. ข้อมูลทั้งหมดเก็บไว้ที่ Server
ข้อเสียของ Terminal Server (RDS) มีอะไรบ้าง?

  1. Share Environment – หาก User ใดมีการใช้งาน Resource สูง จะทำให้ User อื่นได้รับผลกระทบในการใช้งาน เช่น ใช้งานช้า
  2. Software – บาง Software ไม่ได้ Design ให้ใช้งานกับ Windows Server เช่น โปรแกรมบัญชี, โปรแกรมตัดต่อเสียง, โปรแกรมตัดต่อรูปภาพ
  3. Video and Sound – หากเป็นงานที่ต้องใช้เสียงกับวิดีโอ Windows Server จะมีปัญหาในการใช้งานเนื่องจากไม่รอบรับระบบภาพและเสียงโดยสมบูรณ์
  4. VPN – ต้องใช้ VPN ก่อนจะเข้าไปใช้งาน เพิ่มความยุ่งยากให้ User
  5. ต้องสลับหน้าจอไปมา ถ้าจะดู Video และไฟล์ที่มีเสียงต่าง ๆ
  6. RDS License ต้องซื้อ License ตามจำนวน Client ที่ใช้งาน
  7. ถ้า Server เสีย Client จะใช้งานไม่ได้
  8. Connectivity ถ้า Client มีปัญหาเรื่อง Internet จะทำให้กระทบการใช้งาน

VDI คืออะไร

VDI ย่อมาจาก Virtual Desktop Infrastructure เป็นเครื่องแม่ หรือเครื่องกลาง (Host) ให้กับ Desktop ย่อยหลาย ๆ เครื่อง โดยใน Environment ของ VDI สามารถระบุ OS ที่จะมา Run ได้ โดยสั่ง Deploy จาก Image ที่มี สิ่งที่ Admin ต้องทำคือ สร้าง User ให้กับ Client และกำหนดสิทธิ์ว่าจะให้ Client ใช้งานได้ในลักษณะใดได้บ้าง พูดง่าย ๆ ก็คือ เวลา Client Login ด้วย User มาใช้ VDI ก็เหมือนตัวเองได้คอมมาใช้งานอีกเครื่องนึงโดยที่ไม่ต้องซื้อคอมใหม่

ความแตกต่างของ VDI กับ Terminal Server (RDS)

VDI จะแตกต่างจาก Terminal Server (RDS) ตรงที่ Admin สามารถกำหนด Resource ให้แต่ละ User ได้ เช่น User กลุ่มนี้เป็นแผนกการเงินและบัญชี ให้ติดตั้ง Software เช่น Microsoft office, Express อีกกลุ่ม User เป็นแผนก Marketing ให้ติดตั้ง Adobe Photoshop หรือ Application อื่น ๆ ที่ใช้งาน Graphic เยอะ เป็นต้น
จากตัวอย่างนี้ทำให้ VDI ได้เปรียบ Terminal Server ตรงที่สามารถทำงาน Graphic ได้ และสามารถเล่น Sound ได้ เพราะ VDI ทำมาเพื่อรองรับให้ Client ที่ใช้งานเหมือน Desktop ทุกประการ อ้างอิงจากชื่อคือ Virtual Desktop รวมไป Software ที่ Support ได้ครอบคลุมกว่า Windows Server เพราะ VDI สามารถติดตั้ง Window 7/10 ได้
การใช้งานก็ง่ายกว่า ไม่จำเป็นต้อง VPN ก่อนการใช้งาน เพียงแค่ใช้งานผ่าน Web browser หรือ Application ก็สามารถ Login เข้าใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับ User ทั่ว ๆ ไป

ข้อดีของ VDI มีอะไรบ้าง?

  1. Dedicated Environment – User จะได้รับ Resources ที่เหมาะสมต่อหน้าที่ของตัวเอง
  2. Software ที่ User ใช้งานจะได้รับไม่เหมือนกันตามแผนกหรือหน้าที่ของตัวเอง
  3. สามารถเล่นเสียงและ Video ได้ ทำให้ใช้งานด้าน Graphic ได้
  4. การเข้าใช้งานไม่ยุ่งยาก เข้าใช้งานผ่านทาง Web Browser ได้
  5. ไม่จำเป็นต้องมี PC หรือ Laptop ที่มี Spec สูง ขอให้ใช้งาน Web Browser ได้ก็พอ เพราะ Resources ทุก ๆ อย่างจะไปหนักที่ปลายทางเป็นส่วนใหญ่
ข้อเสียของ VDI มีอะไรบ้าง?
  1. ต้องจัดการจุกจิกเกี่ยวกับ Software ของแต่ละแผนกที่แตกต่างกัน
  2. ถ้า Server เสีย Desktop จะพังทั้งหมด (ต้องทำ HA กับ Server เพิ่ม ถ้าจะป้องกันความเสี่ยง)
  3. Connectivity ถ้า Client มีปัญหาเรื่อง Internet จะทำให้กระทบการใช้งาน
สรุปข้อแตกต่างให้ตามตารางดังนี้ครับ

สำหรับการเลือก Solution สามารถหยิบข้อแตกต่างทางด้านบนมาพิจารณาเปรียบเทียบได้นะครับ

ถ้าใครมีคำถามสามารถ Comment เพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างเลยนะครับ หรือหากต้องการให้เขียนเรื่องใด สามารถ Request เข้ามาได้ครับ ทางผู้เขียนพร้อมแชร์ไอเดียดี ๆ ให้ได้เรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ
ขอบคุณครับ
หมายเหตุ: Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว  อาจมีข้อผิดพลาด หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมครับ

— Cloud HM