ใช้ Big Data บน AWS เพื่อช่วยทำกลยุทธการตลาดได้อย่างไร?

207
207

เมื่อเราทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ สิ่งที่เราต้องการก็คือลูกค้าใช่ไหมคุณผู้อ่าน วิธีการทำให้ลูกค้าสนใจในธุรกิจของเรานั่นก็คือการทำกลยุทธทางตลาดหรือที่เรียกว่า Marketing นั่นเอง การทำ Marketing นี่ฟังแล้วเหมือนจะทำได้ง่าย ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าก็แค่ทำโฆษณา แจกใบปลิว ประกาศตามสื่อ Social Media ต่าง ๆ ก็พอแล้ว ใช่ครับ ไม่ผิด เราสามารถทำแบบนี้ได้

แต่ว่าถ้าเราทำการตลาดโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนก็อาจจะกลายเป็นว่าเราลงทุนกับการตลาดมากเกินไป เราควรจะต้องลงทุนในการทำการตลาดให้เหมาะสม พูดง่าย ๆ ก็คือเราจะต้องเลือกเจาะให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการและเหมาะสมกับธุรกิจของเรามากที่สุด ซึ่งการทำให้ Marketing Strategy ของเรานั้นมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดนั้นเป็นสิ่งที่หลาย ๆ บริษัทก็ทำกัน และมีแผนกฝ่ายการตลาดแยกออกมาเพื่อดูแลสิ่งเหล่านี้ให้กับบริษัทกันเลยทีเดียว

ผมกำลังจะบอกว่าการทำการตลาดนั้นยาก มีหลายปัจจัยที่เราต้องศึกษา ถ้าไม่ยากเราก็คงไม่เรียนกันเป็นเทอม ๆ ปี ๆ กันในมหาวิทยาลัยถูกไหมครับ แล้วถ้าหากเราต้องการที่จะทำให้การตลาดของเรานั้นพุ่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย เจาะไปที่ฐานลูกค้าที่กำลังมองหา Product ของธุรกิจของเราพอดีนั้น เราจะทำได้ยังไง ในบทความนี้ผมจะมาอธิบายหรือเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการใช้สิ่งที่เรียกว่า Big Data เข้ามาช่วยเราในการทำการตลาดได้ตรงจุดกันครับ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Big Data กันก่อน (ถ้าผู้อ่านคนไหนที่รู้จัก Big Data อยู่แล้วก็ขช้ามย่อหน้านี้ไปได้เลยครับ อิอิ) เอาหล่ะ เรามาเริ่มกันเลย!

Big Data ถ้าแปลตรงตัวความหมายของคำนี้ก็คือ ข้อมูลขนาดใหญ่ ใช่ครับ เราแปลแบบนี้ได้เลย เพราะว่า big Data นั้นเป็นศาสตร์ที่เราทำการรวบรวมข้อมูลของสิ่งที่เราสนใจให้มีปริมาณที่เยอะที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แล้วเราก็วิเคราะห์หาความเชื่อมโยงภายในข้อมูล สกัดสิ่งที่สำคัญหรือบางสิ่งบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลออกมา ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้นก็คือกุญแจที่จะช่วยให้เราไขความลับของข้อมูลได้ เมื่อเราเข้าใจข้อมูลแล้ว เราจะสามารถอธิบายธุรกิจของเราได้ ประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง รวมไปถึงสิ่งที่ต้องพัฒนาหรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจะเห็นใน Product ของเรา

เมื่อเรานำ Marketing มารวมกับ Big Data สิ่งที่เราจะได้ก็คือการทำการตลาดโดยใช้ข้อมูลในการนำทางหรือขับเคลื่อนนั่นเอง ภาษาอังกฤษเรียกเท่ ๆ ว่า Data-Driven Marketing ก็คือการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ถ้าข้อมูลน้อยหรือข้อมูลผิด ผลที่ได้ก็คือการทำการตลาดของเราก็จะให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดี ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดยุคใหม่จะต้องทำก็คือการให้ความสำคัญในการเตรียมข้อมูลก่อนที่จะวางแผนธุรกิจ ทั้งในด้านแผนการตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้า การทำแคมเปญโฆษณา การพัฒนาสินค้า และบริการตัวใหม่ รวมทั้งการบริการแบบรู้ลึก และเข้าใจลูกค้าแบบเฉพาะรายบุคคล ยิ่งหากธุรกิจรู้จักการใช้ Data ให้เกิดประโยชน์กับการตลาดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมของฐานลุกค้าปัจจุบันได้มากเท่านั้น ทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในตลาดใหม่ ๆ ได้มากยิ่งขึ้น

เรามาดูกันดีกว่าว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่เราควรใช้ Big Data ในการทำ Marketing ครับ

1. เข้าใจถึงพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการทำการตลาดแบบ Personalization

สิ่งสำคัญในการทำการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ คือการนำ Data มาต่อยอดในการทำการตลาดให้ตอบโจทย์มากขึ้น ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต รวมทั้งการทำให้ลูกค้ากลายเป็น ลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ (Customer Loyalty) จะช่วยสร้างโอกาสให้นักการตลาดรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ซึ่ง Data ที่นำมาวิเคราะห์นั้น สามารถใช้ข้อมูลด้าน  Demographic และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเมื่อใช้โซเชียลมีเดีย รวมทั้งการเข้าเว็บไซต์

2. สามารถใช้ Data ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ยิ่งนักการตลาดสามารถวิเคราะห์ และวัดผลลัพธ์จาก Data ได้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เราวางแผนตัดสินใจในการทำธุรกิจครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น เร็วยิ่งขึ้น และไม่มัวเสียเวลาไปกับการทำการตลาดที่ไม่มีทิศทางที่แน่นอน หรือไม่ตอบโจทย์ในการซื้อสินค้า การทำธุรกิจออนไลน์ให้อยู่รอดได้ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด หมายความว่า แต่ละธุรกิจย่อมมีกลุ่มผู้บริโภคที่ต่างกัน อยู่ในพื้นที่ต่างกัน มีช่องทางการกระจายสินค้า และการโฆษณาที่ไม่เหมือนกัน หากนักการตลาดสามารถเจาะข้อมูลที่จะนำมาต่อยอดได้มากเท่าไหร่ การตัดสินใจในการทำกลยุทธ์ครั้งต่อไปก็จะคมขึ้นเท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้น องค์กรของคุณก็จะได้เปรียบทางการแข่งขันจากการใช้ Data สร้างสินค้าและบริการที่เหนือกว่า ทำให้สามารถอยู่ในสนามแข่งขันในโลกดิจิทัลได้ในระยะยาว

3. Data-Driven Marketing ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์

ลำดับถัดมาคือเรื่องของการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาช่วยครับ ถึงแม้ว่าสินค้า และบริการของเราจะมีคุณภาพ ใช้วัตถุดิบดี มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ หรือใส่ใจลูกค้าในด้านการบริการมากแค่ไหน แต่หากนักการตลาดไม่ได้ใช้ Data เข้ามาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ก็อาจจะทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า เพราะผลิตภัณ์ของเราไม่เป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนั้น ๆ เพราะฉะนั้น การใช้ Data ในการทำการตลาดออนไลน์จะช่วยให้แบรนด์ออกแบบผลิตภัณ์ได้ตรงใจกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น

4. สามารถตอบสนองกับลูกค้าได้แบบ Real-Time

Data-Driven Marketing ทำให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ด้วยการนำเสนอข้อมูล ที่เป็นคอนเทนต์จากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน หรือ ระหว่างเดินทางด้วยสมาร์ทโฟน เรียกง่าย ๆ ว่ากลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงแบรนด์ของคุณได้แบบทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งความก้าวหน้าของระบบวิเคราะห์ Data อย่าง Machine Learning ที่สามารถเก็บข้อมูลที่มีจำนวนมากในเวลาเพียงเสี้ยววินาที จะทำให้แบรนด์วิเคราะห์ว่าลูกค้าใช้ช่องทางใดในการเข้าถึงสินค้า และบริการบ้าง ต้องการคอนเทนต์แบบไหน หรือแคมเปญแบบใดที่ตอบโจทย์ การตอบสนองลูกค้าได้แบบ Real-Time หรือ การโต้ตอบลูกค้าได้แบบทันที จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้น มีโอกาสตัดสินใจซื้อสินค้าจากเราเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มเปลี่ยนใจจากการใช้บริการจากแบรนด์อื่น มาใช้บริการของแบรนด์เรา

การทำการตลาดด้วย Platform ของ AWS

ระบบของ AWS นั้นช่วยให้เราสามารถทรานส์ฟอร์มหรือเปลี่ยนการวิเคราะห์การตลาดได้อย่างง่ายมาก ๆ รวมไปถึงการทำการโฆษณาไปยังลูกค้าโดยอ้างอิงประสบการณ์อันยอดเยี่ยมของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากว่าลูกค้านั่นอยู่คนละแชนแนลก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย เพราะว่า AWS Data Lake นั้นเป็นการใช้งานที่ผ่านตัวการทำข้อมูลแบบศูนย์กลางหรือ Centralizing Marketing Data ซึ่งช่วยให้แอพพลิเคชั่นของเรานั้นสามารถทำงานกับบริการหรือเครื่องอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องมือที่เราสามารถเรียกใช้งานได้ก็จะมี ตัวชี้วัดการทำแคมเปญ ตัวประเมินพฤติกรรมลูกค้า ตัววิเคราะห์เว็บไซต์ ตัวจัดการประวัติการซื้อขาย ตัววิเคราะห์การจัดโปรโมชั่นร่วมกับหุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์ของเรา และแน่นอนว่ามีบริการการทำแมชชีนเลิร์นนิ่งด้วยครับ โดยแผนภาพด้านบนก็คือ Workflow การทำงานร่วมกันของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั่นเอง

การทำโฆษณาดิจิทัลด้วย AWS

เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลูกค้าในการทำโฆษณาแบบดิจิทัลถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจเลยก็ว่า เพราะถ้าหากเรามุ่งเป้าผิดจุด เราก็จะไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้าเลย ซึ่ง AWS ก็เข้าใจปัญหาและความกังวลในจุดนี้ดี โดยแผนภาพด้านบนคือการทำโฆษณาโดยใช้ระบบ Ad Technology เข้ามาช่วย โดยวสามารถช่วยให้เราวิเคราะห์การทำ ad ได้แบบต่อเนื่องหรือ real-time นั่นเอง ไม่ว่าจะบนช่องไหนก็ตาม ทั้ง Facebook, Twitter, Youtibe, Google Search เป็นต้น โดยทำง่าย ๆ ด้วยแต่คลิกเดียวบน Data Lake Setup นอกจากนี้ยังมีบริการอื่น ๆ อีก เช่น Amazon Advertising ซึ่งมีการใช้สิ่งที่เรียกว่า Data Management Platform (DMP) เข้ามาช่วยในการจัดเก็บ ประมวลผล และรวมข้อมูลของลูกค้าก่อนที่เราจะนำข้อมูลไปทำการวิเคราะห์ต่อด้วยเครื่องมืออื่น ๆ

กรณีศึกษาของ AWS

สองบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกที่เป็นลูกค้าของ AWS นั่นคือ McDonald’s และ Coca Cola ก็ถือว่าใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้ามาช่วยในการออกแบบสินค้าหรือเมนูอาหารใหม่ ๆ รวมไปถึงรสชาดของเครื่องดื่มด้วย โดยปกติแล้วเรามักจะมีการทำสำรวจกันใช่ไหมครับ เวลาที่เราซื้อเมนูแฮมเบอร์เกอร์ที่ McDonald’s แล้วตรงท้ายใบเสร็จจะมีคิวอาร์โค้ดให้เราสแกนเพื่อทำแบบสอบถาม ซึ่งนั่นแหละครับที่จุดที่เราได้ให้ข้อมูลความพึงพอใจการใช้บริการให้กับ McDonald’s ไปแล้ว ซึ่งในเว็บไซต์หลักของ AWS ก็ได้มีการอธิบายกรณีศึกษาของทั้งสองบริษัทไว้ดังนี้

McDonald’s

“McDonald’s uses AWS to build a cloud-based global data & analytics platform tracking customer behavior on 71M orders in 100+ countries per day, with 6,000 menu items. Moving from a siloed structure with limits on scale, data availability and analysis, McDonald’s used an AWS data lake, Amazon Redshift, AWS Glue, Amazon Athena and other analytics tools to provide reliable, easy-to-query self-service tools for developers and teams worldwide.”

แปลได้ง่าย ๆ ก็คือ McDonald’s ใช้บริการของ AWS ในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้ากว่า 71 ล้านออเดอร์ในร้อยกว่าประเทศภายในหนึ่งวัน ซึ่งมีเมนูมากกว่า 6,100 รายการให้เลือกซื้อ

Coca-Cola

“Coca-Cola migrated its digital marketing systems to AWS, including nearly 100 sites in 9 months, adding auto-scaling across environments and reducing IT costs by 40%.”

บริษัทโคคาโคล่าได้ทำการย้ายระบบการทำตลาดหลังบ้านมาใช้ AWS ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน IT ไปมากกว่า 40% ครับ

อ่านมาจนถึงจุดนี้แล้วถ้าหากผู้อ่านมีความสนใจในบริการของ AWS โดยเฉพาะถ้าอยากจะปรึกษาเกี่ยวกับการทำการตลาดด้วยข้อมูลของลูกค้าที่เรามีอยู่ในมือ แต่ยังไม่รู้ว่าจะจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นยังไงดีเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำการตลาดสำหรับธุรกิจของตัวเองมากที่สุด ก็สามารถติดต่อ Cloud HM ได้โดยตรงเลยครับ เพราะเรามีการให้บริการ Cloud Platform ครบวงจร ทั้ง Domestic Cloud และ Global Cloud เพื่อตอบสนองความต้องการรอบด้านของลูกค้าครับ

— Cloud HM