Low code VS Traditional Development แตกต่างกันอย่างไร?

สวัสดีครับชาว IT วันนี้กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับ Blog ของ Cloud HM นะครับ หลาย ๆ ท่าน เคยพบปัญหากันหรือไม่ครับ ในที่ประชุมมีการสรุปกันแล้วว่าต้องการที่จะใช้ Application ตัวใหม่ในการใช้ทำงานเฉพาะทาง ซึ่งมองว่าไม่สามารถจ้าง Vendor มาพัฒนาให้ได้เพราะว่าติดเงื่อนไขความลับของบริษัทหรือจากเหตุผลอื่น ๆ ทำให้ต้องพัฒนา Software ใช้งานกันเอง แต่บางบริษัทอาจจะไม่ได้มี Developer หรือ Developer ก็งานยุ่งอยู่แล้ว ทำให้การที่จะได้ Application มาใช้ได้เนี่ย ใช้เวลานานมาก ๆ เลย วันนี้ Cloud HM จะมาแนะนำทางเลือกอีกช่องทางนึงที่ช่วยให้คนธรรมดาทั่วไปที่ไม่ได้มีความสามารถลึกในการ Develop application ได้ สามารถทำ App ขึ้นมาใช้ได้ด้วย Low code ครับ

Low code คืออะไร?

Low code เป็นวิธีการพัฒนา Application ในยุคใหม่ ด้วยการใช้งานที่ง่ายกว่า, เร็วกว่า และพัฒนาได้ไวกว่าการพัฒนา Application แบบเดิม ๆ ที่ต้องอาศัยการ Coding เป็นหลัก Low code ของบางรายสามารถใช้งานแบบ Drag & Drop Interface ได้เลยซึ่งทำให้ใช้การ Coding ลดลง (แต่ยังต้อง Coding บางส่วน) ทำให้อย่างที่กล่าวไปว่าช่วยให้พัฒนา Application ได้เร็วกว่า นอกจากนั้นแล้ว Low code เค้าก็มาพร้อมกับ Feature ให้เลือกใช้งานมากมาย ช่วยในสะดวกในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

การพัฒนา Application แบบเดิม ๆ ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ซึ่งภายในทีมก็จะต้องมีคนที่มีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีและรูปแบบการทำงานของ Application การมาของ Low code จะทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าเนื่องจากใคร ๆ ก็สามารถที่จะทำ App ขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็น Developer ที่มีประสบการณ์ จนกระทั่ง พนักงานทั่วไป ทำให้บางองค์กรที่อาจจะไม่ได้มี IT หรือ Developer ภายในบริษัทก็สามารถสร้าง App ได้ หรือถ้าบริษัทไหนที่มี ก็สามารถช่วยลดงานของ Developer หรือ ทีม IT ลง หาก App ที่ต้องการจะใช้งานไม่ได้เป็น Application ที่ซับซ้อนมาก และข้อดีของ Low code อีกอย่างคือ การที่ใช้พนักงานที่ไปเจอหน้างานมาจริง ๆ มาทำ App จะช่วยให้มีส่วนในการพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ของ App ได้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าไปเจอสภาพงานมาจริง ปัญหาต่าง ๆ ก็สามารถรับความคิดเห็นมาจากลูกค้าได้โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมการใช้งานของ App ได้ครอบคลุมกว่าการไป Brief งานให้ Developer อีกทีนึงครับ

Low code จะเป็นเครื่องที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ไว เนื่องจากค่าใช้จ่ายลดลง และประหยัดเวลามากขึ้น เนื่องจากราคาที่ต้องจ่ายให้ Developer พัฒนา Application ขึ้นมาตั้งแต่แรกเลย รวมไปต้องรอเวลาในการพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ก็อาจจะไม่ทันให้ลูกค้าได้ใช้งานแล้ว ซึ่งถ้าบริษัทไหนเลือกใช้งาน Low code ได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรได้ดียื่งขึ้นครับ

เมื่อไหร่ที่ควรใช้ Low Code?

  1. สำหรับองค์กรที่ต้องปรับการทำงานให้เป็นแบบ Agile

หลาย ๆ องค์กรขนาดใหญ่ ที่มีพนักงานหลังบ้านอยู่มากมายตามแผนกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น HR, Marketing, Operation หรือแผนกอื่น ๆ ก็น่าจะมีความคิดที่อยากจะพัฒนาระบบภายในแผนกของตัวเอง การพัฒนาระบบแบบเดิมที่ใช้ Developer coding ให้ก็น่าจะไม่เหมาะเนื่องจากจะขาดความคล่องตัวจากการที่ต้องรอการพัฒนาระบบจาก Developer การที่จะไปให้ได้ไวให้ทันคนอื่น ๆ การพัฒนาระบบภายในกันเองก่อนก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดครับ ทำให้ Low code เข้ามาช่วยอุดช่องโหว่ตรงจุดนี้ได้ในกรณีที่ยกมาข้างต้น Low code อาจจะเป็นทางเลือกในการพัฒนา Application ที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนไปเป็นการทำงานแบบ Agile ซึ่งถ้าใช้งานจริงแล้วไม่ OK ก็สามารถกลับไปใช้งานแบบเดิมได้ การทำแบบนี้จะทำให้บุคคลในแผนกได้มีการคิดริเริ่มเปลี่ยนแปลง กล้าล่ม กล้าทำ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ไวและดีมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเองครับ
ตัวอย่าง ทีม Marketing ต้องการจะสร้างระบบที่เป็นการสร้างเอกสารแบบอัตโนมัติ ถ้าใช้ Low code คนในทีมก็จะสามารถสร้าง หรือแก้ไข Workflow การทำงานให้เหมาะสมตามที่แผนกต้องการได้โดยไม่ต้องพึ่งทีม IT ซึ่งทีม Marketing จะทำแบบนี้ไม่ได้เลยถ้าใช้งาน Application ที่พัฒนาแบบดั้งเดิมมาจาก Developer

  1. ต้องการสร้าง Application ด้วยระยะเวลาการพัฒนาที่ไม่นานจากพนักงานทั่ว ๆ ไป

พนักงานทั่ว ๆ ไปเป็นหนึ่งในบุคคลที่ต้องการจะนำเสนอความคิดใหม่เพื่อมาพัฒนาระบบของบริษัท แต่ด้วยความที่ขาดความสามารถในการพัฒนาจากไอเดียที่มี จึงต้องพึ่งพาการพัฒนาแบบดั้งเดิมจาก Developer ทำให้ใช้ระยะเวลานานมากกว่าจะได้ Application ที่ต้องการออกมาใช้งานได้จริงแต่การนำ Low code มาใช้ทำให้พนักงานทั่ว ๆ ไปสามารถออกแบบ App โดยที่ไม่ต้อง Coding หรือ Coding บางส่วนได้ ด้วยการใช้งานจาก UI และง่ายต่อการเข้าใจทำให้สามารถออกแบบ App ได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องพึ่งทีม IT และผลลัพธ์ที่ได้คือการพัฒนาที่ไวขึ้น มี App ออกมาให้ใช้งานได้ไว ไม่พลาดโอกาสทางธุรกิจนั่นเองครับ

  1. มี Solution ไม่เหมือนใครและต้องการให้ Custom ได้

สำหรับธุรกิจบางอย่างปัญหาแต่ละที่แต่ละแผนกก็ไม่เหมือนกัน ทำให้ต้องพึ่งมาการ Custom ให้ตรงตามปัญหาที่เจอ ในบางกรณี การที่ใช้งานการพัฒนาแบบดั้งเดิมจาก Dev อาจจะแพงเกินและไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป จากช่วงเวลาในการพัฒนาที่นาน การทดลองใช้งานและแจ้งปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะต้องทำหลาย ๆ รอบ ทำให้ Low code สามารถใช้เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา App และยังสามารถสร้าง  Application ในรูปแบบเดิมที่เคยมีการออกแบบไว้แล้วจากการใช้ Template ซึ่งถ้าใช้ดี ก็สามารถที่จะ Scale ไปให้แผนกอื่น ๆ ได้ใช้ต่อได้ครับ

แต่ Low code ก็ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกกรณีเสมอไปนะครับ จริงอยู่ที่ Low code เข้ามาช่วยเป็นลดการทำงานของ Developer ลง แต่ก็เป็นเหมือนอาหารเสริม ไม่ใช่ อาหารหลัก ที่เราจำเป็นต้องกินทุกวันครับแต่ถ้ากรณีที่การใช้งานจริงต้องมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนและละเอียดมาก ๆ หรือกรณีเร่งด่วน การพัฒนา Application ในรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้ Developer นั่นก็ยังคงสำคัญมากอยู่ดีครับ

เมื่อไหร่ที่ควรใช้การพัฒนาแบบ Traditional Development?

  1. Solution แบบแก้ปัญหาปลายเปิด

บางธุรกิจจะมีปัญหาปลายเปิดจิปาถะทั่วไป ทีนี้เวลามีปัญหาที่ไม่รู้จะเริ่มแก้จากตรงไหน ก็จะทำให้การสร้าง Application ยากกว่าปกติLow code จะใช้งานได้ดีก็ต่อมาเรารู้ว่าปัญหาเป็นแบบไหน โครงสร้างมีอะไรบ้าง ต้องออกแบบอย่างไร สำหรับกรณีที่เป็นปัญหาปลายเปิด การใช้ Low code จะไม่ค่อยเหมาะนัก

  1. สำหรับ Application ที่ต้องการใช้เงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ เยอะ ๆ

บาง Application ต้องใช้เงื่อนไขพิเศษเยอะ การที่จะทำ App โดยการใช้ Low code ทำให้คุณสร้าง App ที่มีประสิทธิภาพได้ดีก็จริง แต่ในเรื่องของความยืดหยุ่นและอิสระในการสร้างสรรค์ การพัฒนาแบบดั้งเดิมสามารถทำได้ดีกว่า เนื่องจากเราสามารถใช้ Function อะไรก็ได้
ตารางการเปรียบเทียบ Low code กับ Traditional Development

ถึงแม้ว่า Application ที่พัฒนาจาก Developer จะเหมาะกับการใช้งานด้วยเงื่อนไขพิเศษมากกว่าแบบ Low code แต่ Low code ก็ยังมีประโยชน์ในการช่วยลดงานของ IT Team ให้เค้าไปทำอย่างอื่นที่จำเป็นต้องใช้สกิลการ Coding มากกว่าครับ ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า Low code จะมาแทนที่การพัฒนา Application แบบเดิม ๆ นะครับ เพราะอย่างไร การพัฒนาแบบเดิม ๆ ก็มีความยืดหยุ่นมากกว่าครับ

สรุปว่าการนำ Low code มาช่วย คือการช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขันกันในตลาด อยู่ที่ว่าใคร บริษัทไหนจะปรับตัวปรับเปลี่ยนได้ไวกว่า ธุรกิจของคุณก็ไปต่อและสำเร็จเติบโตได้นั่นเองครับ


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ Blog นี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันนะครับขอบคุณครับ


ป.ล. บทความนี้ไม่ได้เขียนเพื่อมาโจมตี Developer แต่อย่างไร เพียงแต่ช่วยแนะนำช่องทางให้พนักงานทั่วไปสามารถทดลองและสร้าง App ได้ด้วยตนเองครับ

หากสนใจใช้บริการ Cloud กับทาง Cloud HM สามารถติดต่อได้ที่นี่

— Cloud HM