สวัสดีครับ ชาว IT กลับมาพบกันอีกครั้งกับ Cloud HM Blog ประจำเดือนมิถุนายน 2564 นะครับ เนื่องจากตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ทั่วโลกเจอปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้บริษัทต้องให้พนักงาน Work from Home ทำงานที่ผ่านกันเป็นส่วนใหญ่ การใช้งานพวก Virtual Desktop จึงเป็นที่นิยมขึ้นมา แต่ที่นี้มันมี 2 แบบ อย่างที่หัวข้อบอกไว้คือ VDI และ DaaS เดี๋ยวเรามาดูกันว่าจะมีความแตกต่างกันขนาดไหน และควรเลือกใช้ยังไงนะครับ
VDI คืออะไร?
Virtual Desktop Infrastructure (VDI) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งานในองค์กรสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้โดยการจำลองคอมพิวเตอร์ขึ้นมาจากการตั้งค่าจากของ Server ภายใน Data Center ขององค์กร ซึ่งภายใน Server จะมีการใช้งาน Software ที่ใช้สำหรับจัดการการจำลองคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ให้บริการ Software ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ VMware หรือ Citrix ครับ
VDI สามารถควบคุมได้จากส่วนกลาง อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ดังนั้นทีม IT ในองค์กรจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการ และบริหารทั้งหมดครับ ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็น Hardware, Software, License และองค์ประกอบส่วนอื่น ๆ ก็จะต้องดูแลเองทั้งหมดนั่นเอง
DaaS คืออะไร?
Desktop as a Service (DaaS) เป็นบริการ VDI ที่อยู่บน Cloud ใช่ครับอ่านไม่ผิดหรอก DaaS ก็คือ VDI นั่นเองครับ ซึ่งผู้ให้บริการก็มีอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นจาก Local Cloud Service Provider อย่าง Cloud HM หรือจะเป็น Cloud Provider ต่างประเทศ เช่น Amazon, Microsoft Azure, Google, VMware และ Citrix ด้วยการใช้งานบริการ DaaS องค์กรจะไม่ต้องเตรียม Server และบริหารจัดการ VDI เองเลย ทั้ง Hardware และ Software ในการจัดการ VDI ทาง Service Provider จะเป็นคนดูแลให้ครับ ทำให้บริการ Daas ส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการเป็นรายเดือน นับเป็นต่อ User ที่ใช้งาน ซึ่งการใช้งานแบบนี้ ผู้ใช้งานจะไม่ต้องออกเงินลงทุนซื้อ Server มาทำ VDI นั่นเองครับ
ความแตกต่างของ VDI เมื่อเทียบกับ DaaS
เรื่องของโครงสร้างและวิธีการใช้งาน
VDI มีส่วนประกอบหลักอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ Hypervisor และ Connection Broker ครับ Hypervisor จะเป็นตัวช่วยในการแบ่ง Server ให้สามารถสร้าง Virtual Machine ที่ใช้ทำ Virtual Desktop ย่อย ๆ ได้หลาย ๆ เครื่องConnection broker จะเป็น Software ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของ User กับ Desktop Instances ครับ โดยอาจจะมองได้ว่าเป็นขั้นตอนสำหรับ Authenticate ให้ User เข้าใช้งานครับโดยทั่วไป VDI จะใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า PoD หรือชื่อเต็มว่า Point of Delivery ซึ่งจะประกอบไปด้วย Network, Compute และ Storage Resource ที่มีการเตรียมไว้ให้รองรับกับจำนวนของ Virtual Desktops โดย PoD จะเป็นระบบที่แยกออกจากระบบอื่น ๆ โดยสิ้นเชิงเพื่อไม่ให้การใช้งาน Desktop ไปกระทบกับระบบอื่น ๆ ของ Workload ที่อยู่ใน Data Center ครับ
สำหรับโครงสร้างของ DaaS จะค่อนข้างต่างออกจากไป VDI เพราะว่าเป็นการสร้างมาเพื่อให้รองรับกับการใช้งานจากหลาย ๆ องค์กรซึ่งวิธีการใช้งานคือเราต้องสมัครสมาชิกแล้วจึงจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการที่จะใช้ Desktop Instance เป็นจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือน หลังจากนั้นผู้ให้บริการ DaaS จะดำเนินการหลังบ้านให้ซึ่งรวมไปถึงการ Backup ข้อมูล, เรื่องของ Security, การ Upgrade และการจัดการ Storage สิ่งที่คุณต้องรับผิดชอบ และดำเนินการต่อคือเรื่องของ Virtual desktop image, การจัดการ Application ของคุณ และเรื่องของ Security ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งาน
ราคา
VDI จะต้องใช้เงินทุนในการลงทุนเป็นเงินก้อนเพื่อซื้อ Server และเตรียมพื้นที่ใน Data Center ซึ่งอาจจะวางใน Data Center ของตัวเอง หรือเช่าแบบ Co-location ก็ได้ เป็น Model ที่เรียกว่า Capital expenditure (CapEx) แต่ถ้าองค์กรที่ Server ของเดิมอยู่แล้ว ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น สำหรับองค์กรที่ขนาดใหญ่ที่สามารถคาดเดาการเติบโตของ User ในการใช้งานได้ การลงทุน VDI จะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อใช้ในระยะยาว ถ้าเทียบกับการใช้งานแบบ DaaS
ในการใช้งาน DaaS แทบจะต้องไม่ลงทุนเงินก้อนก่อน แต่จะนำเงินไปจ่ายเป็นสมาชิกรายเดือนแทน ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเครื่องในการใช้งานได้ตามการใช้งานจริง การใช้งานรูปแบบ DaaS จะเหมาะกับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีการปรับเปลี่ยนจำนวน Desktops อยู่บ่อย ๆ ตามการเติบโตของบริษัท ฉะนั้นการเลือกใช้งาน DaaS อาจจะถูกกว่าการลงทุนไปใช้ VDI ครับ
การติดตั้ง และการดูแล
VDI จะต้องเตรียม Infrastructure ทุก ๆ อย่างเอง ได้แก่ Hardware, Operating System, Applications และ Software ที่เกี่ยวข้องสำหรับการใช้งานของ User โดยทีมงานภายในองค์กรจะต้องรับผิดชอบทุกหน้าที่รวมไปถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ตั้งแต่การ Update Patch ไปจนถึงการเปลี่ยน Hardware กรณีที่ต้องซ่อม หรือเสีย
DaaS เป็นบริการที่อยู่บน Cloud ซึ่งดูแลโดย Service Provider ทำให้องค์กรไม่ต้องเป็นมี Server และ Data Center สำหรับรองรับ Infrastructure เหมือนกับของ VDI ซึ่ง Provider จะเป็นคนที่ทำหน้าที่ Configure, บริหารจัดการ และ Monitors ให้อ้างอิงจาก SLA ที่ทาง Provider เป็นผู้กำหนดมาให้
การ Backup ข้อมูล
ระบบ VDI ส่วนใหญ่จะไม่มีระบบ Backup ติดมาให้ด้วย ทำให้ทีมงานต้องติดตั้ง, ทดสอบ และบริการจัดการระบบ Backup เอง
บริการ DaaS จะมีการ Backup ข้อมูลให้จาก Provider อยู่แล้ว โดยผู้ใช้งานไม่ต้องตั้งค่าเพิ่มเติม ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะ Backup หรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตามการ Backup อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเนื่องจากมีการใช้พื้นที่ของ Storage ในการจัดเก็บนั่นเอง
ความยืดหยุ่น และความคล่องต่อในการติดตั้ง และการใช้งาน
VDI เป็นระบบที่โครงสร้างซับซ้อน ต้องใช้ผู้คนที่มีความสามารถในการติดตั้งและออกแบบ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในหลาย ๆ ส่วนมาก องค์กรจะต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการ Upgrade VDI Software เพื่อที่จะให้ User ได้ใช้งาน Feature ใหม่ ๆ การปรับขนาดของ Virtual Desktop ขึ้น ๆ ลง ๆ หรือการเพิ่ม Hardware ใหม่ ๆ เช่น GPU อาจจะเป็นปัญหาในเรื่องของ Budget ได้
DaaS จะมีความยืดหยุ่นกว่า VDI ขอยกตัวอย่าง เช่น สมมติว่ามี User ชั่วคราวอย่างจะใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น พนักงานชั่วคราว, หรือพนักงานที่เป็นสัญญารายปี การเลือกใช้งาน DaaS จะเหมาะสมกว่าตามจำนวนของ User ที่มีการใช้งานจริง และก็ช่วยเพิ่ม/ลด จำนวนของการใช้งานได้ ถ้าหากพนักงานเหล่านั้นออกไปแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเปลือง Resource เหมือนกับของ VDI เลยและการใช้งาน DaaS ใช้เวลาในการ Deploy ได้ไว หากมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องใช้งาน ก็สามารถที่จะ Deploy ได้ทันที หรือบางรายอาจจะนำไปใช้สำหรับทดสอบ Software ที่เขียนขึ้นมาว่าสามารถ Run ใช้งานบนเครื่องของ User ได้หรือไม่ นั่นเองครับ
UX หรือ User Experience
VDI จะต้องติดตั้งใส่ Server ที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุดถึงจะเป็นผลดี เนื่องจากยิ่ง Data Center อยู่ไกลจาก User มากเท่าไหร่ เรื่องของ Latency ที่สูง และ Bandwidth ที่ต่ำ เป็นตัวแปรที่สำหรับต่อการกระทบกับการใช้งานของ User ครับ ซึ่งหากทีมงานต้องดูแล User หลาย ๆ Site ทีมงานก็ควรที่จะ Deploy VDI Infra ไว้หลาย ๆ ที่ เช่น ถ้าบริษัทมีหลายสาขา ก็ควรจะทำ VDI Infra ไว้แต่ละสาขานอกจากนี้ VDI Solution ของบางเจ้าอาจจะไม่สามารถใช้งาน OS หรือ Application ใน Version ที่ User ต้องการได้ เช่น VDI Solution ของบางเจ้าอาจจะไม่รองรับการใช้งานด้วย Windows Server ซึ่งทำให้ User ใช้งานได้ไม่สะดวก และไม่ต้องตามจุดประสงค์ครับ
ข้อได้เปรียบของ DaaS คือ Cloud Provider มี Data Center กระจายอยู่ทั่วโลก ทำให้สามารถรองรับการใช้งานจาก User ได้ทุกภูมิภาคในโลก โดยคุณสามารถ Deploy Virtual Desktop ไว้ใน Data Center ที่ใกล้กับ User ของคุณได้เลยเพิ่มเติมให้ก็คือ ในเรื่องของการใช้งาน Operating Systes และ Application ถ้าเป็น DaaS จะมีตัวเลือกให้ใช้งานได้มากกว่าครับ
สรุปความแตกต่างของ VDI กับ DaaS ได้ดังนี้ครับ
เราเหมาะกับการใช้งานแบบไหน VDI หรือ DaaS?
จริง ๆ ถ้ามองดี ๆ แล้ว VDI กับ DaaS ค่อนข้างจะเหมือนกันเลย สิ่งที่ต่างกันคือ
VDI เหมาะสำหรับใช้งานกับองค์กรเดียว
DaaS เหมาะกับการใช้งานจากหลาย ๆ องค์กร
VDI มีรูปแบบการลงทุนเป็นแบบ CapEx ที่ต้องออกเงินลงทุนโครงสร้างก่อน
DaaS เป็นรูปแบบ OpEx ที่จ่ายเงินตามการใช้งานจริง
VDI การ Scale Up จะต้องมีการวางแผนและใช้เม็ดเงินลงทุนเพิ่มเติมสำหรับ Hardware /การ Scale Down ก็อาจจะไม่คุ้มค่ากับที่ลงทุน Hardware ไป
DaaS สามารถ Scale Up/Downได้ตามต้องการ
ทำให้ความยืดหยุ่นในการใช้งาน DaaS จะมีภาษีที่ดีกว่า VDI แต่ถ้าคุณกังวลในเรื่องข้อมูล, Compliance และการมีสิทธิ์ในการดูแลเรื่องของ Infrastructure VDI จะตอบโจทย์กว่าครับซึ่งการที่จะเลือกใช้แบบใดแบบนึง ก็ต้องดู Use case กันก่อนว่าองค์กร หรือบริษัทของเราเหมาะกับการใช้งานแบบไหนนั่นเองครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Blog นี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้ VDI หรือ DaaS นะครับ สำหรับท่านใดที่สนใจบริการของ Cloud HM สามารถสอบถามรายละเอียด หรือติดต่อเพิ่มเติมได้ที่นี่นะครับ
ขอบคุณครับ
— Cloud HM