IT CALCULATOR – เครื่องคิดเลขสำหรับคน IT จาก CLOUD HM

https://www.cloudhm.co.th/community/it-calculator/

จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง และคิดว่าหลาย ๆ ท่านที่มีหน้าที่ออกแบบระบบของ IT ที่เกี่ยวกับ System ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน IT Infrastructure ที่เป็น Back Office หรือว่าจะเป็น Pre-sales ที่เป็น Front Office ต่างต้องเคยเจอปัญหาในการคำนวณ และวางแผน Resource ที่ต้องใช้ความเข้าใจ และความแม่นยำเพราะเกี่ยวข้องกับจำนวนเม็ดเงินที่จะลงทุน หากผิดพลาดก็หมายถึงการที่จะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ขาดไปบ้าง หรือเกินไปบ้าง ซึ่งถ้ามากเกิน หรือน้อยเกินก็จะเป็นเรื่องใหญ่ได้ ทาง Cloud HM มองเห็นปัญหาเหล่านั้นที่อาจจะเกิดกับทุก ๆ คน จึงได้พัฒนา Tool ตัวใหม่ขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาในด้านการคำนวณตัวเลข และได้ตั้งชื่อว่า IT Calculator เป็นเครื่องคิดเลขไว้ใช้สำหรับคำนวณทางด้าน IT เหมาะสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ออกแบบ Infrastructure หรือ System ทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้าน หากใครอยากลุยเลยก็สามารถคลิกที่ Link นี้ ไปทดลองเล่นกันได้เลย หากใครอยากดูวิธีการใช้ตามมาเรื่อย ๆ เลยครับ 

โดยทาง Cloud HM ได้แบ่งการคำนวณเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ๆ ซึ่งผมจะมาแนะนำวิธีการใช้งานไปพร้อม ๆ กัน นะครับ คือ

Data & Capacity

เป็นหัวข้อเกี่ยวการคำนวณขนาด และความจุของข้อมูล ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อย ดังนี้

  • Calculate RAID – การคำนวณ RAID ของ Storage

    STEP 1 – ให้กรอกจำนวน และขนาดของ Disk พร้อมกับเลือก RAID Type ที่ต้องการ 

    STEP 2 – กด Convert 
    STEP 3 – ผลลัพธ์ที่แสดงจะประกอบไปด้วย 
    Fault tolerance – จำนวนของ Disk ที่เสียได้แล้วยังทำงานได้ปกติ (ตัวอย่างคือ None = เสียไม่ได้)
    Total Usable Capacity – ขนาดของความจุที่ได้เมื่อทำ RAID แล้ว
    Read Speed Gain – จำนวนเท่าของความเร็วในการอ่านของ Disk ที่เพิ่มขึ้นจากการทำ RAID EX. 2x = 2 เท่า  
    Write Speed Gain – จำนวนเท่าของความเร็วในการเขียนของ Disk ที่เพิ่มขึ้นจากการทำ RAID EX. 4x = 4 เท่า

    Raid

  • KB/MB/GB/TB/PB Converter – การแปลงหน่วยของข้อมูล (*เป็นการแปลงจากเลขฐาน 10)

    STEP 1 – กรอกขนาดของพื้นที่ และหน่วยที่ต้องการ มีให้เลือก 3 หน่วย คือ MB, GB และ TB หลังจากนั้นให้กด “Convert”

    STEP 2 – ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงหน่วยออกมาทั้งหมด 5 หน่วย ได้แก่ KB, MB, GB, TB และ PB ครับ

    Converter

  • Data Transfer Rate Converter – การแปลงหน่วยของความเร็ว (*เป็นการแปลงจากเลขฐาน 10)

    STEP 1 – กรอกขนาดของความเร็ว และหน่วยที่ต้องการ มีให้เลือก 2 หน่วย คือ Mbps และ Gbps หลังจากนั้นให้กด “Convert”

    STEP 2 – ผลลัพธ์ที่ได้จะมีทั้งหมด 6 หน่วย ดังนี้ครับ Kbps, Mbps, Gbps, KB/s, MB/s, GB/s

    speed

  • File Transfer Time/Rate – การคำนวณเวลาในการส่งข้อมูล (*เป็นการแปลงจากเลขฐาน 10)
    หัวข้อนี้จะมี 2 ส่วน คือ Transfer Time และ Transfer Rate
    Transfer Time – คำนวณเวลาที่ต้องใช้ในในการรับ-ส่งไฟล์ จากความเร็วที่กำหนด

    STEP 1 – เลือกแท็บ “Transfer Time”

    STEP 2 – กรอกขนาดของไฟล์ หรือพื้นที่ และเลือกความเร็วที่ต้องการ สามารถเลือกหน่วยได้ตามชอบครับ
    STEP 3 – กด “Convert”
    STEP 4 – ผลลัพธ์จะแสดงเป็นเวลาในการส่งไฟล์ หน่วยเป็น ชั่วโมง, นาที และวินาที ตามลำดับครับ

    time

  • Transfer Rate – คำนวณความเร็วที่ต้องใช้ในการส่งไฟล์จากเวลาที่กำหนด (*เป็นการแปลงจากเลขฐาน 10)STEP 1 – เลือกแท็บ “Transfer Rate”
    STEP 2 – กรอกขนาดของไฟล์ หรือพื้นที่ และเลือกเวลาที่ต้องการ
    STEP 3 – กด “Convert”
    STEP 4 – ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นความเร็วที่ต้องใช้ในการส่งไฟล์ให้ทันภายในเวลาที่กำหนดครับ

    rate

  • Backup Capacity – การคำนวณขนาดของ Backup และความเร็วที่ต้องใช้ในการ Backup 
    ****หัวข้อนี้ผมมองว่าค่อนข้างสำคัญเพราะทุกบริษัทต้องมีการทำ Backup อยู่แล้ว ถ้าเราทราบว่าเราจะต้องใช้ความจุขนาดไหน จะช่วยประหยัดเงินทุนในการจัดหาอุปกรณ์ และใช้ให้คุ้มค่าที่สุดครับ****

    STEP 1 – กรอกขนาด Production Data ของคุณ โดยเรามีให้เลือก 2 หน่วยคือ GB และ TB ครับ
    STEP 2 – กรอกจำนวนของ Full Backup และถ้าอยากรู้ว่าจะ Backup เสร็จภายในชั่วโมงที่กำหนดต้องใช้ Speed เท่าไหร่ก็สามารถกรอกในช่อง Target Windows ได้ เราให้ไว้เป็น Option เสริมครับ
    STEP 3 – กรอกจำนวนของ Incremental Backup จะต่างจาก Full Backup ตรงที่ เราเพิ่ม Data Change Rate เป็น % ให้กรอกเพิ่มเติม และแบ่งให้เป็นรายวัน, รายสัปดาห์ หรือรายเดือนครับ รวมถึงมีให้กรอกกรอบเวลาที่ต้องการในการ Backup ให้ทันภายในชั่วโมงที่กำหนดครับ
    STEP 4 – เลือกสัดส่วนของการบีบอัดข้อมูล (Compression) และการลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำ (De-Duplication)

    *หมายเหตุ ในส่วนของการ Compression และ De-Duplication จะคำนวณแยกขาดจากกันครับ
    ตัวอย่างการทำงาน
    Backup Data = 500 GB

    Compression Ratio = 2:1
    De-Duplication Ratio = 2:1
    Compressed = 500/2 = 250 GB
    De-Duplication = 500/2 = 250 GB
    Compressed & De-Duplication = 500/(2*2) = 125 GB
    STEP 5 – กด “Convert”

    backup1

    ผลลัพธ์ที่ได้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
    1. Backup Storage Size – ขนาดของ Backup ทั้งหมด <- ต้องเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับ Backup
    2. Bandwidth Required to Meet Backup Window – Bandwidth ที่ต้องใช้สำหรับการ Backup ให้ทันเวลาที่เรากำหนด
    3. Estimated Backup Duration – กรณีที่ทราบความเร็ว Internet หรือ Link ของตัวเอง สามารถกรอกค่าเข้าไปเพื่อคำนวณระยะเวลาในการ Backup ได้ครับ

    backup2

Software Costs

เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการคำนวณค่าใช้จ่ายของการซื้อ Software license หัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้  

  • Windows Server Standard – การคำนวณ Volume License ของ Physical Server และการคำนวณ SPLA License ของ Virtual Machine
    มาดูกันที่ส่วนแรก Physical ครับ

    STEP 1 – เลือกแท็บ “Physical”
    STEP 2 – กรอกจำนวนของ Physical Processor และจำนวน Core ต่อ Processor
    STEP 3 – กรอกจำนวน CAL (User / Device) สามารถระบุราคาได้
    STEP 4 – กรอกราคา License ตามต้องการ
    STEP 5 – กด “CALCULATE”
    STEP 6 – ผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบไปด้วย

    Total Cores หมายถึง จำนวน Core ที่มีของอุปกรณ์
    Licenses Required หมายถึง จำนวน User/Device CAL และจำนวน Windows License ที่ต้องใช้
    Costs หมายถึง ราคารวมของ Windows License และ CAL 

    phy

    ถัดมาเป็น Virtual Machine ครับ จะคล้าย ๆ กับแบบ Physical ต่างกันที่ไม่มี Processors

    STEP 1 – เลือกแท็บ “Virtual Machine”
    STEP 2 – กรอกจำนวนของ vCPU
    STEP 3 – กรอกจำนวน CAL (User / Device) สามารถระบุราคาได้
    STEP 4 – กรอกราคา License ตามต้องการ
    STEP 5 – กด “CALCULATE”
    STEP 6 – ผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบไปด้วย

    Total vCPUs หมายถึง จำนวน vCPU ที่มีของอุปกรณ์
    Licenses Required หมายถึง จำนวน User/Device CAL และจำนวน Windows License ที่ต้องใช้
    Costs หมายถึง ราคารวมของ Windows License และ CAL

    VM

  • Microsoft SQL Standard & Enterprise – การคำนวณ Volume License ของ SQL Server ทั้ง Standard และ Enterprise EditionSTEP 1 – กรอกจำนวน Core ถ้าใช้เป็น Physical Server หรือ vCPU ถ้าใช้เป็น VM และกรอกจำนวน CALs
    STEP 2 – กรอกจำนวนราคา License
    STEP 3 – กด “CALCULATE”
    STEP 4 – ผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบไปด้วย

    รายละเอียดแยกกันด้วย Edition
    Standard Per CAL License
    – Licenses บอกจำนวน License ที่ต้องใช้
    – CALs บอกจำนวน CAL ที่ต้องใช้
    – License Cost คือราคาของ License
    – CAL Cost คือราคาของ Cost
    – Total Cost คือราคารวม

    Standard Per Core License
    – Licenses บอกจำนวน License ที่ต้องใช้
    – License Cost คือราคาของ License
    – Total Cost คือราคารวม

    Enterprise
    – Licenses บอกจำนวน License ที่ต้องใช้
    – License Cost คือราคาของ License
    – Total Cost คือราคารวม

    ms

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ และช่วยประหยัดเวลาในการคำนวณค่าใช้จ่ายนะครับผม

หมายเหตุ: Blog นี้เป็นการแนะนำการใช้งาน IT Calculator ซึ่งเนื้อหาของ Software Cost อ้างอิงจาก Microsoft หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้

หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามเงื่อนไขเรื่อง License กับทาง Microsoft ได้โดยตรงเลยครับ

— Cloud HM