เลือกใช้ API Gateway ตัวไหนดี? พาส่อง 4 สุดยอด API Gateway

ในยุคดิจิทัล การพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบ Microservice ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้รวดเร็วและแก้ไขจุดบกพร่องได้ง่ายขึ้น แต่ระบบ Microservice นั้นก็มีความซับซ้อน จำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยจัดการ API ต่างๆ

API Gateway มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในการพัฒนาเว็บไซต์หรือแอปฯ เหล่านี้ เราควรเลือกใช้ API Gateway ตัวไหนดี ที่เหมาะกับ project ของเรา และสามารถรองรับการใช้งานได้อย่างราบรื่น วันนี้ Cloud HM มี 4 API Gateway ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมาแนะนำกัน 

ซึ่ง API Gateway เปรียบเสมือน “ประตูทางเข้า” ของระบบ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถควบคุมจัดการ API ทั้งหมดในระบบ Microservice ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย API Gateway กับ Microservice  ทำงานร่วมกันดังนี้ 

  • Microservice แต่ละตัวมี APIs เป็นของตัวเอง 
  • API Gateway จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับ Request จาก Client
  • API Gateway จะส่งต่อ Request ไปยัง Microservice ที่เหมาะสม
  • Microservice จะประมวลผล Request และส่ง Response กลับไปยัง API Gateway
  • API Gateway จะส่ง Response กลับไปยัง Client

API Gateway คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง?

ก่อนที่จะไปรู้จักกับ API Gateway ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เรามาทำความรู้จักกับ API และ API Gateway กันก่อนว่ามีหน้าที่สำคัญอย่างไรต่อการนำมาพัฒนาระบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 

API คืออะไร ?

API Gateway คือ ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมา ผ่านการใช้งานด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดย API Gateway จะเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันหรือบริการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความปลอดภัย โดยหน้าที่หลักของ API Gateway มีดังนี้

  • การกรองและจัดการกับการร้องขอจากผู้ใช้: API Gateway จะตรวจสอบว่าผู้ใช้มีสิทธิ์ในการเข้าถึง API หรือไม่ โดยกรองรูปแบบข้อมูลที่ส่งมา และแปลงข้อมูลให้เข้ากับรูปแบบที่ API ต้องการ
  • การตรวจสอบสิทธิ์และอนุญาตผู้ใช้: API Gateway จะตรวจสอบว่าผู้ใช้มีสิทธิ์ในการเข้าถึง API หรือไม่ โดยใช้กลไกการตรวจสอบสิทธิ์ เช่น OAuth2, JWT หรือ API keys
  • การบันทึกการเรียก API: API Gateway จะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเรียก API เช่น เวลา ผู้ใช้ IP address endpoint ที่ใช้ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • การปรับขนาด API: API Gateway สามารถปรับขนาด API ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน โดยสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับ API ได้

ตัวอย่างการใช้งาน API Gateway

  • ระบบ e-Commerce: API Gateway สามารถใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชัน e-Commerce กับระบบการชำระเงิน ระบบขนส่ง และระบบอื่นๆ
  • ระบบ Mobile Banking: API Gateway สามารถใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชั่น Mobile Banking กับระบบธนาคาร
  • ระบบ API Management: API Gateway สามารถใช้เพื่อจัดการ API ต่างๆ ของระบบ เช่น การควบคุมการเข้าถึง การบันทึกการเรียก API และการวิเคราะห์ข้อมูล

คุณลักษณะที่สำคัญของ API Gateway คืออะไร?

ก่อนที่คุณจะเลือกใช้ API Gateway สักตัว จำเป็นจะต้องดูถึงคุณลักษณะของ API Gateway ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานด้วย ซึ่งหากต้องเลือกว่า  API Gateway ตัวไหนเหมาะสมกับการใช้งานภายในองค์กรของคุณ ควรใช้ปัจจัยเหล่านี้ในการพิจารณา

  • ความปลอดภัย

API Gateway ที่ดี จะต้องมีความปลอดภัยสูง และสามารถปกป้องสิทธิ์ในการเข้าถึง API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจใช้การตรวจกรองคำร้องขอและสิทธิ์ในการเข้าถึง API อย่างละเอียดทุกครั้งก่อนมีการเปิด Permission ให้เข้าถึง ซึ่งกลไกการตรวจสอบนี้ควรครอบคลุมถึง รูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลใน Request, สิทธิ์การเข้าถึง API ของผู้ใช้งาน, แหล่งที่มาของ Request

ซึ่งกลไกการตรวจสอบของ API Gateway ที่ดีควรมีความละเอียดและรัดกุม เพื่อป้องกันการโจมตี API จากการโจมตีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การโจมตีแบบ Cross-Site Scripting (XSS), การโจมตีแบบ Cross-Site Request Forgery (CSRF), และ DoS/DDoS ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

  • ความสามารถในการปรับเพิ่ม-ลดขนาด

นอกจาก Security จะเป็นคุณสมบัติสำคัญสำหรับตัว API Gateway แล้วการปรับขนาดแบบอัตโนมัติ (Scaling) เองก็สำคัญไม่แพ้กัน: API Gateway ควรสามารถปรับขนาดได้โดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Traffic จำนวนผู้ใช้และปริมาณการใช้งาน โดยไม่ต้องมีการแทรกแซงจากผู้ดูแลระบบ

การปรับขนาดทั้งแนวนอน (Horizontal Scaling): API Gateway ควรสามารถเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับ API ได้ เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้และปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น

การปรับขนาดแนวตั้ง (Vertical Scaling): API Gateway ควรเพิ่มประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้และปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น

  • ง่ายในการใช้งาน

API Gateway ที่ดีควรใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ซับซ้อน เพื่อทำให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น และใช้เวลาไม่นานในการทำงานร่วมกับ API Gateway นั้น มีเอกสารประกอบ: ควรมีเอกสารประกอบที่ครบถ้วน อธิบายการใช้งาน API ได้อย่างละเอียด และมีตัวอย่างการใช้งาน: ควรมีตัวอย่างการใช้งานที่หลากหลาย ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเรียนรู้และใช้งาน API ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งความง่ายในการตรวจสอบ API: นอกจากความง่ายในการใช้งานแล้ว ความง่ายในการตรวจสอบ API ก็สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เพราะความยากง่ายในการตรวจสอบ API จะส่งผลต่อการใช้งานได้อย่างราบรื่น และช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

แนะนำ 4 API Gateway ยอดฮิตในปัจจุบัน

เมื่อได้รู้แล้วว่าคุณลักษณะที่ควรมองหาใน API Gateway มีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยว่า 4 API Gateway ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้มี API Gateway ของเจ้าไหนบ้าง

1. Amazon API Gateway

Amazon API Gateway เป็นหนึ่งในบริการจาก Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก ทำให้ Amazon API Gateway กลายเป็น API Gateway ที่มีผู้ใช้มากที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยคุณสมบัติที่ครบถ้วน ทั้งยังโดดเด่นในการเก็บค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน

ข้อดี:

  • รองรับ API ประเภทต่าง ๆ รวมถึง REST, SOAP และ GraphQL: API Gateway รองรับ API หลากหลายประเภท ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง APIs ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ
  • มีความปลอดภัย และเสถียรสูง: API Gateway มาพร้อมฟีเจอร์ความปลอดภัยที่หลากหลาย เช่น AWS Identity and Access Management (IAM) และ API Gateway throttling ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง APIs ที่ปลอดภัยและเสถียร
  • ใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ใน Amazon Web Services ได้อย่างดี: API Gateway สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ใน AWS ได้อย่างราบรื่น เช่น AWS Lambda และ Amazon CloudWatch ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง APIs ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย
  • มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับขนาดการใช้งานเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างลื่นไหล: API Gateway สามารถปรับขนาดการใช้งานขึ้นหรือลงตามจำนวนผู้ใช้งาน ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง APIs ที่รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัด:

  • มี User Interface ที่ใช้งานยาก: UI ของ API Gateway อาจใช้งานยากสำหรับนักพัฒนาที่ไม่คุ้นเคยกับ AWS
  • มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง: API Gateway มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับ API Gateway อื่น ๆ
  • อาจไม่รองรับบางภาษาโปรแกรม: API Gateway อาจไม่รองรับภาษาโปรแกรมบางภาษา

2.Azure API Management

Azure API Management ให้บริการโดย Microsoft Azure เป็นอีกหนึ่ง API Gateway ที่ได้รับความไว้วางใจอย่างมาก สามารถจัดการ API ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังง่ายต่อการเชื่อมต่อกับบริการอื่น ๆ ใน Microsoft Azure และมีการเก็บค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงแบบระบบ Pay as you go model โดย Features หลักๆ ของ Azure API Management มี ดังนี้

  • มีความปลอดภัย และเสถียรสูง: Azure API Management มอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย เช่น การตรวจสอบสิทธิ์แบบ OAuth 2.0 การเข้ารหัสข้อมูล และการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS ช่วยให้มั่นใจได้ว่า API ของคุณปลอดภัยจากภัยคุกคาม
  • รองรับการติดตามและตรวจสอบ API: Azure API Management ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของ API ของคุณ ช่วยให้คุณสามารถระบุปัญหาและปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้
  • รองรับ API ประเภทต่าง ๆ รวมถึง REST, SOAP และ GraphQL: Azure API Management รองรับ API ประเภทต่างๆ ช่วยให้คุณสามารถจัดการ API ของคุณได้อย่างครบวงจร
  • มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ: Azure API Management สามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงตามความต้องการ ช่วยให้คุณสามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีฟีเจอร์ Sandbox สำหรับทดลองใช้ API ก่อนเชื่อมต่อกับระบบจริง: Azure API Management มี Sandbox ให้คุณทดสอบ API ของคุณก่อนเชื่อมต่อกับระบบจริง ช่วยให้มั่นใจได้ว่า API ของคุณทำงานได้อย่างถูกต้อง

ข้อจำกัดของ Azure API Management:

มีข้อจำกัดในการปรับแต่งการตั้งค่า: Azure API Management มีตัวเลือกการปรับแต่งการตั้งค่าที่จำกัด

สรุปคือ Azure API Management เป็นแพลตฟอร์มจัดการ API ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการจัดการ API ของตนอย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม Azure API Management มีกระบวนการ Deploy ที่ซับซ้อน มีข้อจำกัดในการปรับแต่งการตั้งค่า

Retrieved from: About API Gateway  |  API Gateway Documentation  |  Google Cloud

3.Google Cloud API Gateway

อีกหนึ่ง API Gateway ที่ได้รับความไว้วางใจมากไม่แพ้ API Gateway อื่น ๆ ก็คือ Google Cloud API Gateway จาก Google ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับบริการของ Google Cloud อื่น ๆ ได้ และยังสามารถจัดการ Traffic จากแอปพลิเคชันหรือผู้ใช้ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวมถึงมีการเก็บค่าใช้จ่ายตามการใช้งานด้วยเช่นกัน

ข้อดีของ Google Cloud API Gateway

  • มีความปลอดภัยสูง: Google Cloud API Gateway
    • รองรับ OAuth 2.0
    • รองรับการเข้ารหัส TLS
    • มีการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้งานร่วมกับ Amazon Web Services ได้: Google Cloud API Gateway
  • รองรับ API Gateway ของ AWS และสามารถเชื่อมต่อกับ AWS Lambda ได้
  • สามารถใช้ร่วมกับบริการ Google Cloud อื่น ๆ ได้: เช่น Google Cloud Functions, Google Cloud Pub/Sub, Google Cloud Monitoring 
  • รองรับการเรียก API หลายภาษา: เช่น JSON, XML, Protobuf

ข้อจำกัดของ Google Cloud API Gateway

  • มีข้อจำกัดในการปรับแต่ง และตั้งค่า: Google Cloud API Gateway
    • มีตัวเลือกการปรับแต่งน้อยและการตั้งค่าบางอย่างอาจทำได้ยาก
  • บางฟีเจอร์ และการตั้งค่าสามารถทำได้ยากจาก User Interface: Google Cloud API Gateway
    • การตั้งค่าบางอย่างต้องทำผ่าน Cloud Shell เท่านั้น
    • การตั้งค่าบางอย่างอาจซับซ้อนสำหรับผู้ใช้ใหม่

4.Kong API Gateway

Kong API Gateway เป็นระบบ API Gateway ที่มีให้เลือกใช้ทั้งแบบ Open-Source  และแบบเสียค่าใช้จ่ายสำหรับองค์กรนั่นก็คือ Kong Enterprise ซึ่งมาพร้อมกับบริการ Service Support จาก Kong Partner โดยตรงซึ่งสามารถบริหารจัดการ API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครบวงจร ทั้งการ Route การ Monitor และยังรองรับ Plugin ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการ API ด้วยเช่นกัน อีกทั้ง Kong API Gateway ยังเป็น API Gateway ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ข้อดีของ Kong API Gateway

  • เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ Kong API ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ คุณสมบัติในการนำ Kong API ไป Deploy หรือติดตั้งได้หลากหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็น เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว (On-Premises) หรือเซิร์ฟเวอร์บนระบบคลาวด์ (Cloud) เช่น Amazon Web Services (AWS), Microsoft Azure, Google Cloud Platform (GCP) และอื่น ๆ
  • Kong Security: ฟีเจอร์ความปลอดภัยมากกว่า Kong Community โดยจะมีการควบคุมการเข้าถึงแบบละเอียด ตั้งแต่การตรวจสอบความปลอดภัย และการเข้ารหัส และยังรองรับระบบ AAA (Authentication, Authorization, Auditing) เพิ่มความปลอดภัย กับ API Management ภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น
  • Kong Dev Portal: ศูนย์รวมสำหรับนักพัฒนา ซึ่งจะช่วยซัพพอร์ตนักพัฒนาให้หา เรียนรู้ รีเควสการใช้งาน และทดสอบ APIs ได้ ทั้งหมดในที่เดียว
  • Kong Analytics: ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามประสิทธิภาพและการใช้งาน API ได้ โดยจะช่วยวิเคราะห์ Traffic ของ API แบบเรียลไทม์
  • Kong Scalability: ปรับขนาดได้ตามความต้องการ รองรับ Traffic สูง และ รองรับการใช้งาน Kubernetes
  • รองรับ Multi-Cloud และ Hybrid-Cloud: ทำงานได้กับระบบคลาวด์ที่หลากหลาย

นอกจากนี้ ยังมีระบบอื่น ๆ อีกที่รองรับ Kong API จึงถือได้ว่า API Gateway มีความยืดหยุ่นในการนำมาติดตั้งและใช้งาน แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาพแวดล้อมภายในระบบของคุณด้วย ว่าควรเลือกรูปแบบการใช้งานแบบใดถึงจะเหมาะสมที่สุด

ข้อจำกัดของ Kong API Gateway

  • ผู้ใช้ควรมีความเชี่ยวชาญสูง เนื่องจากมีความซับซ้อนในการตั้งค่าและใช้งาน

หากใครที่ยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกใช้บริการ API Gateway ตัวไหนดี เราขอแนะนำ Kong API  Gateway ผ่านบริการของ Cloud HM เพราะเราเป็น Consulting Partner อย่างเป็นทางการกับ Kong API Gateway โดยเราจะช่วยให้คุณใช้รับประโยชน์จากการใช้งานอย่างสูงสุด พร้อมทีมงาน Engineer ที่มีความเชี่ยวชาญที่จะช่วยออกแบบ Architecture, Implement พร้อมให้บริการด้าน Managed Service และพร้อมออกแบบโซลูชันเพื่อตอบโจทย์การจัดการ APIs ภายในองค์กรของคุณ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางนี้

แหล่งข้อมูล

ข้อมูลจาก https://www.peerspot.com/products/microsoft-azure-api-management-pros-and-cons 

ข้อมูลจาก https://www.peerspot.com/products/kong-enterprise-pros-and-cons 

— Cloud HM